Pages

การขับไล่ รื้อถอน และการคุมขังลูกหนี้

มาตรา ๓๕๑ ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ขับไล่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

(๑) ถ้าทรัพย์นั้นไม่มีบุคคลใดอยู่แล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา ๓๕๒

(๒) ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารไม่ออกไปจากทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา ๓๕๓

มาตรา ๓๕๒  ในกรณีตามมาตรา ๓๕๑ (๑) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจส่งมอบทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองได้ทันที ถ้ามีสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคต่อการส่งมอบ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจทำลายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ตามความจำเป็น

ถ้ายังมีสิ่งของของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือของบุคคลใดอยู่ในทรัพย์นั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีสิ่งของนั้นไว้ และมีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ถ้าสิ่งของนั้นมีสภาพเป็นของสดของเสียได้ หรือมีสภาพอันจะก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนแห่งค่าของสิ่งของนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจำหน่ายสิ่งของนั้นได้ทันทีโดยวิธีขายทอดตลาดหรือวิธีอื่นที่เห็นสมควร และเก็บรักษาเงินสุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายไว้แทนสิ่งของนั้น หรือทำลายสิ่งของนั้น หรือดำเนินการอื่นใดตามที่เห็นสมควรก็ได้  ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงสภาพแห่งสิ่งของ ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และประโยชน์สาธารณะ

(๒) ถ้าสิ่งของนั้นมิใช่สิ่งของตามที่ระบุไว้ใน (๑) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจนำสิ่งของนั้นมาเก็บรักษาไว้ หรือมอบให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้รักษา หรือฝากไว้ ณ สถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร แล้วแจ้งหรือประกาศให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของมารับคืนไปภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของไม่มารับหรือไม่ยอมรับสิ่งของนั้นคืนไปภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตาม (๑) โดยอนุโลม

เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้มาจากการจำหน่ายสิ่งของตามวรรคสอง (๑) หรือ (๒) ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าของสิ่งของไม่มาขอรับคืนภายในกำหนดห้าปีนับแต่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
ในกรณีที่สิ่งของตามวรรคสองถูกยึด อายัด หรือห้ามโอน ยักย้าย หรือจำหน่ายตามวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหรือเพื่อการบังคับคดีในคดีอื่น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจย้ายสิ่งของดังกล่าวไปเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นได้ตามที่เห็นสมควร  ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีอื่นทราบด้วย

ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามมาตรานี้ และให้ถือว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป

มาตรา ๓๕๓  ในกรณีตามมาตรา ๓๕๑ (๒) ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) รายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวาร และให้ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังได้ทันที ในกรณีเช่นว่านี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

(๒) ปิดประกาศให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นซึ่งอ้างว่ามิได้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศแสดงว่าตนมีอำนาจพิเศษในการอยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้น

เมื่อมีการจับกุมลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารตาม (๑) แล้ว หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวหลบหนีไปจากทรัพย์นั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา ๓๕๒

มาตรา ๓๕๔ เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๑ ให้ถือว่าบุคคลดังต่อไปนี้เป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

(๑) บุคคลที่อยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้นและมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๓๕๓ (๒) หรือยื่นคำร้องต่อศาลแล้วแต่แสดงต่อศาลไม่ได้ว่าตนมีอำนาจพิเศษในการอยู่อาศัยหรือครอบครองทรัพย์นั้น

(๒) บุคคลที่เข้ามาอยู่ในทรัพย์นั้นในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์นั้น

ส่วนที่ ๒

การรื้อถอน

การบังคับคดีในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง

มาตรา ๓๕๕ ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติ หรือขนย้ายทรัพย์สิน ออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย หรือทรัพย์ที่ครอบครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการรื้อถอน และขนย้ายทรัพย์สินออกจากทรัพย์นั้นได้โดยให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น และให้ถือว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับคดีกันต่อไป

กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนหรือขนย้ายทรัพย์สินนั้น

ในการจัดการกับวัสดุที่ถูกรื้อถอนและทรัพย์สินที่ถูกขนย้ายออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครองนั้น ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๕๒ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


หมวด ๗

การบังคับคดีในกรณีที่ขอให้ศาลสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา





มาตรา ๓๖๑ ภายใต้บังคับบทบัญญัติหมวด ๔ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ขับไล่ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาจงใจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ และไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะใช้บังคับได้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจมีคำขอฝ่ายเดียว ให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้

เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาคำขอโดยเร็ว หากเป็นที่พอใจจากพยานหลักฐานซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำมาสืบหรือที่ศาลเรียกมาสืบว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาสามารถที่จะปฏิบัติตามคำบังคับได้ถ้าได้กระทำการโดยสุจริต และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีวิธีการบังคับอื่นใดที่จะใช้บังคับได้ให้ศาลออกหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษา

ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาลหรือถูกจับตัวมา แต่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่อาจแสดงเหตุอันสมควรในการที่ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับได้ ศาลมีอำนาจสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาทันทีหรือในวันหนึ่งวันใดที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษายังคงขัดขืนอยู่ก็ได้ หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาแสดงเหตุอันสมควรในการที่ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับได้ หรือตกลงที่จะปฏิบัติตามคำบังคับทุกประการ ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำขอ หรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา ๓๖๒ เมื่อศาลได้ออกหมายจับลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา ๓๖๑ แล้ว ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษามาศาลหรือถูกจับกุมตัวมา ให้ศาลมีอำนาจกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไว้ในระหว่างการพิจารณาคำขอจนกว่าจะมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร

ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามจำนวนเงินที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องผู้ทำสัญญาประกันเป็นคดีใหม่

มาตรา ๓๖๓ ในกรณีที่ศาลสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลใดตามมาตรา ๓๕๓ หรือมาตรา ๓๖๑ บุคคลนั้นจะต้องถูกกักขังไว้จนกว่าจะมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรกำหนดว่าตนยินยอมที่จะปฏิบัติตามคำบังคับทุกประการ  แต่ทั้งนี้ ห้ามไม่ให้กักขังแต่ละครั้งเกินกว่าหกเดือนนับแต่วันจับกุมหรือวันเริ่มกักขัง แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๖๒ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๖๔ ในกรณีที่ศาลยอมรับบุคคลเป็นประกัน และบุคคลนั้นจงใจขัดขวางการบังคับคดีหรือร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษาขัดขืนไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๖๑ มาตรา ๓๖๒ และมาตรา ๓๖๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๓๖๕ การจับกุมและควบคุมตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือหมายของศาล หรือตามที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานบังคับคดี

การจับกุม ควบคุมตัว หรือกักขังบุคคลหนึ่งบุคคลใดตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสอง มาตรา ๒๘๔ มาตรา ๓๕๓ มาตรา ๓๖๑ และมาตรา ๓๖๔ ไม่ตัดสิทธิที่จะดำเนินคดีในความผิดอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6411/2562
คดีก่อนโจทก์ถูกจำเลยฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องแย้งขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท แต่ไม่ได้พิพากษาให้ขับไล่จำเลยหรือให้จำเลยรื้อถอนออกไป ดังนี้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาย่อมผูกพันจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ในคดีนี้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนออกไปจากที่ดินพิพาทโดยไม่ได้มีประเด็นให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2562
เมื่อทางพิพาทส่วนแรกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตั้งแต่ก่อนจำเลยทั้งสองรับโอนที่ดินมาจากเจ้าของเดิม ย่อมต้องยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตลอดไปจนกว่าจะมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 และ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) บุคคลใดย่อมไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในทางดังกล่าวได้ ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะทำหนังสืออุทิศทางพิพาทส่วนที่ 2 โดยมีเจตนาให้ใช้แทนทางพิพาทส่วนแรกตามคำแนะนำขององค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง ตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจมีผลให้ทางพิพาทส่วนแรกที่ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นกลับเป็นของจำเลยทั้งสองได้ เมื่อพิจารณาหนังสือแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองยินยอมให้ทางราชการเข้าไปดำเนินการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันของประชาชน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่คัดค้านการใด ๆ ข้อความดังกล่าวมีความหมายโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองยอมอุทิศทางพิพาทส่วนที่ 2 ให้เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ทางพิพาทส่วนที่ 2 จึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) ทันทีที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าว แม้จะเป็นการกระทำหลังวันฟ้องคดีนี้ และคดีที่จำเลยทั้งสองฟ้องต่อศาลปกครองขอเพิกถอนเกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนาเฉพาะทางพิพาทส่วนที่ 2 อยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม แต่ทางพิพาทส่วนที่ 2 ก็ยังไม่ได้ถูกถอนสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 และ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) ทางพิพาทส่วนที่ 2 จึงยังคงเป็นทางสาธารณะ ซึ่งเกิดจากการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่าทางพิพาทส่วนที่ 2 เป็นทางสาธารณะ จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนตามทางนำสืบของคู่ความ มิได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นหรือพิพากษาเกินคำขอในส่วนทางพิพาทส่วนที่ 2 นี้เช่นกัน การที่จำเลยทั้งสองสร้างกำแพงปิดทางพิพาทบางส่วนย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ในการใช้ทาง จำเลยทั้งสองย่อมต้องรื้อถอนออกไปและรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2562
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคท้าย เป็นมาตรการที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อบังคับให้ผู้กระทำความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่าหรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติต้องออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิด อันทำให้รัฐได้รับคืนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การที่ผู้ร้องจะมีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อแสดงอำนาจพิเศษได้นั้น ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในการเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ เมื่อได้ความตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างร้านค้าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพียงแต่ไม่เคยถูกจับกุมดำเนินคดีหรือเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษและให้รื้อถอนร้านออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยผู้ร้องไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากอธิบดี ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2562
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 กำหนดว่า สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนน สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์ในภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกมิได้ โดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับในขณะจัดสรรที่ดินตามโครงการที่ดินจัดสรรกรีนวัลเล่ โครงการ 1 ถึง 7 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณูปโภคซึ่งจำเลยและบริษัท ก. ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต แต่ผู้ร้องสอดเพิ่งจัดให้ที่ดินพิพาทใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และสวนหย่อมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรภายหลังจากที่ดินจัดสรรด้านหน้าโครงการถูกเวนคืนแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทจะยินยอมให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรใช้ประโยชน์หรือไม่ก็ตาม เมื่อที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณูปโภคที่อยู่ในแผนผังและโครงการที่ดินจัดสรร ที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรในโครงการที่ดินจัดสรรกรีนวัลเล่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ร้องสอดให้รื้อถอนกำแพงพร้อมสิ่งปลูกสร้างอาคารจอดรถในที่ดินพิพาท ห้ามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และเรียกค่าเสียหายได้ ส่วนจำเลยไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างรั้วกำแพงและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

ผู้ร้องสอดต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใดหรือไม่ ในข้อนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์มีโครงการก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและสถานที่ให้เช่า อันมีลักษณะเป็นการจัดสรรที่ดิน แต่พื้นที่ด้านหน้าถูกผู้ร้องสอดรุกล้ำทำให้ไม่เพียงพอที่จะยื่นเสนอโครงการต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้นั้น โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโจทก์เสียหายเพียงใด หากโจทก์จะนำที่ดินพิพาทออกให้เช่าก็ไม่แน่ว่าจะให้เช่าได้หรือไม่ เพียงใด โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ผู้ร้องสอดจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2562
คดีที่ อ. ฟ้องนายกเทศมนตรีนครนนทบุรีกับพวกต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตรื้อถอนใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร เลขที่ 424/2555 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2555 เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครอง ไม่ใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนกฎหมาย ย่อมไม่มีผลเป็นการทั่วไปและไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีปกครองดังกล่าว

วันที่ 1 กันยายน 2535 บริษัท ป. โอนกรรมสิทธิ์รั้วกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กรอบหมู่บ้าน พ. ให้โจทก์ทั้งสองเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการสาธารณสุข การคมนาคม การจราจร และความปลอดภัยของผู้ซื้อบ้านในโครงการ ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคม 2535 บริษัท ป. แบ่งหักที่ดินโฉนดเลขที่ 3331 ออกเป็นทางสาธารณประโยชน์ แสดงว่าการโอนกรรมสิทธิ์รั้วกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดขึ้นก่อนการแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ ดังนั้น ขณะบริษัท ป. แบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ บริษัทดังกล่าวไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รั้วกำแพงรอบหมู่บ้าน ซึ่งมีรั้วกำแพงพิพาทเป็นส่วนหนึ่งด้วยรั้วกำแพงรอบหมู่บ้านมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์แก่การคมนาคมและการจราจรเท่านั้น แต่มีไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้ซื้อบ้านในโครงการด้วยอันเป็นสาธารณูปโภคตามข้อ 1 ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โดยผลของประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าวตามข้อ 30 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ทำให้รั้วกำแพงรอบหมู่บ้านรวมทั้งรั้วกำแพงพิพาทตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อบ้านในโครงการทั้งหมด ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินที่รั้วกำแพงตั้งอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 เมื่อบริษัท ป. ผู้โอนมีเจตนาแยกรั้วกำแพงพิพาทเป็นคนละส่วนกับที่ดินที่ตั้งรั้วกำแพงและรั้วกำแพงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ตกติดไปกับที่ดิน รั้วกำแพงพิพาทจึงไม่เป็นส่วนหนึ่งของทางสาธารณประโยชน์ แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเทศบาลนนทบุรีก้าวล่วงกรรมสิทธิ์ส่วนเอกชนอนุญาตให้ผู้ใดพรากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น แม้จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของและผู้พักอาศัยที่ดินแปลงที่ 29 และ 30 ในโครงการมีสิทธิใช้รั้วกำแพงรอบหมู่บ้านอันเป็นภารยทรัพย์ แต่จำเลยทั้งสามไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น ยิ่งกว่านั้นที่ดินโฉนดเลขที่ 229966 และ 229967 ซึ่งจำเลยทั้งสามซื้อมาภายหลังและอยู่นอกโครงการจึงไม่เป็นสามยทรัพย์ที่จำเลยทั้งสามจะยกขึ้นอ้างสิทธิใด ๆ เหนือกำแพงรั้วพิพาทได้ การกระทำของจำเลยทั้งสามที่ทุบทำลายรั้วกำแพงพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง

โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รั้วกำแพงพิพาท แม้เป็นภารยทรัพย์ แต่เมื่อถูกทำลายไปโดยผู้ไม่มีสิทธิ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธินำแท่งปูนวางแทนรั้วกำแพงพิพาทเพื่อยังประโยชน์การใช้รั้วกำแพงพิพาทให้คงอยู่ดังเดิม การกระทำของโจทก์ทั้งสองส่วนนี้จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสาม อย่างไรก็ดี พื้นที่ส่วนที่เป็นทางสาธารณประโยชน์ ผู้ซื้อบ้านในโครงการรวมทั้งจำเลยทั้งสามมีสิทธิใช้สัญจร โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธินำรถบรรทุกและแท่งปูนมาปิดกั้น การกระทำของโจทก์ทั้งสองเฉพาะส่วนนี้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย

จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดทุบทำลายกำแพงรั้วพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องคืนทรัพย์สินอันโจทก์ทั้งสองต้องเสียไปเพราะละเมิดนั้น หรือชดใช้ราคาทรัพย์สิน โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามก่อสร้างรั้วกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนที่ถูกทุบทำลายไปให้กลับคืนสู่สภาพเดิม หากจำเลยทั้งสามไม่ดำเนินการก็จะต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าก่อสร้างรั้วกำแพงดังกล่าว

แม้โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธินำรถบรรทุกและแท่งปูนมาปิดกั้นถนนอันเป็นทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งจำเลยทั้งสามอ้างว่าทำให้ไม่สามารถนำรถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์เข้าไปยังที่ดินของจำเลยทั้งสามส่วนที่อยู่นอกโครงการได้ อย่างไรก็ดี จำเลยทั้งสามไม่มีสิทธิทุบทำลายกำแพงรั้วพิพาท หากรั้วกำแพงพิพาทไม่ถูกทุบทำลาย จำเลยทั้งสามก็ไม่สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ผ่านรั้วกำแพงพิพาทนั่นเอง การกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ อันจะอ้างต่อโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยทั้งสามไม่สามารถนำรถบรรทุกวัสดุอุปกรณ์เข้าไปยังที่ดินของจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ทั้งสอง

คำฟ้องโจทก์ทั้งสองมีคำขอด้วยว่า ห้ามจำเลยทั้งสามและบริวารเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินโฉนดเลขที่ 3368 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่พิพากษาห้ามจำเลยทั้งสามใช้ที่ดินโฉนดเลขที่ 3368 เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 229966 และ 229967 ของจำเลยทั้งสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2562
คดีนี้พฤติการณ์ของผู้ร้องและโจทก์มีพิรุธน่าสงสัย เชื่อว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นในการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1440/2548 ของศาลจังหวัดจันทบุรี และบังคับคดียึดที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 611 ของจำเลยออกขายทอดตลาดโดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและบังคับขับไล่ผู้คัดค้านออกจากที่ดิน ทั้งที่โจทก์ทราบดีว่าผู้คัดค้านปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินพิพาทและมีรั้วกำแพงล้อมรอบมานาน 20 ปีเศษแล้ว ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 611 จากจำเลยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2545 ในราคา 800,000 บาท ได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว โดยจำเลยได้มอบต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องแล้วตั้งแต่ปี 2546 หากจำเลยไม่จดทะเบียนโอนสิทธิการครอบครองที่ดินให้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ผู้ร้องมิได้ใช้สิทธิฟ้อง กลับมาประมูลซื้อที่ดินของจำเลยจากการขายทอดตลาดซึ่งต้องใช้เงินเพิ่มอีก 3,100,000 บาท อันมิใช่วิสัยของบุคคลทั่วไป ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ออกคำบังคับผู้คัดค้านและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2562
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างอาคารและดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ และโจทก์ได้รับมอบสถานที่เช่าตามสัญญาแล้ว โดยข้อ 7 วรรคสอง กำหนดเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องสำรวจศึกษาพื้นที่โครงการ ผู้บุกรุก ผู้ประกอบการเดิมที่อยู่ในพื้นที่เช่า หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงาน เช่น การขับไล่ผู้บุกรุกหรือผู้ประกอบการเดิม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ผู้เช่าต้องรับภาระในการดำเนินการและแก้ไข โดยเสียค่าใช้จ่ายด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเอง อันมีความหมายว่าหากต้องมีการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกหรือผู้อยู่อาศัยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากสถานที่เช่า ผู้ให้เช่าให้อำนาจแก่ผู้เช่าหรือมอบหมายให้ผู้เช่าฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกหรือผู้อยู่อาศัยแทนผู้ให้เช่าได้ โดยผู้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้การก่อสร้างอาคารและการดำเนินการจัดหาประโยชน์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มอบหมายให้โจทก์ผู้เช่ามีอำนาจฟ้องผู้บุกรุกที่ดินที่เช่า ฉะนั้น แม้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้รับมอบสถานที่เช่าจากผู้ให้เช่าแล้วไม่สามารถก่อสร้างอาคารได้เพราะจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินโดยไม่มีสิทธิ และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแล้ว จำเลยเพิกเฉย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2561
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรร แม้จะไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มีหน้าที่ดูแลที่ดินที่เป็นประเภทสาธารณูปโภค ซึ่งที่ดินประเภทสาธารณูปโภคจะตกเป็นภาระจำยอมให้กับผู้ซื้อที่ดินในโครงการ มีสิทธิใช้ที่ดินในส่วนดังกล่าว โดยไม่ต้องจดทะเบียนภาระจำยอม ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่กันไว้สำหรับสาธารณูปโภคประเภทถนนในโครงการ มีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดินและเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาท คดีนี้ตอนต้นโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อมาโจทก์ได้ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนฟ้องคดี ศาลชั้นต้นอนุญาต จึงเหลือเฉพาะจำเลยที่ 2 ที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543

แต่อย่างไรก็ดี พฤติการณ์แห่งคดีที่จำเลยที่ 2 เปิดร้านค้าสุราเปิดเพลงส่งเสียงดังรบกวนและสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่โจทก์และลูกค้าของโจทก์ และเปิดกิจการเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งมีการทิ้งสิ่งปฏิกูลส่งกลิ่นเหม็นข้างอาคารโจทก์ และจอดรถขวางทางทำให้โจทก์เข้าออกลำบาก ทำให้โจทก์และผู้ที่เช่าอาคารโจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนรำคาญจนเกินสมควร โจทก์จึงมีสิทธิที่จะปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ให้ออกไปจากพื้นที่ส่วนที่กันไว้เป็นสาธารณูปโภคประเภทสาธารณประโยชน์ (ถนนในโครงการ)

แม้โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนร้านค้าออกไปจากที่ดินพิพาท จะเป็นคำขอท้ายฟ้องที่ไม่ถูกต้อง แต่ในการพิพากษาคดีไม่ได้มีกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องพิพากษาตามคำขอทุกประการ หากพอทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์มีความประสงค์อย่างใด จำเลยที่ 2 ก็สามารถเข้าใจดีว่าโจทก์ต้องการบังคับคดีแบบใด จำเลยที่ 2 ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ เหตุที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นเพราะเดิมมีการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ได้รับอนุญาตให้จัดสรรที่ดิน ผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทมาพร้อมกับจำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 จึงได้มีคำขอท้ายฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ติดมาด้วย ถือว่าเป็นคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ประกอบกับเมื่อศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท แต่ก็ไม่ได้พิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำการรื้อถอนร้านค้า คำขอท้ายฟ้องของโจทก์และคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2560
การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม...ฯลฯ" ตามบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ที่ดินตาม ส.ป.ก. 4 - 01 นั้น จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม การที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตาม ส.ป.ก. 4 - 01 ให้แก่จำเลย ถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่จำเลยอ้างไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินจึงไม่มีผลบังคับ ส่วนที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทโจทก์ จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ถูกแย่งการครอบครองนั้น ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเกษตรกรรม ฯลฯ ดังนี้ จะเห็นได้ว่า บุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน และตามมาตรา 37 ก็ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 โดยอาศัยบทบัญญัติดังกล่าว เห็นว่า ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น บุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ได้ เพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมใหม่ ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาและอนุมัติให้จำเลยได้รับสิทธิในที่ดินพิพาทแต่ประการใด จึงไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปขึ้นมาได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์แบ่งขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว ทั้งจำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามตนเอง การที่โจทก์กลับมาอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท แม้จำเลยไม่มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็เป็นกรณีที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2560
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างมารดาของผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้ยันผู้ร้องทั้งสองในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองได้ โจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตเพราะรู้อยู่ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิบังคับจำนองขายทอดตลาดและซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากการขายทอดตลาดได้ ดังนี้ ตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสองเป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ ทรัพย์สินหรือที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องทั้งสอง และการที่ผู้ร้องทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องทั้งสองนั้น ก็มีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์สินที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองนั่นเอง จึงเป็นกรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องขัดทรัพย์ ซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องทั้งสองต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ที่ยึดออกขายทอดตลาด กรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสองมิใช่เป็นการยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 309 ตรี ประกอบมาตรา 296 จัตวา ที่จะทำให้ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ได้แต่อย่างไร เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่ยึดไว้ไปก่อนแล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15711/2558
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมอบที่ดินพิพาทและอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน มิได้มีผลให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่เพียงสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 บัญญัติว่า "ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมหรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร ฯลฯ" นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เจ้าหน้าที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดนครราชสีมาแจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าหากจำหน่ายจ่ายโอนหรือให้เช่าที่ดินพิพาท โจทก์จะสิ้นสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททันที การที่โจทก์กลับมาอ้างว่าให้จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาท มิได้โอนขายสิทธิในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองและโจทก์ยังมีชื่อเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทไปจากโจทก์เอง ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท ส่วนการที่จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นกรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13566/2558
จำเลยที่ 1 เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเป็นบุคคลคนเดียวกับคริสตจักรในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นโบสถ์และที่ดินที่ตั้งโบสถ์ของคริสตจักรใจสมาน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาอุทิศที่ดินและอาคารให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเอาไปจำหน่ายจ่ายโอนไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจหรือมีพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เอาไปขายให้โจทก์ จึงเป็นโมฆะ แม้โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทโดยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ไม่มีผล โจทก์จึงไม่ใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาท ดังนั้น โจทก์จะเอาคำพิพากษาศาลฎีกามาบังคับขับไล่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองให้ออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทโดยถือว่าเป็นบริวารของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เนื่องจากที่ดินและอาคารพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองครอบครองใช้ประโยชน์อยู่โดยมีสิทธิ ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองจึงสามารถแสดงอำนาจพิเศษให้เห็นได้ว่า ผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองไม่ใช่บริวารของจำเลยที่ 1 คำพิพากษาศาลฎีกาจึงไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสี่ร้อยสามสิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11165/2558
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เป็นผู้รับสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โจทก์ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ท. เมื่อปี 2546 แล้ว ท. สละการครอบครองให้จำเลยทั้งสองเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา แม้ก่อนฟ้องโจทก์กับ ท. ได้ทำบันทึกข้อตกลงว่าโจทก์จะคืนเงินให้แก่ ท. 110,000 บาท และ ท. จะคืนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่ ท. แต่อย่างใด การที่โจทก์กลับมาอ้างเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4 - 01 ก.) และมาฟ้องขอให้บังคับขับไล่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ท. จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินพิพาท
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2558)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2508/2554
คำร้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ศาลจะออกหมายจับ หรือสั่งกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามความในวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2559 
 เดิม ห. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องผู้คัดค้านเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห. โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำให้การและฟ้องแย้งให้ขับไล่ ห. ออกจากที่พิพาท ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.251/2554 ให้ ห. และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท ในชั้นบังคับคดี ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา โดยอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทประมาณ 30 ไร่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ โดยอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประมาณ 30 ไร่ โดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ พ.251/2554 คำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงเป็นการร้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247 เมื่อคำร้องขอของผู้ร้องเป็นร้องซ้อนต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่มีคำร้องขอและตัวผู้ร้องที่ผู้คัดค้านจะฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องเช่นกัน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13288/2556 
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ แต่ผู้ร้องเช่าช่วงบ้านพิพาทจากจำเลยโดยไม่มีสัญญาเช่าต่อโจทก์หรือจำเลย ผู้ร้องจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ การเช่าช่วงดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย การต่อเติมห้องครัวและห้องน้ำที่อ้างเป็นไปเพื่อความสะดวกในการใช้ทรัพย์สินของผู้ร้อง ไม่ใช่การปลูกสร้างใหม่ จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาอันไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) จึงไม่มีเหตุที่จะต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3049/2551
จำเลยขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทต่อโจทก์กรรมสิทธิ์จึงตกไปยังโจทก์ ไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ไถ่ที่ดินและบ้านพิพาทภาย ในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้ว โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครอง ที่ดินและบ้านพิพาท เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิ จะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนที่ดินพิพาทในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ร้องกับจำเลยร่วมกัน แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง โจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2552 
ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในกรณีที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูก ให้โจทก์ดำเนินการแทน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2551
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาทที่จำเลย เช่าจากโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหาย 22,000 บาท กับค่าเสียหายอีกเดือนละ 4,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากที่ดินดังกล่าว คู่ความในคดีดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยผู้ถูก ฟ้องขับไล่ในชั้นบังคับคดีอันเป็นสาขาของคดีเดิม จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง เช่นกัน

อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า จำเลยเป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ คำพิพากษาตามยอมจึงไม่มีผลบังคับแก่ผู้ร้องซึ่งมิใช่คู่ความในคดีนั้นเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่าและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมออกไปจากที่ดินพิพาท พร้อมกับบริวารและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม แม้ผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวแต่ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมมีผลบังคับแก่ผู้ร้องด้วย โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4122/2551
ในคดีก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ ส. จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือโจทก์ในคดีนี้ ให้รื้อถอนขนย้ายชั้นวางของที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนดังกล่าวมอบอำนาจให้จำเลยที่ 5 ดำเนินการบังคับคดี โดยจำเลยที่ 5 กับพวกเข้าไปในที่ดินด้านหลังอาคารแล้วรื้อถอนและขนย้ายสิ่งของอื่น ๆ อีกหลายรายการออกไปจากที่ดินพิพาทและนำแผ่นเหล็กปิดกั้นประตูด้านหลังของ ที่ดินโดยความรู้เห็นยินยอมของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 296 เบญจ วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและมี อำนาจขนย้ายสิ่งของออกจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนด้วย จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ โจทก์ และทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายแต่เป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7674/2550
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับโจทก์โดยผู้ร้องไม่ได้ให้ความยินยอม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารซึ่ง รวมถึงผู้ร้องออกไปจากที่ดินพิพาทได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8104/2549
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยพร้อมบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเลขที่ 32 และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี และนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของจำเลย ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาล ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหมายบังคับคดีและ ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดี อ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 67987 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบ้านเลขที่ 32 และผู้ร้องทั้งสองได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งเพื่อ ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว เมื่อผู้ร้องทั้งสองเป็นเพียงผู้ที่ได้ยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาล และแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิครอบครองในบ้านเลขที่ 32 และให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 67987 ซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 280 ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนหมายบังคับคดีและประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219 - 7229/2549
การยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษเพื่อมิให้ต้องถูกบังคับในคดีที่ลูกหนี้ตามคำ พิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) บัญญัติว่า "...ให้ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจ พิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา" บทกฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับเด็ดขาดว่า ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำร้องแสดงอำนาจ พิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ คงมีผลเพียงว่า ถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ระยะเวลา 8 วัน ดังกล่าวจึงเป็นกำหนดเวลาที่กฎหมายสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือ ไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ไม่ใช่กำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาอันจะเป็นการตัดสิทธิของ ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจ พิเศษต่อศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 จะยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศหรือไม่ก็ตาม ก็หามีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 ที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนและวินิจฉัยปัญหาตามคำร้องของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 7 ให้สิ้นกระแสความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2549
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นเป็น ข้อต่อสู้โจทก์เพื่อแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องต้องแสดงให้เห็นอำนาจพิเศษที่ดีกว่าโจทก์ ทั้งการครอบครองปรปักษ์เป็นการได้สิทธิมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิ ได้จดทะเบียนนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดย สุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เมื่อคำร้องของผู้ร้องกล่าวเพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ โดยมิได้กล่าวว่าโจทก์ไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทโดย สุจริตหรือไม่ ต้องฟังว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 6 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องได้โดยไม่ต้องไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลง เดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นข้อต่อสู้ คำฟ้องและคำให้การของผู้ร้อง จึงมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของ ผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำ วินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องให้การต่อสู้ในคดีก่อนโดยมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดิน พิพาทตกเป็นของผู้ร้องก็ตาม

ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวาร ของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่ บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดง อำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้อง ได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่า ใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลัง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้มีใจความว่าจำเลยยอมให้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่เช่าซึ่งเป็นของโจทก์ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ โจทก์ และจำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปและส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ภายในกำหนด ดังนี้ เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วยังมีผู้อยู่อาศัยในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในฐานะบริวารของจำเลยได้ตามสิทธิของโจทก์ในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีกข้อหนึ่งที่อาจ เข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคาร ในที่ดินของโจทก์นั้น ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ในอีกทางหนึ่งที่โจทก์อาจเลือกใช้ได้ แต่ไม่จำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอบังคับคดีในคดีนี้เมื่อมีผู้ร้องหลายราย ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดี เพราะศาลชั้นต้นในคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ก็คือ ศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน ทั้งมิใช่การขอบังคับคดีในคดีอีก 3 สำนวนดังกล่าว การที่จะให้ผู้ร้องทุกรายไปยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษในคดีอีก 3 สำนวน โดยที่ยังมิได้มีการออกหมายบังคับคดีในคดีเหล่านั้น ย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2546
ผู้ที่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา(3) ต้องเป็นบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาคดีนี้ผู้ร้องที่ 1 เป็นจำเลยและลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกบังคับคดีให้ขับไล่และต้องรื้อถอน สิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลแม้ จะอ้างว่ายื่นเข้ามาในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. สามีซึ่งถึงแก่กรรมที่ได้ร่วมกันครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อผู้ร้องที่ 1 เป็นจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่และมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่ ผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของจำเลย (คนเดียวกับผู้ร้องที่ 1) จึงเป็นบริวารของจำเลย กรณีไม่อาจอ้างฐานะอื่นเพื่อแสดงอำนาจพิเศษให้หลุดพ้นจากการถูกบังคับคดีตาม คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5374/2545
เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยรื้อรั้วตามรูปกากบาทเส้นสีแดงในแผนที่เอกสารท้ายฟ้อง เฉพาะบางส่วนที่เริ่มตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกจนถึงแนวยุ้ง ข้าวของโจทก์ตามระยะทางที่โจทก์สามารถนำรถยนต์เข้าไปขนข้าวในยุ้งข้าวของโจทก์ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยแถลงต่อศาลว่าไม่ได้รื้อรั้วตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกไปทางทิศ ตะวันตกจนถึงแนวยุ้งข้าวของโจทก์แต่อย่างใดแสดงว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำ พิพากษาของศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว จึงมีอำนาจโดยชอบโดยตรงที่จะดำเนินการแก่จำเลยเพื่อให้คำพิพากษาของศาลฎีกา มีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ส่วนวิธีดำเนินการกับจำเลยเกี่ยวกับการรื้อรั้วนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 เบญจ ได้บัญญัติไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นหาได้กระทำไม่ กลับออกคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ ชอบ เพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาอยู่แล้วโดยไม่จำต้อง ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2545
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินและกิจการสถานีบริการน้ำมันจากจำเลย ได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระ ราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ จำเลย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับ คดีย่อมมีอำนาจดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาได้ หาใช่เป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2545
ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นที่ดินที่มีการปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เท่านั้นไม่มีต้นไม้อื่น หรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่จำเลยและบริวารจะต้องอยู่ครอบครองตลอดเวลา เมื่อทำการปลูกต้นยูคาลิปตัสเสร็จแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาเฝ้าดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ผู้แทนโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปที่ที่ดิน พิพาทเพื่อบังคับคดี ตามรายงานที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่พบจำเลยหรือบุคคลใดอยู่ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีควรจะต้องสอบถามจำเลยหรือกระทำการอย่างใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแน่นอน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรับฟังคำแถลงของผู้แทนโจทก์ซึ่งแถลงตามข้อเท็จ จริงที่เกิดขึ้นชั่วขณะต่อหน้าแล้วด่วนชี้ขาดว่าทรัพย์ที่ต้องจัดการตามคำ พิพากษานั้นไม่มีผู้ใดอยู่อาศัยจึงมอบการครอบครองทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ใน ทันทีไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งจะให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล มีผลบังคับเด็ดขาดให้เสร็จสิ้นไป และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปยึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ ตามคำพิพากษาได้บันทึกว่า "จำเลยได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วยว่าตนยังไม่ได้ออกไปจากที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท" อันแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ตลอดเวลาจำเลยและบริวารมิได้ย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทนี้เลย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จึงเป็นการมีคำสั่งโดยผิดหลงในข้อเท็จจริง คดีจึงต้องฟังว่าจำเลยและบริวารยังมิได้ขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา ตราบใดที่จำเลยและบริวารยังอยู่บนที่ดินของโจทก์ ยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้โจทก์จะเคยร้องขอบังคับ คดีมาแล้วไม่เป็นผลก็ขอให้บังคับคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2545
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่ผู้แทนโจทก์เป็นผู้รับมอบไว้ แล้ว การบังคับคดีจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินพิพาทได้ทันทีนับแต่รับมอบที่ดินพิพาท การที่โจทก์ไม่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่งจำเลยเข้ามารบกวนการครอบ ครองอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่รบกวนสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลังที่การ บังคับคดีในคดีนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ชอบที่จะดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตาม ลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญา จะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดี แก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสองจำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจาก ความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2541
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาท ศาลชั้นต้นออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อจัดการให้เป็นไปตามคำพิพากษาตามคำร้องขอของโจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยออกไปจากที่พิพาทแล้วย่อมถือได้ว่าการบังคับคดีเสร็จสิ้นตรงตามคำ พิพากษาแล้วการที่จำเลยเข้ามาอยู่ในที่พิพาทอีกหลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 2 ปี จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะอาศัยคำพิพากษาในคดีนี้ที่บังคับคดีไปเสร็จสิ้นแล้วมาบังคับเอาแก่การกระทำของจำเลยในครั้งนี้อีกไม่ได้ ชอบที่โจทก์จะฟ้อง เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6547/2538
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบและจดทะเบียนโอนอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทให้โจทก์ จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปจัดการให้โจทก์เข้า ครอบครองอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทและส่งมอบให้โจทก์เข้าครอบครองแล้ว การส่งมอบดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ตรี เพื่อจัดการให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ หาใช่เป็นการยึดทรัพย์เพื่อนำออกขายทอดตลาดตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 288 ไม่ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 ที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ปล่อยอาคารพาณิชย์ห้องพิพาทได้

ปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2542
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้วโจทก์จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไป อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้รวมกันต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งมี อัตรา สูงกว่ามาใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาปัญหานี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดค่าทนายความในศาลชั้น ต้นให้จำเลย ใช้แทนให้สูงขึ้นได้ การรื้อถอนบ้านจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้วโจทก์จะรื้อถอนบ้านของจำเลยเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้ โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7496/2540
เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดบังคับให้จำเลยเปิดถนนพิพาท โดยให้จำเลยนำแผงเหล็กที่ปิดกั้นออกและขนย้ายวัสดุก่อสร้างบนถนนพิพาทออกไปให้จำเลยใช้ค่าทดแทนไปจนกว่าจะเปิดถนนพิพาท และขนย้ายวัสดุก่อสร้างเสร็จ จำเลยเพียงแต่ขนย้ายวัสดุก่อสร้างออก เป็นการปฏิบัติส่วนหนึ่งตามคำพิพากษา เท่านั้น แต่จำเลยไม่รื้อรั้วกำแพงที่ปิดกั้นถนนพิพาทออก จึงมีผลเท่ากับจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่ ให้เปิดถนนพิพาท และการที่จำเลยที่ 3 สร้างรั้วกำแพงขึ้นใหม่ในถนนพิพาท เป็นการจงใจก่อเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากถนนพิพาทได้โดยปกติสุขที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายตั้ง เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้นำเงินวางศาลชำระค่าเสียหายและขนย้ายแผงเหล็กกับวัสดุก่อสร้างออกไป แล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้งดการบังคับคดีแล้วแต่เมื่อศาลชั้นต้นเป็นศาล ที่ออกหมายบังคับคดีจึงย่อมมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องเกี่ยวกับการ บังคับคดีได้ตลอดจนมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่เคยอนุญาตให้งดการบังคับคดีด้วย การที่ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสามยังปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ครบถ้วน จึงออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อดำเนินการรื้อกำแพงพิพาทตามคำขอของ โจทก์ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นได้ยกเลิกคำสั่งที่อนุญาตให้งดการบังคับคดีไปโดยปริยายอยู่แล้ว โดยหาจำต้องให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2537
โจทก์กับจำเลยมีบ้านอยู่ติดกัน และหลังคาบ้านกับรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้านมาจากเจ้าของเดิมและโจทก์ได้ครอบครองทั้งบ้าน และที่ดินมากว่า 20 ปี แต่การละเมิดที่หลังคาบ้านและรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ ที่ดินของจำเลยคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องและปัจจุบัน จำเลยชอบที่จะฟ้องให้โจทก์รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ ที่ดินของจำเลยได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ถ้าโจทก์ไม่รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ให้จำเลยเป็นผู้รื้อโดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งจำเลยชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ ดำเนินการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2537
ที่ดินของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นที่ลุ่มอยู่ต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเจ็ด จำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1339 วรรคแรกและจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตนเพราะ ก่อนหน้านี้น้ำจากบริเวณที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดซึ่งเป็นที่สูงก็ได้ระบาย ไหลเข้ามาในที่ดินของจำเลยทั้งสองในบริเวณที่พิพาทตามธรรมดาอยู่แล้วดังที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 1340 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางในที่พิพาทเป็นเหตุให้น้ำท่วมนาของโจทก์ ทั้งสิบเจ็ดจนได้รับความเดือดร้อนเสียหายเช่นนี้ โจทก์ทั้งสิบเจ็ดย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำที่พิพาทให้เป็น ลำรางระบายน้ำตามเดิมได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสิบเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในบริเวณทุ่งใหญ่ได้รับความเดือดร้อน เสียหายเพราะจำเลยทั้งสองใช้ดินกลบลำรางระบายน้ำซึ่งเป็นทางระบายน้ำที่ไหล จากบริเวณที่ดินโจทก์ทั้งสิบเจ็ดผ่านลำรางดังกล่าวไปสู่บึงน้ำสาธารณะมานาน 40 ถึง50 ปีแล้ว เป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดที่จะใช้ลำรางระบายน้ำนั้นได้ โดยไม่ให้จำเลยทั้งสองปิดกั้น ซึ่งในคดีแพ่งนั้นโจทก์ไม่จำเป็นจะต้องยกบทกฎหมายขึ้นกล่าวอ้าง เพียงแต่บรรยายข้อเท็จจริงและมีคำขอบังคับก็เป็นเพียงพอแล้ว ส่วนบทกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาปรับแก่คดี เอง ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางพิจารณาว่า กรณีเป็นเรื่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1339 วรรคแรก และมาตรา 1340 วรรคแรก ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ากรณีเป็นเรื่องดังกล่าวได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ร่วมกันขุดเปิดลำรางก็ให้โจทก์ทั้งสิบเจ็ดดำเนินการเอง โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแทน ไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามกฎหมายดัง กล่าว โจทก์ทั้งสิบเจ็ดชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2536
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยได้ทำละเมิดโดยการกลบลำเหมืองบนทางสาธารณะ ทำให้น้ำไม่ไหล ต้นข้าวของโจทก์ทั้งสามเสียหายการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า หากจำเลยไม่ยอมขุดลำเหมืองที่จำเลยกลบให้คืนสู่สภาพเดิม ให้โจทก์ทั้งสามเป็นผู้ขุดเองโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าจ้าง นั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2534
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษาให้จำเลยและบริวารรื้อย้ายสิ่งปลูก สร้างออกจากที่พิพาทให้จำเลยทราบแล้ว แต่มิได้ออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยและบริวารไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์จะขอบังคับคดีต่อผู้ร้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบริวารของจำเลยยังไม่ได้ ปัญหาเรื่องสิทธิในการบังคับคดีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนแม้ผู้ร้องมิได้กล่าวไว้ในคำคัดค้านก็ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225,249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2525
ศาลชั้นต้นออกหมายจับ ส.ตามคำร้องของโจทก์ในฐานะที่ส. เป็นบริวารของจำเลยและไม่ออกไปจากตึกแถวพิพาทตามคำบังคับของศาล เพื่อให้ ส.ปฏิบัติตามคำบังคับ.ซึ่งส. อาจถูกกักขังจนกว่าจะออกไปจากตึกแถวพิพาท แต่ไม่เกินกว่าหนึ่งปีนับแต่วันจับ. ส. จะขอประกันตัวได้ภายในเงื่อนไขที่ว่า ตนยอมที่จะปฏิบัติตามคำบังคับ ทั้งตามคำร้องที่นายประกันยื่นต่อศาลเพื่อขอประกันตัว ส. ก็ระบุไว้ชัดว่า เพื่อให้ ส. ออกไปปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ และคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ประกันตัวก็ระบุว่าเพื่อให้ ส. ออกไปปฏิบัติตามคำบังคับภายใน 20 วันนับแต่วันที่มีคำสั่ง ฉะนั้น ข้อที่ว่า ส. จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ประกัน เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่านายประกัน ผิดสัญญาประกัน ศาลริบเงินประกันนั้นได้