Pages

การมอบอำนาจดำเนินคดีแทน

มาตรา 60 คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใน กรณีที่คู่ความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้แทนในกรณีที่คู่ความเป็น นิติบุคคลจะว่าด้วยตนเองและดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตาม ที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของตน หรือจะตั้งแต่งทนายความ คนเดียวหรือหลายคนให้ว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณา แทนตนก็ได้ถ้าคู่ความหรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนดั่งที่ ได้กล่าวมาแล้วทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ผู้รับมอบอำนาจเช่นว่านั้นจะว่าความอย่างทนายความไม่ได้ แต่ย่อม ตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10323/2551
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) จึงมีอำนาจยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้องรวมทั้งลงชื่อ เป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย เพราะมิใช่การว่าความอย่างทนายความตามมาตรา 60 วรรคสองและ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10081/2551
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมาย ให้สำเร็จลุล่วงไปประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำ การแทนบุคคลนั้นๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจ ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ใน คำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความ ในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น แม้ ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ ป.วิ.พ.มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9744/2551
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนแก่จำเลยทั้งสอง ส. ในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำกิจการที่ตัวการมอบหมาย ให้สำเร็จลุล่วงไป ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 1 ได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึง บุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมาย หรือในฐานะทนายความ ดังนั้น ส. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีแทนย่อมอยู่ในฐานะคู่ความมีอำนาจ ยื่นคำฟ้องต่อศาลได้และชอบที่จะเรียงหรือแต่งฟ้องรวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ใน คำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย และพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความว่าความ ในศาล หรือแต่งฟ้อง แต่ก็บัญญัติยกเว้นไว้ว่า การแต่งฟ้องนั้นไม่ห้ามไปถึงบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่น ส. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์แม้มิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนาย ความ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่กระทำได้โดยบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง และการเรียงหรือแต่งฟ้องแทนโจทก์ก็มิใช่การว่าความอย่างทนายความดังที่ป.วิ. พ. มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติห้ามไว้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071 - 2074/2550
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 เป็นการตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้สัญญาตัวแทนจะระงับไปเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ทนายผู้ร้องก็ยังมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของผู้ร้องต่อไปจนกว่าทายาทหรือผู้แทนของผู้ร้องจะอาจเข้ามาปกปักรักษาผล ประโยชน์ของผู้ร้องโดยการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

ผู้ร้องถึงแก่กรรมวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546 ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ปกครองทรัพย์มรดกของผู้ร้องจึงอาจร้องขอเข้า มาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ในการดำเนินคดีของผู้ ร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องถึงแก่กรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่ก็ไม่มีการร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องตามบทบัญญัติดังกล่าว จนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดี ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังในวันที่ 19 ธันวาคม 2548 จึงถือได้ว่าเป็นการล่วงพ้นระยะเวลาที่ตัวแทนหรือทนายผู้ร้องจะจัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 แล้ว ทนายผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550
จำเลย ที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. จะยื่นอุทธรณ์ แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลย ที่ 2 ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2550
การที่จำเลยที่ 2 แต่งตั้ง พ. ทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่ความตายไปจะเป็นผลให้สัญญาตัวแทนระงับไปก่อนที่ พ. ทนายจำเลยที่ 2 จะยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ พ. ก็ยังคงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลย ที่ 2 ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยที่ 2 จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ได้ อำนาจทนายความหาหมดสิ้นไปทันทีเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายไม่ พ. จึงมีอำนาจลงนามในฐานะทนายจำเลยที่ 2 ในอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 ได้ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 จนถึงบัดนี้เกินกำหนด 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงสมควรให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดี ได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมาย แก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภาย นอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่ แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2549
ใบมอบอำนาจของผู้ร้องมีข้อความว่าผู้ร้องขอมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนทรัพย์ที่ถูกริบต่อศาลแขวงนครสวรรค์ในความผิด พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ แทนผู้ร้องได้ แต่มิได้มีการระบุเลขคดีและชื่อคู่ความในคดีว่าเป็นผู้ใด ซึ่งในเรื่องนี้ ส. เบิกความตอบคำถามติงของทนายผู้ร้องรับว่าผู้ร้องมีคดีร้องขอคืนของกลางทั้ง ที่ศาลชั้นต้นและศาลแขวงนครสวรรค์ ผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางโดยกระทำพร้อมกันหลายคดี ข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมอบอำนาจให้ ส. ยื่นคำร้องคดีนี้โดยระบุชื่อศาลในใบมอบอำนาจผิดพลาด และการร้องขอคืนของกลางก็เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์จะต้องยื่นต่อศาลที่มี คำสั่งให้ริบทรัพย์นั้นในคดีหลัก ดังนั้น แม้ใบมอบอำนาจที่ระบุชื่อศาลผิดพลาดไปแต่ได้มายื่นที่ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจ ไต่สวนพิจารณาคำร้องของผู้ร้องตรงตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ร้องว่ามอบอำนาจ ให้ ส. ยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางคดีนี้แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่น อุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้

แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่น ต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2546
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ตัวแทนกระทำกิจการใดโดยเฉพาะเจาะจง ทั้งการฟ้องคดีก็มิได้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นลูกหนี้หรือบุคคลที่จะถูกฟ้องว่าเป็นบุคคลใด ย่อมมีผลเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว โจทก์จึงใช้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวฟ้องลูกหนี้ของโจทก์ได้ทุกคดีโดยไม่มีจำกัดจำนวนคดีและตัวบุคคล แม้โจทก์จะเคยใช้หนังสือมอบอำนาจฟ้องจำเลยมาแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2547
การที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อไม่มีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนให้ผู้ร้องมาใช้สิทธิทางศาลได้หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิที่จะว่าความอย่างทนายความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 แต่ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนั้นไม่อนุญาตให้ผู้ร้องว่าความอย่างทนายความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการต่อไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตเป็นอีกคดีหนึ่งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้บังคับว่าในการมอบอำนาจแก่กันนั้น วันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจะต้องเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่มีการมอบอำนาจกันจริง ทั้งผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานผู้รู้เห็นการมอบอำนาจก็ย่อมจะลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในภายหลังที่มีการมอบอำนาจกันแล้วได้ ไม่ถือเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2522
ใบมอบอำนาจมีข้อความว่า ข้าพเจ้านาย ม. ขอมอบอำนาจให้นาย อ. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนนาย ม. และมีอำนาจมอบหมายแต่งตั้ง ถอดถอนทนายความหรือตัวแทนช่วงเพื่อที่จะเรียกร้องทวงถาม ฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆ แก่บุคคลและหรือนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความเสียหายแก่นาย ม. มิใช่เป็นใบมอบอำนาจทั่วไป แต่เป็นใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนผู้มอบอำนาจได้
ใบมอบอำนาจที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีใด ๆแก่บุคคลผู้ได้กระทำความเสียหายแก่ผู้มอบอำนาจนั้นผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ โดยไม่จำต้องระบุตัวผู้ต้องถูกดำเนินคดีอาญาหรือฐานความผิดไว้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2535
วัดจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นตัวความ ดังนั้น ผู้ที่จะว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของวัดจำเลยที่ 1 หรือจะตั้งแต่งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนวัดจำเลยที่ 1 ได้ก็คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดจำเลยที่ 1 ส่วนไวยาวัจกรของวัดจำเลยที่ 1 นั้น ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8(พ.ศ. 2506) ข้อ 3 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505มาตรา 45 เป็นคฤหัสถ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากเจ้าอาวาสของวัดให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัด หาได้เป็นผู้แทนของวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จะมีอำนาจว่าความด้วยตนเองหรือดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนวัดได้เพราะได้รับยกเว้นตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534
หนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ท. ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข) โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท. และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท. เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271 - 1273/2508
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด