Pages

การดำเนินคดีของบุคคลไร้ความสามารถ

มาตรา 56 ผู้ไร้ความสามารถหรือผู้ทำการแทนจะเสนอข้อหา ต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆได้ ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความ สามารถและตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การให้อนุญาต หรือยินยอมตามบทบัญญัติเช่นว่านั้น ให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาล เพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อ คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องให้ศาลมีอำนาจ ทำการสอบสวนในเรื่องความสามารถของผู้ขอหรือของคู่ความอีก ฝ่ายหนึ่ง และถ้าเป็นที่พอใจว่ามีความบกพร่องในเรื่องความสามารถ ศาลอาจมีคำสั่งกำหนดให้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายใน กำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลจะสั่งถ้าศาลเห็นว่าเพื่อความยุติธรรมไม่ควรให้กระบวนพิจารณาดำเนิน เนิ่นช้าไป ศาลจะสั่งให้คู่ความฝ่ายที่บกพร่องในเรื่องความสามารถ นั้นดำเนินคดีไปก่อนชั่วคราวก็ได้ แต่ห้ามมิให้ศาลพิพากษาใน ประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้วถ้าผู้ไร้ความสามารถไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนโดย ชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้อนุญาตหรือ ให้ความยินยอมตามที่ต้องการ หรือตั้งผู้แทนเฉพาะคดีนั้นให้แก่ผู้ ไร้ความสามารถ ถ้าไม่มีบุคคลอื่นใดให้ศาลมีอำนาจตั้งพนักงานอัยการ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองอื่นให้เป็นผู้แทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2551
อำนาจฟ้องในคดีนี้เป็นของโจทก์ซึ่งเกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่ จ้างหรือตัวแทนของจำเลย แต่เนื่องจากโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสกายพิการและสมองได้รับการกระทบกระเทือน จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้จนถึงวันฟ้อง ว. ภริยาโจทก์จึงฟ้องคดีนี้แทนในนามของโจทก์ซึ่งก็ปรากฏตามคำฟ้องว่า ก่อนฟ้องคดีนี้ ว. ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ และตั้ง ว. เป็นผู้พิทักษ์ แต่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางยังไม่ได้มีคำสั่ง และต่อมาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วศาลเยาวชนและครอบครัวกลางได้มีคำสั่งว่า อาการของโจทก์ไม่ใช่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่เข้าลักษณะบุคคลวิกลจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 28 จึงมีคำสั่งว่า โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของ ว. ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นคนวิกลจริตมาตั้งแต่ ว. ยื่นคำร้องขอดังกล่าว ดังนั้น ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตซึ่งถือว่าเป็นผู้ไร้ความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 โจทก์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดย ต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทน แต่ตอนยื่นฟ้องยังไม่มีคำสั่งศาลตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงไม่มีสิทธิทำการแทนเท่ากับโจทก์เสนอข้อหาเอง อันเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถเท่านั้น มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำสั่งตั้ง ว. เป็นผู้อนุบาลโจทก์ ว. จึงมีอำนาจที่จะทำการแทนโจทก์ในการเสนอข้อหาของโจทก์ได้ การบกพร่องในเรื่องความสามารถนี้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามมาตรา 56 เมื่อได้แก้ไขโดยร้องขอต่อศาลและศาลมีคำสั่งตั้งให้ ว. เป็นผู้อนุบาลมีอำนาจทำการแทนโจทก์แล้ว เหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถก็หมดไป ทำให้การฟ้องคดีแทนโจทก์ที่บกพร่องมาแต่ต้นเป็นอันสมบูรณ์ด้วยการแก้ไขนี้ แล้ว

จำเลยทำละเมิดแก่โจทก์ทำให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสกายพิการ สมองได้รับความกระทบกระเทือนจนศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เสียความสามารถประกอบการงานอย่างสิ้นเชิงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต้องลาออก จากราชการ แม้โจทก์นำสืบความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด ส่วนที่จำเลยอ้างว่าหากไม่เกิดเหตุละเมิดก็ไม่แน่ว่าโจทก์จะรับราชการจน เกษียณหรือไม่ และอาจได้รับเงินบำเหน็จบำนาญนั้น ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับโดยชอบอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย

ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเป็นค่าเครื่องรับโทรทัศน์และตู้เย็นในห้องพักผู้ป่วย เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอันจำเป็นแก่ผู้ป่วยและคนเฝ้าไข้ ทั้งโรงพยาบาลได้จัดเตรียมไว้ให้ใช้ในห้องอยู่แล้ว ถือเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์ต้องเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2550
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยมี ท. บิดาโจทก์เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วในขณะฟ้อง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เยาว์ที่ต้องตกอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมสามารถทำการใด ๆ ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 21 แต่ขณะฟ้องโจทก์เป็นคนพิการทุพพลภาพพูดและเดินไม่ได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย ท. บิดาโจทก์ ชอบที่จะไปดำเนินการร้องขอต่อศาลขอให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือน ไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีก่อน ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งศาลให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความ สามารถก็ต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลที่มีความสามารถทำการใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมาย ซึ่งรวมทั้งการฟ้องและดำเนินคดีต่อศาล การที่ ท. บิดาโจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ โดยยังไม่มีคำสั่งศาลให้ ท. เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของโจทก์ จึงเป็นความบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 กรณีจึงต้องทำการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2547

จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถใน คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่ศาลมีคำพิพากษา จึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชอบแล้ว ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถได้อีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2542

ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของ บ. และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้วแม้ภายหลังพันตำรวจโท ศ. จะได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีผู้คัดค้าน ขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์เป็น คนเสมือนไร้ความสามารถและศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของพันตำรวจโท ศ. ก็ตามก็เป็นคนละคดีกัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถอยู่ในความพิทักษ์ของพันตำรวจโท ศ.จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงยกเลิกเพิกถอนหรือลบล้างคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาล ของ บ. ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ส่วนคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่ง ที่สั่งให้โจทก์เป็นคนไร้ความสามารถซึ่ง บ. ยื่นคำคัดค้านและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้โจทก์เป็น คนไร้ความสามารถ แต่ บ. ยื่นอุทธรณ์และคดีดังกล่าวภายหลังศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืน ตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้โจทก์เป็น คนไร้ความสามารถเป็นให้ยกคำร้องขอของโจทก์ ซึ่งหมายความว่า โจทก์ยังคงเป็นคนไร้ความสามารถอยู่ตามเดิมส่วนในคดีที่ พันตำรวจโท ศ. บุตรบุญธรรมของโจทก์ยื่นฟ้อง บ.ขอให้เพิกถอน บ. จากการเป็นผู้อนุบาลโจทก์ เป็นให้ยกฟ้องซึ่งหมายความว่า บ. ยังคงเป็นผู้อนุบาลของโจทก์อยู่ตามเดิมดังนั้น การที่โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้พันตำรวจโท พ. ฟ้องคดีนี้ในขณะที่โจทก์ยังเป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ ในความอนุบาลของ บ.และการที่โจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างว่าโจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีพันตำรวจโท ศ. เป็นผู้พิทักษ์นั้น เป็นการกระทำโดยโจทก์ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ ต้องให้ บ.ผู้อนุบาลเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องกรณีหาใช่เป็นเรื่องของการบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์และจำต้องแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538

สิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้มาเมื่อปี2525เป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา99เดิมเมื่อเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1474แต่โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ซึ่งมาตรา7บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วฯและไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาก่อนสมรสให้โจทก์เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ดังนั้นสามีโจทก์จึงยังคงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477มาตรา1468การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนหากสามีโจทก์ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลโจทก์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1475 โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ศาลล่างทั้งสองชอบที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถเสียให้บริบูรณ์ตามมาตรา56วรรคสองก่อนแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ปฏิบัติกลับดำเนินคดีต่อไปจนเสร็จจึงเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถให้บริบูรณ์เสียก่อนแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3481/2538

โจทก์จดทะเบียนสมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับสามีโจทก์จึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา7การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทตาม สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็น สินสมรส เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่สินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1469ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ก่อนการที่โจทก์ ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามีโจทก์ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่อง ความสามารถ ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56กรณีจึงต้องทำการแก้ไขบกพร่องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537

ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2534

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 คู่ความ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ ของตนให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อน มีคำพิพากษา ทั้งตามมาตรา 66 ก็ได้ให้อำนาจศาลทำการสอบสวนและ มีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลย ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2528 ว่าใบแต่งทนายความ ของจำเลยฉบับลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2527 มี ส. มีกรรมการ ของจำเลย ซึ่งมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ธ.แต่งตั้งให้อ. เป็นทนายความโดย ส. เข้าใจผิดว่าตนมีอำนาจ จำเลยจึงยื่นใบแต่งทนายความใหม่ให้ถูกต้องนั้น คำร้องของจำเลยดังกล่าวเป็นการขอแก้ไขข้อบกพร่องเรื่อง ความสามารถ ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตตามคำร้อง ดังกล่าวก่อนมีคำพิพากษาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบและมีผลย้อนหลัง ไปถึงวันที่สั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เมื่อโจทก์ได้หยิบยกขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5900/2533

พ. ลงชื่อเป็นโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ในคำฟ้อง โดยไม่ได้รับมอบอำนาจจาก ม. ซึ่งเป็นโจทก์ให้ดำเนินคดีแทน และมิได้ตั้งพ. ให้เป็นทนายความแต่อย่างใด ม. เป็นผู้ตั้งตนเองเป็นทนายความและว่าความในการสืบพยานจำเลย ส่วน พ. ว่าความในการสืบพยานโจทก์ 2 ปากเท่านั้น ต่อมา พ. ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ในฐานะผู้อุทธรณ์และผู้เรียงพิมพ์อีก โดยมิได้รับมอบอำนาจหรือตั้งแต่งให้เป็นทนายความอีกเช่นเดียวกัน จึงเป็นการฟ้องคดีแทนม. โดยปราศจากอำนาจฟ้อง ฟ้องดังกล่าวเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67(5)กรณีมิใช่เป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวด้วยการเขียนคำคู่ความอันจะสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ดังนั้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ตั้งแต่ง พ.เป็นทนายความให้ถูกต้องและให้พ. ลงชื่อในฟ้องจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2533

การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้รับความยินยอมจากคู่สมรสเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2532

โจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ถูกกระทำละเมิดได้ยื่นฟ้องคดีโดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทน แม้ขณะยื่นฟ้องบิดามิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในชั้นยื่นฟ้อง ซึ่งอาจแก้ไขให้ถูกต้องบริบูรณ์ได้เมื่อบิดามารดาโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกันในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นแล้วเหตุบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมหมดไป การฟ้องคดีของโจทก์จึงสมบูรณ์. (อ้างฎีกาที่ 1608/2509 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2530

เงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้เป็นเงินสินสมรสซึ่งโจทก์และภริยาย่อมเป็นผู้จัดการเงินดังกล่าวร่วมกัน อำนาจจัดการสินสมรสรวมถึงอำนาจฟ้องและต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสนั้นด้วย การที่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนเงินกู้ดังกล่าวจากจำเลยจึงเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส โจทก์ต้องฟ้องร่วมกับภริยาหรือได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2530

การที่หญิงมีสามีรับมอบอำนาจมาฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น มิได้เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสและไม่ก่อให้เกิดภารติดพันซึ่งสินสมรสระหว่างผู้รับมอบอำนาจกับสามีแล้วแต่อย่างใด ย่อมไม่เป็นการจัดการสินสมรส ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2527

แม้การฟ้องคดีเรื่องขับไล่ออกจากที่ดินจะถือเป็นเรื่องจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477และโจทก์เป็นหญิงมีสามี ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสามี ก็ไม่มีผลถึงกับจะต้องยกฟ้อง เพราะเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 การที่โจทก์ยื่นหนังสือยินยอมอนุญาตให้ฟ้องคดีของสามี และศาลชั้นต้นสั่งรับไว้ เป็นเรื่องศาลให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ และไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องระบุอ้างหนังสือดังกล่าวไว้ในบัญชีพยานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 อีก ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวและวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2524

การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ใช่แก้ไขคำฟ้องจึงไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แต่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 56 คือศาล อาจสั่งให้แก้ไขเสียให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษา สามีโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ความยินยอม และให้สัตยาบันการที่โจทก์ ได้ดำเนินคดีมาแต่ต้น โดยยื่นก่อนเริ่มลงมือสืบพยาน ถือว่า เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2523

หญิงมีสามีฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสต้องฟ้องร่วมกับสามีหรือได้รับความยินยอมของสามี
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้แก้ไขเรื่องความสามารถ แต่พิพากษายกฟ้อง โดยว่าไม่มีหลักฐานความยินยอมของสามีเป็นหนังสือศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยส่งหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ต้องให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเสียก่อนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2096/2523

โจทก์เป็นหญิงมีสามีฟ้องคดีโดยไม่มีหนังสือให้ความยินยอมของสามี จำเลยโต้แย้งอำนาจฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแล้วและศาลมีคำสั่งอนุญาต ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2523

จำเลยที่ 2 อายุ 18 ปี ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 2 อายุครบ 20 ปี บรรลุนิติภาวะจำเลยที่ 2 จึงมีความสามารถบริบูรณ์ มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีไปได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2522

โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีมิได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีให้ฟ้องคดีมาพร้อมกับฟ้องในศาลชั้นต้น แต่ได้ส่งหนังสือยินยอมดังกล่าวมาพร้อมฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่จำเลยไม่รับรอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ที่ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519

โจทก์บรรยายฟ้องว่า เกิด พ.ศ.2495 ไม่ระบุวันเดือนเกิดต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา16 ว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม2495 นับถึงวันเกิดเหตุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูเพราะจำเลยทำละเมิดให้มารดาโจทก์ตายได้ แม้มีบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมารดาก็ยังต้องอุปการะบุตร ข้อที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นแต่บกพร่องเรื่องความสามารถที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ไม่ใช่ไม่มีอำนาจฟ้องแต่ในชั้นฎีกาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ต้องแก้ไข
การประชุมใหญ่เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกาจะสั่งให้มีหรือไม่ คู่ความจะร้องขึ้นมาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519

โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2518

ข้อที่ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการประมาทด้วยหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ต่อสู้ไว้ในคดีอาญา ก็ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีแพ่ง
ผู้เยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผู้เยาว์โดยฟ้องเรียกค่าเสียหาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็นการส่วนตัว เท่ากับผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีนั่นเอง เมื่อผู้เยาว์ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็นการบกพร่องในเรื่องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสองศาลมีอำนาจสอบสวนในเรื่องความสามารถของคู่แล้วและมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ หาใช่ว่าฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะเป็นการดำเนินคดีโดยผู้ไม่มีอำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถจึงชอบแล้ว
(ตามวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2517

การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติไว้ต่างหากจากบทบัญญัติเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องตามมาตรา 179ถึงมาตรา 181 โดยให้เป็นเรื่องที่คู่ความจะขอแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา และเมื่อได้ปรากฏความบกพร่องในเรื่องความสามารถขึ้นแล้ว ห้ามมิให้ศาลพิพากษาในประเด็นแห่งคดีจนกว่าข้อบกพร่องนั้นได้แก้ไขโดยบริบูรณ์แล้ว ดังนั้น การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ จึงไม่อยู่ในบังคับว่าจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานเหมือนการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องและคำให้การ
โจทก์เป็นหญิงมีสามี ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี เมื่อโจทก์แสดงหลักฐานว่าโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์โดยนำหนังสือยินยอมอนุญาตของสามีให้ดำเนินคดีมาแสดงต่อศาล แม้ภายหลังการชี้สองสถานแล้วก็ตาม โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีได้โดยชอบ