Pages

การดำเนินคดีไม่มีข้อยุ่งยาก

มาตรา ๑๙๖ ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ หรือตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา ๑๙๐ จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้
ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้ ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมแล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167/2551
ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำ ให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 ) แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวน พิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการ นั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบ พิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2547
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งกฎหมายให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่ชักช้า แต่ต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 เมื่อปรากฏว่าจำเลยมาศาลในวันที่กำหนดไว้ในหมายเรียกและยื่นคำให้การเป็น หนังสือพร้อมกับฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจดูคำให้การและฟ้องแย้งนั้น แล้วสั่งให้รับไว้หรือคืนไปหรือสั่งไม่รับตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสี่ เสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งและยังคงให้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดี มโนสาเร่ต่อไป ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามคำให้การของโจทก์ทั้งสองก่อนว่าโจทก์ทั้งสองจะยื่นคำ ให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาหรือไม่ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 193 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การอย่างเดียวโดยยังไม่มีคำสั่งฟ้องแย้ง ของจำเลยว่า รับหรือไม่รับหรือคืนแก่จำเลย และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมีคำสั่งรับ ฟ้องแย้งของจำเลยในภายหลัง และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่ง รับฟ้องแย้งของจำเลยให้โจทก์ทั้งสองทราบและสอบถามโจทก์ทั้งสองว่าจะให้การ แก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือกำหนดให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือไม่ หรือโจทก์ทั้งสองไม่ให้การแก้ฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และการที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังว่าจำเลยชำระ หนี้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสนำสืบแสดงพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการ พิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้นเสียได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินตามเช็คจำนวน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้เป็นคดีแพ่งสามัญแต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และสั่งให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้ว ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ มิได้บัญญัติให้ถือว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญได้ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547
ในคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ ให้อำนาจแก่ศาลที่จะจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ทราบนัดแล้วมิได้ขอเลื่อนคดีหรือ แจ้งเหตุขัดข้องโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ ทั้งการที่จำเลยขอเลื่อนคดีนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าหากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอ เลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน แม้คดีโจทก์จะเป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากและสั่งให้นำบท บัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้วก็ต้องบังคับตามบท บัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้บัญญัติให้ถือว่าโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัด พิจารณาในคดีแพ่งสามัญ โจทก์จึงไม่อาจขอพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7877/2546
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193 และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัด ข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยบรรยายแต่เหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้ การ และมีเฉพาะข้อความในช่วงท้ายเท่านั้นที่ระบุว่า หากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลงอย่างแน่ นอน เพราะหากตรวจสอบอย่างดีแล้วจะพบดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณไว้โดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าศาลได้พิจารณาคดีใหม่จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งมาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไป ฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545
จำเลย ที่ 7 มีภูมิลำเนาแน่นอน จึงไม่มีกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยที่ 7ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งวันนัดแก่จำเลยที่ 7 โดยการประกาศหน้าศาลเพียงประการเดียวและไม่ได้สั่งให้ส่งหมายไปยังภูมิลำเนา ของจำเลยที่ 7 ด้วย ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีอำนาจกระทำได้โดยมิ ต้องรอให้โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเสียก่อนเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และนำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 196 วรรคสอง ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจำเลยที่ 7 ได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัดตามมาตรา 196 วรรคสอง (3) ศาลชั้นต้นก็ไม่อาจสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดพิจารณาแล้วพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 7 ไปฝ่ายเดียวได้ กรณีดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ ชอบโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและเป็นข้อกฎหมายอัน เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณา ของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2543
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสองประกอบมาตรา 193 วรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่เดิมกรณีที่จะถือว่าจำเลยในคดีไม่มีข้อยุ่งยากขาดนัดยื่น คำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การโดยศาลไม่ ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ประการใดแต่คดีนี้ในวันนัดแก้ข้อ หาและนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว ทนายจำเลยได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วถือได้ว่าเป็นการเลื่อนทั้งคดี ซึ่งหมายถึงการให้การแก้ข้อหาและสืบพยานโจทก์ด้วย มิใช่กรณีที่จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมให้การ และศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้เลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนิน การพิจารณาต่อไปตามที่กฎหมายกำหนดแต่ประการใด ศาลชั้นต้นจึงควรกำหนดวันนัดให้จำเลยแก้ข้อหาใหม่การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำ สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแต่อย่างใดแม้การที่จำเลย ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งยกคำ ร้องก็ตาม ก็หามีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกลับเป็นคำ สั่งที่ชอบด้วยกฎหมายไม่