Pages

การร้องขอเฉลี่ยทรัพย์

 ส่วนที่ ๗


การขอเฉลี่ยและการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป


มาตรา ๓๒๖ เมื่อมีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อเอาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายหนึ่งแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นดำเนินการให้มีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นซ้ำอีก แต่ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ขอให้มีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินจากการยึดหรืออายัดนั้นได้ตามส่วนแห่งจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา


ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านี้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา


ถ้าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรหรือกฎหมายอื่นที่จะสั่งยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อบังคับชำระหนี้ที่ค้างชำระตามกฎหมายนั้น ๆ ได้เองได้ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องตามวรรคหนึ่งไว้ก่อนแล้ว ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้โดยไม่อยู่ภายในบังคับของบทบัญญัติวรรคสอง แต่ถ้าเจ้าพนักงานดังกล่าวมิได้ยึดหรืออายัดไว้ก่อน ให้มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น


ในกรณีที่ยึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น คำร้องเช่นว่านี้ให้ยื่นก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดหรือจำหน่ายได้ในครั้งนั้น ๆ


ในกรณีที่อายัดสิทธิเรียกร้อง ให้ยื่นคำร้องเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันชำระเงินหรือวันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งสิทธิเรียกร้องตามที่อายัดนั้นได้


ในกรณีที่ยึดเงิน ให้ยื่นคำร้องเช่นว่านี้ก่อนสิ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันยึดเมื่อได้ส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินตามคำบังคับตั้งแต่การขาย การจำหน่าย หรือการชำระเงินตามที่ได้อายัดในครั้งที่ขอเฉลี่ยนั้น แล้วแต่กรณี ไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด เมื่อศาลได้มีคำสั่งประการใดและส่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้ว ก็ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามคำสั่งเช่นว่านั้น


มาตรา ๓๒๗ ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวถอนการบังคับคดีให้ผู้ยื่นคำร้องขอซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา ๓๒๔ หรือเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๓๒๖ ทราบโดยไม่ชักช้า โดยบุคคลดังกล่าวอาจขอเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปจากเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง โดยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันส่งคำบอกกล่าวถึงบุคคลเช่นว่านั้น ถ้ามีผู้ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ขอดำเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าไม่มีผู้ยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้น


ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องหลายคน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกหมายเรียกให้ผู้ยื่นคำร้องทุกคนมาทำความตกลงกัน เลือกคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป แต่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ให้ผู้ยื่นคำร้องซึ่งมาตามหมายเรียกและมีจำนวนหนี้มากที่สุดเป็นผู้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป ถ้าผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวมีจำนวนหนี้มากที่สุดเท่ากันหลายคน ให้ผู้ยื่นคำร้องซึ่งมีหนี้รายเก่าที่สุดเป็นผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป ในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องรายใดไม่มาตามหมายเรียกให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องรายนั้นสละสิทธิที่จะเป็นผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป


ในกรณีที่มีการเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป ให้ถือว่าผู้ขอเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปเป็นเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้อง และให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีในคดีที่มีการถอนการบังคับคดีเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปจะขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีไว้เดิมแต่เพียงบางส่วน ซึ่งเพียงพอแก่การชำระหนี้ของบรรดาเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่งพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ให้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไป ในกรณีเช่นว่านี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้องหรือมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควรโดยคำนึงถึงส่วนได้เสียของบรรดาเจ้าหนี้ตามวรรคหนึ่งเจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปอาจร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีสำหรับเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีนั้น


(๑) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีเพราะตนได้สละสิทธิในการบังคับคดีตามมาตรา๒๙๒ (๖) ไม่มีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินในการบังคับคดี


(๒) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีตามมาตรา ๒๙๒ (๔) แต่ยังมีหนี้ตามคำพิพากษาอยู่อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้ตนได้รับชำระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยแล้วในฐานะเดียวกันกับผู้ยื่นคำร้องตามมาตรา ๓๒๙ (๑)(๓) ถ้าเป็นการถอนการบังคับคดีเพราะหมายบังคับคดีได้ถูกเพิกถอนหรือในกรณีอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) แต่ยังมีหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้ตนมีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินในการบังคับคดีครั้งนี้ ก่อนการจ่ายเงินตามมาตรา ๓๓๙ หรือก่อนส่งคำบอกกล่าวตามมาตรา ๓๔๐ (๓) แล้วแต่กรณ


มาตรา ๓๒๘ เจ้าหนี้ผู้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีให้โอนการบังคับคดีไปยังศาลที่พิพากษาคดีซึ่งตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้และเมื่อได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ถ้าศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีเห็นว่าการบังคับคดีในศาลที่จะรับโอนการบังคับคดีจะเป็นการสะดวกแก่ทุกฝ่ายและได้รับความยินยอมของศาลที่จะรับโอนแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โอนการบังคับคดีไปได้ คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้เป็นที่สุด


ในกรณีที่มีการโอนการบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าศาลที่รับโอนเป็นศาลตามมาตรา ๒๗๑ วรรคหนึ่ง


มาตรา ๓๒๙ ในกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๓๒๖ หรือศาลได้ยกคำร้องขอเฉลี่ยเพราะเหตุที่ยื่นไม่ทันกำหนดเวลาดังกล่าวเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นอาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้


(๑) ให้ตนมีสิทธิได้รับชำระจากเงินที่เหลือภายหลังที่ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นและเจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยตามมาตรา ๓๒๖ หรือมาตรา ๓๒๗ แล้วแต่กรณี


(๒) ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี และไม่มีเจ้าหนี้เข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ ให้ถือว่าตนเป็นเจ้าหนี้ผู้ดำเนินการบังคับคดีต่อไปจากเจ้าหนี้ผู้ขอยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องที่มีการถอนการบังคับคดีตั้งแต่วันที่มีการถอนการบังคับคดี


คำร้องตาม (๑) ให้ยื่นก่อนการจ่ายเงินตามมาตรา ๓๓๙ หรือก่อนส่งคำบอกกล่าวตามมาตรา ๓๔๐ (๓) แล้วแต่กรณีคำร้องตาม (๒) ให้ยื่นก่อนมีการถอนการบังคับคดี


ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องตาม (๒) ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๒๗ วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้ามีผู้ยื่นคำร้องตาม (๒) หลายคน ให้ถือว่าผู้ยื่นคำร้องรายอื่นนอกจากผู้ยื่นคำร้องซึ่งได้รับเลือกหรือกฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป และเจ้าหนี้ซึ่งมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามมาตรา ๓๒๗ เป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินในคดีนั้นด้วย


มาตรา ๓๓๐ คำสั่งของศาลตามมาตรา ๓๒๗ วรรคสามและวรรคสี่ และมาตรา๓๒๙ ให้เป็นที่สุด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2562

ในการขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 (เดิม) มีประเด็นคือผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องพิสูจน์ให้ได้ในขณะยื่นคำขอ เมื่อผู้ร้องเคยยื่นคำร้องเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเนื่องจากผู้ร้องไม่ขวนขวายหาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องในครั้งนี้อีกเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์เดิม โดยอ้างพยานหลักฐานการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือตรวจสอบบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้ร้องสามารถกระทำได้ในการยื่นคำขอครั้งแรก อีกทั้งทรัพย์สินที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกเจ้าหนี้อื่นยึดไว้ก็ล้วนเป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีมาตั้งแต่ก่อนผู้ร้องยื่นคำร้องครั้งแรก การตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ผู้ร้องสามารถกระทำได้แต่ต้นแต่ไม่ดำเนินการเอง การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งนี้อีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6278/2560

แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ คดีของศาลแพ่งซึ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์พิพาทตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่ตราบใด ที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าวย่อมมีผลอยู่ ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเป็นต้นไปทรัพย์พิพาทจึงมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งทรัพย์สินของแผ่นดินย่อมไม่อาจยึดเพื่อการบังคับคดีไม่ว่าด้วยเหตุใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15326/2558

ป.วิ.พ. มาตรา 290 มิได้บัญญัติไว้ว่าศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้เฉลี่ยทรัพย์ได้จะต้องมีการประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ก่อน จึงแปลความได้ว่าแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมิได้มีคำสั่งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดไว้ก็ตาม ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเฉลี่ยทรัพย์ได้ก่อนเสมอซึ่งมิได้ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว


ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย แต่จากสภาพทรัพย์จำนองเห็นได้ว่าหากขายทอดตลาดแล้วจะได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่ผู้ร้อง ประกอบกับจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับชำระหนี้ได้ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่ผู้ร้องใช้อ้างมาในคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องจะบังคับชำระหนี้ได้อันเป็นการสนับสนุนคำร้องเพื่อให้มีความชัดแจ้งถึงวัตถุประสงค์แห่งความจำเป็นที่จะต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เท่านั้น แม้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1381/2545 และ 666/2546 ผู้ร้องจะได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ขายทอดตลาดก็ตาม ผู้ร้องก็มีสิทธิเข้าเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดคดีนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12339/2558

เมื่อโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ อายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 299/2546 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการให้ กรณีฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถูกบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ทางนำสืบของโจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว เนื่องจากการยึดหมายความรวมถึงการอายัดด้วย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15349/2557

เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นอายัดเงินค่าเช่าที่จำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เงินค่าเช่าที่จำเลยได้นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่จำต้องทำการยึดหรืออายัดอีก แต่ไม่ให้นำไปชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจบังคับคดีเอาแก่เงินจำนวนดังกล่าวได้ทันที จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่ชอบ ที่ถูกศาลชั้นต้นจะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปตามหนังสือขออายัดซึ่งมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง อย่างช้าสุดนับแต่วันที่ 10 มกราคม 2546 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นได้รับหนังสืออายัด ทั้งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 บัญญัติว่า "คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้น สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" และตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "การบังคับคดีนั้น ให้ถือว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง" เมื่อถือว่ามีการอายัดเงินค่าเช่านับแต่วันที่ 10 มกราคม 2546 เจ้าหนี้อื่นมีสิทธิยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ได้ภายในวันที่ 24 มกราคม 2546 จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดวันที่ 18 สิงหาคม 2552 การบังคับคดีจึงสำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้คดีนี้ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2548 โจทก์จะมีการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อโจทก์จะได้บังคับเอากับเงินดังกล่าว และศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของโจทก์ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ต้องเสียไป


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10179/2557

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติว่า "ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษ..."


เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้โดยมีจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานให้แก่จำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมทราบว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เมื่อโจทก์ติดตามยึดทรัพย์และยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่ 8237 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่จำนองไว้แก่เจ้าหนี้อื่น จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปไถ่ถอนทรัพย์จำนองดังกล่าวและขายให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจงใจกำหนดราคาขายพอดีกับราคาไถ่ถอนจำนอง เพื่อไม่ให้มีเงินส่วนเกินจากราคาขายตกแก่จำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการร่วมกันเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้บางส่วน มีความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3646/2557

ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองและเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 4 ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.1148/2552 ของศาลชั้นต้น ผู้ร้องย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิในอันที่จะขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287, 289 และขอเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ได้ด้วย ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 73911 ตามคำร้องลงวันที่ 7 มกราคม 2553 แม้ผู้ร้องอ้างถึงมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ ผบ.1148/2552 ของศาลชั้นต้น แต่ตามคำร้องคงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนองเท่านั้น และไม่อาจที่จะให้ถือว่าเป็นการที่ผู้ร้องได้ขอเฉลี่ยทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้สามัญอีกฐานะหนึ่งมาพร้อมกันด้วยได้ เพราะการใช้สิทธิในการขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนองและการขอเฉลี่ยทรัพย์มีเงื่อนไขและองค์ประกอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน โดยเฉพาะเงื่อนไขของการขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ผู้ยื่นคำขอต้องไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็ไม่ปรากฏตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยที่ 4 ยิ่งกว่านั้น คำสั่งศาลชั้นต้นชัดเจนว่าเป็นการอนุญาตให้ผู้ร้องรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิจำนอง โดยมิได้มีถ้อยคำใดในอันที่จะให้แปลว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญอีกฐานะหนึ่งด้วยได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10029/2555

จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีด้วยการยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ แม้จำเลยที่ 1 จะนำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทไปมอบให้ ฉ. ภริยาโจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืม แต่ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 อยู่ และตราบใดที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ. ยังมิได้นำยึดที่ดินนั้นเพื่อบังคับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิเกี่ยวข้องอย่างใดที่จะบังคับเอากับที่ดินดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งการยึดที่ดินนั้นให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด


ขณะที่จำเลยที่ 2 นำยึดที่ดิน และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการยึดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทราบ พร้อมกับเรียกให้จำเลยที่ 1 ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จนกระทั่งศาลแขวงสงขลาได้มีคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดไปตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ยังมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ที่จะมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง เนื่องจากสิทธิของโจทก์ที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์เพิ่งจะเกิดมีขึ้นในภายหลังเมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 มิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในเวลานั้นว่าต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิบังคับคดีโดยฉ้อฉลเพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์


เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของโจทก์เองที่จะต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ จำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงใดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้โจทก์สามารถยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้ทันกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทจากการขายทอดตลาดจึงมีสิทธิรับโอนที่ดินแปลงนี้ตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยที่ 2 มีสิทธิรับโอนก็ย่อมไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 ขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงการกระทำไปตามสิทธิของจำเลยที่ 2 ตามกฎหมายเท่านั้น มิได้เป็นการฉ้อฉลหรือละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10957/2554

ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความแล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าผู้ร้องแถลงว่า จำเลยมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ส่วนโจทก์แถลงว่า จำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องสามารถยึดทรัพย์มาชำระหนี้ได้ ปรากฏตามคำแถลงบัญชีรายละเอียดที่โจทก์ได้ยื่นประกอบคำคัดค้านไว้ เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างดังกล่าวเป็นเอกสารที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของฝ่ายจำเลย ประกอบด้วยสำเนาโฉนดที่ดิน สำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดและภาพถ่ายอาคารจำนวนมาก ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความและนำรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมดในเอกสารมาประกอบการพิจารณาแล้ววินิจฉัยทำคำสั่งไปนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการไต่สวนแล้ว มิใช่แต่เฉพาะว่าการสืบพยานบุคคลเท่านั้นที่จะเป็นการไต่สวน และหากจะให้คู่ความนำพยานเข้าไต่สวนก็จะไม่ได้ข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากการสอบถามของศาลดังกล่าว และไม่อาจทำให้ประเด็นที่มีคำสั่งเปลี่ยนไป ศาลชั้นต้นจึงย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงที่ได้มารับฟังประกอบดุลพินิจทำคำสั่งได้ตามที่เห็นสมควรโดยไม่จำต้องสืบพยาน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2553

บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง เป็นการห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดหรืออายัดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์ไว้ก่อนแล้ว แต่ให้ใช้วิธีขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์นั้นแทน ที่โจทก์อ้างว่าเป็นการขออายัดเฉพาะเงินเดือนส่วนที่ยังไม่ถูกอายัดก็ได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดเงินเดือนของจำเลยทั้งสองไว้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งการดำรงชีพของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 วรรคหนึ่ง (3) และวรรคสอง กับอายัดเงินโบนัสและเงินตอบแทนกรณีออกจากงานไว้แล้ว หากจะอายัดเงินเดือนส่วนที่เหลือจากที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นอายัดไว้ จำเลยทั้งสองก็จะเดือดร้อนไม่มีเงินเหลือเพื่อดำรงชีพ ทั้งโจทก์ก็ไม่แสดงให้ปรากฏว่าเงินที่เหลือจากการถูกอายัดคดีอื่นมีเพียงใด จึงไม่มีสิทธิขอให้อายัดเงินเดือนของจำเลยทั้งสองเพิ่มเติม


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2553

ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัดต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แต่ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีโดยมีผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะซึ่งไม่อยู่ในอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7090/2552

การยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ไม่จำต้องขอเฉลี่ยต่อทรัพย์ที่เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนั้นโดยตรง สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกจนต่อมาบุคคลภายนอกถูกบังคับคดี ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ดำเนินการต่อบุคคลภายนอกเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดิน 3 แปลงของบุคคลภายนอกย่อมถือว่าบุคคลภายนอกมีสถานะเช่นเดียวกับจำเลย ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์ของบุคคลภายนอกที่ถูกโจทก์นำยึดได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6300/2552

ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง เป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ ผู้ร้องมีพยานบุคคลเพียงปากเดียวเบิกความว่าได้มีการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยเพียงมีหนังสือสอบถามเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเงินฝากในธนาคารของจำเลยเท่านั้น ผู้ร้องไม่มีพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดๆ แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า ผู้ร้องได้กระทำการอย่างอื่นอันจะถือได้ว่าเป็นการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้อีก การดำเนินการของผู้ร้องเพียงเท่านี้ เห็นว่า ไม่พอเพียงที่ศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2552

เมื่อโจทก์ทราบการตายของ อ. ตั้งแต่วันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1215/2545 ของศาลจังหวัดพัทลุง แม้ทางพิจารณาจะไม่ปรากฏว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อใด แต่ปรากฎจากหนังสือแจ้งผลคดีของอัยการจังหวัดพัทลุงว่า วันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ศาลจังหวัดพัทลุงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เฉลี่ยทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ จึงถือได้ว่าอย่างช้าในวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 โจทก์รู้ถึงความตายของ อ.แล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2549 ซึ่งพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงความตายของ อ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกรองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 694


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2552

แม้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดไว้ในคดีนี้มีชื่อ ม. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง และโจทก์ในคดีนี้ได้ยึดไว้ทั้งแปลงอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ ม. ได้มาในระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสระหว่าง ม. กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10693/2551

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากบริษัท ส. และบริษัท ส. ได้ส่งเงินตามคำสั่งอายัดต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2548 ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลสั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลให้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เมื่อโจทก์ขอให้ออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2549 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานศาลหรือเป็นเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีดังที่ผู้ร้องอ้างในอุทธรณ์ ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวเสียก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีหนังสือส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดังที่ผู้ร้องเข้าใจไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 ซึ่งล่วงพ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ถือว่าบริษัท ส. ส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2551

ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง


เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ แล้ว แม้จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 มิใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2551

ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้อง โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง


เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์วันที่ 4 สิงหาคม 2548 ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ แล้ว แม้จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าวันขายทอดตลาดคือวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 มิใช่วันที่คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดถึงที่สุด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2551

การขอเฉลี่ยทรัพย์ผู้ร้องไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาที่ตนได้ยึดไว้หากนำออกขายทอดตลาดจะได้ราคาแน่นอนเท่าใด เหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระเป็นจำนวนที่แน่นอนอีกเพียงใด เพียงแต่ผู้ร้องนำสืบว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่พอชำระหนี้ของ ผู้ร้องโดยสิ้นเชิงก็ย่อมเพียงพอที่ผู้ร้องจะมาขอเฉลี่ยทรัพย์ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2551

ผู้ร้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อจะให้ผู้ร้อง เข้ามาขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการสมคบกับจำเลยเพื่อจะมิให้มีการนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ ของจำเลยไปชำระหนี้ให้โจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลยกคำร้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550

การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอน ที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มี สิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง


ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดิน พิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่ มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อ บังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2550

ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของการบังคับคดีตามกฎหมายให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี การที่ผู้ร้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงขั้นตอนการบังคับคดี ไม่ทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ขยายออกไป


ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการยึดซ้ำจึงไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษา ผู้ร้องย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ เพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างหนึ่งเช่นกัน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2550

ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่าย ทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" จากบทบัญญัติดังกล่าวยังมีกำหนดเงื่อนเวลาไว้ด้วย ตามมาตรา 290 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่ง ทรัพย์สินตามที่อายัดไว้"


คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่ง เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำ พิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียก ร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2550

เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 และขายทอดตลาดได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2545 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2545 จึงเกินระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด แม้โจทก์นำยึดสิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 อีกคราวหนึ่งและไม่ได้มีการขายทอดตลาดก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องนี้ ผู้ร้องก็มีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ของจำเลยภายในบ้านได้ แต่ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำร้องและมิได้มีคำขอเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของดังกล่าว มาในท้ายคำร้องด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์สิ่งของภายในบ้านได้ เป็นการเกินคำขอ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7972/2549

การยึดทรัพย์สินของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องห้ามที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจะยึดทรัพย์สินนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นจึงต้องไปดำเนินการยึดทรัพย์ที่ถูก ยึดไว้ชั่วคราวนั้นจะมายื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายยึดทรัพย์นั้นชั่วคราว เพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่ได้ คำสั่งของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่อนุญาตให้ผู้ ร้องเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาคดีนี้ จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 290


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2549

หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นหนี้ที่เกิดจากจำเลยค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อผู้ร้อง ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกจากจำเลยเป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของผู้ใช้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินจากจำเลยในกรณีจำเลยผิดสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นหนี้ที่ผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่จำเลย ค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกกลับคืนมาแล้วนำออกจำหน่ายหากมีความเสียหาย เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวต่อไปในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเพราะเป็น เรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเลิกสัญญา หนี้ทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงเป็นหนี้คนละส่วนกัน ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สิน อื่นๆ ของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 290


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2549

คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีอย่างหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และตามบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้น มิใช่ยื่นต่อศาลที่บังคับคดีแทน ทั้งมาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่า การขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2549

คำร้องเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีอย่างหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และตามบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดอัน เกี่ยวด้วยการบังคับคดี คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้นศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 290 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลชั้นต้น ส่วนศาลจังหวัดปทุมธานีเป็นเพียงศาลที่บังคับคดีแทนการที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง ขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว


มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่าการขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำ ร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดมิได้ห้ามมิให้ยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอด ตลาด ทั้งสิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เกิดมีขึ้นตั้งแต่ผู้ร้องเป็นเจ้า หนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ยังไม่มีสิทธิดังกล่าว ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดจึงไม่ขัด ต่อบทกฎหมายดังกล่าว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2549

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินทั้ง 31 แปลง ที่ผู้ร้องนำยึดมีราคาประเมินเพียง 1,274,375 บาท และผู้ร้องอายัดเงินฝากของจำเลยไว้อีก 561,353.06 บาท รวมแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,371,855 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องโดยสิ้นเชิง ถือได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2549

ในคดีแพ่งที่ผู้ร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมเงินอันเป็นหนี้ประธานก่อนและเสียค่าขึ้นศาลในอัตราร้อยละสองบาทห้าสิบสตางค์ โดยให้ถือหนังสือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินด้วย แต่ผู้ร้องก็มีคำขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยว่า หากจำเลยไม่ชำระเงิน ให้ผู้ร้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยโดยการขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้ร้องประสงค์จะบังคับคดีเอาจากที่ดินอันเป็นทรัพย์จำนองด้วย


เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีตามคำขอท้ายฟ้องของผู้ร้อง และผู้ร้องนำยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้อันเป็นการบังคับจำนองแล้ว ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ กรณีจึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 733 ซึ่งบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนนั้น เมื่อสัญญาจำนองระหว่างผู้ร้องกับจำเลยไม่มีข้อตกลงให้จำเลยต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวน จึงไม่มีหนี้อันจะเป็นมูลให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642 - 5644/2548

จำเลย ที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งหมด 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับ คดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยทำเป็นหนังสือแจ้งอายัดไป รวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินให้ตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ ทุกคดี จึงส่งเงินทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียว แต่มิได้ระบุว่าส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้มีการส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงาน บังคับคดีจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาสิบสี่วันจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไป ให้กรมบังคับคดี


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548

ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่าง รายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทที่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและ บุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดิน พิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตาม มาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมาย บังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548

การที่โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดย อาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้า หนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือ จำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่ง การจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้อง และบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จาก ที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึด ซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมี บทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่าย ที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์ในคดีนี้