Pages

คำฟ้อง

มาตรา ๑๗๐ ห้ามมิให้ฟ้อง พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรกในศาลหรือโดยศาลอื่นนอกจากศาลชั้นต้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในภาคนี้ว่าด้วยคดีไม่มีข้อพิพาท คดีมโนสาเร่ คดีขาดนัด และคดีที่มอบให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด การฟ้อง การพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้น นอกจากจะต้องบังคับตามบทบัญญัติทั่วไปแห่งภาค ๑ แล้ว ให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้ด้วย

มาตรา ๑๗๑ คดีที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติว่าจะฟ้องยังศาลชั้นต้น หรือจะเสนอปัญหาต่อศาลชั้นต้นเพื่อชี้ขาดตัดสิน โดยทำเป็นคำร้องขอก็ได้นั้น ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลย และวิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำฟ้องมาใช้บังคับแก่ผู้ยื่นคำขอและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ถ้าหากมี และบังคับแก่วิธีพิจารณาที่ต่อจากการยื่นคำร้องขอด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำเป็นคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘

มาตรา ๑๗๓ เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้อง
ให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
(๑) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่นและ
(๒) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่น การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2552
คดี อาญาซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองในคดีนี้บุกรุกที่ดินของผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ เป็นคดีที่มิใช่คดีใดคดีหนึ่งในคดีความผิด 9 สถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ที่ให้พนักงานอัยการเมื่อยื่นฟ้องคดีความผิดนั้นๆ มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย ดังนั้น แม้พนักงานอัยการในคดีอาญาดังกล่าวมีคำขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างออกจากที่ดินรวมทั้งให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินโดยโจทก์คดี นี้เข้าร่วมเป็นโจทก์ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดตาม ฟ้อง แล้วพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ตาม เมื่อความผิดฐานบุกรุกไม่มีกฎหมายรับรองให้พนักงานอัยการมีคำขอในส่วนแพ่ง แม้โจทก์คดีนี้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญาดังกล่าว ก็มีผลเฉพาะในส่วนอาญาที่ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองเท่านั้น ศาลในคดีอาญาไม่อาจพิพากษาบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออก ไปจากที่ดินที่บุกรุก มูลคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องทางแพ่งโดยเฉพาะ มิใช่เรื่องเดียวกันกับคดีอาญาในความหมายที่บัญญัติไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902/2552
แม้ คำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า ในการประกาศผลสอบไล่เนติบัณฑิตยสภาสมัยที่ 14 ประจำปี พ.ศ.2504 จำเลยซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาติกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยกรรมการของจำเลย สมคบกันทุจริตในการให้คะแนนสอบปากเปล่าด้วยความลำเอียงไม่ให้คะแนนตามความ รู้ ด้วยการให้คะแนนสอบปากเปล่าแก่ อ. ผู้ซึ่งสอบข้อเขียนได้เป็นอันดับ 3 สูงถึง 85 คะแนน แต่กลับให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สอบข้อเขียนได้คะแนนสูงสุดและมีคะแนนข้อเขียน มากกว่า อ. ถึง 19 คะแนน ได้คะแนนสอบปากเปล่าเพียง 65 คะแนน ซึ่งเมื่อนำไปรวมกับคะแนนสอบข้อเขียนแล้ว ทำให้โจทก์ตกไปอยู่ในอันดับ 2 และส่งผลให้ อ. ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและอับอาย ไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รับการยกย่องแพร่หลายในฐานะบุคคลที่เรียนดีที่สุด ในยุคนั้น ขอให้บังคับจำเลยดำเนินการขอขมาโจทก์ และประกาศผลการสอบไล่ดังกล่าวเสียใหม่ว่าโจทก์เป็นผู้สอบไล่ได้เป็นอันดับ 1 มิใช่ อ. โดยให้จำเลยปิดประกาศแผ่นป้ายถาวรไว้ ณ ที่ทำการของจำเลย และแก้ไขรายการผลสอบดังกล่าวในเอกสารต่าง ๆ ด้วย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์ดำเนินการโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง นั้น จะเป็นคำฟ้องที่โจทก์ได้กล่าวแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องเพื่อสนับสนุนให้เห็นว่ากรรมการของ จำเลยสมคบร่วมกันกระทำมิชอบต่อโจทก์นั้น หากมีมูลความจริง โจทก์ก็สมควรต้องรีบดำเนินการโต้แย้งหรือนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลภายในเวลาอัน สมควร เพื่อให้จำเลยและบุคคลที่โจทก์กล่าวพาดพิงได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ กลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยเนิ่นนานจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาประมาณ 43 ปี จนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างสูญหายตายจากไปหมดสิ้นแล้ว อีกทั้งข้อเท็จจริงที่โจทก์หยิบยกเอาความรู้ความสามารถ ความสำเร็จจากการสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา และจากหน้าที่ราชการที่โจทก์ปฏิบัติมาตลอดชีวิตราชการ รวมทั้งการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ภายหลังจากการสอบเป็นเนติบัณฑิต เพื่อสนับสนุนว่าโจทก์มีความรู้โดดเด่นไม่น่าจะได้คะแนนสอบปากเปล่าน้อยกว่า อ. ก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังการสอบปากเปล่าเป็นระยะเวลายาวนาน เกือบตลอดชีวิตการทำงานของโจทก์ทั้งสิ้น หาใช่ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นภายในระยะเวลาใกล้เคียงวันเกิด เหตุอันจะเป็นเครื่องชี้หรือบ่งบอกถึงความรู้ความสามารถของโจทก์ในวันที่มี การสอบปากเปล่าไม่ การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานถึง 43 ปี แล้วค่อยขุดคุ้ยเอาความสำเร็จจากหน้าที่ราชการที่ได้ปฏิบัติมาจนเกือบตลอด ชีวิตขึ้นกล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนคำฟ้องว่าจำเลยดำเนินการสอบปากเปล่าโดยมิ ชอบเช่นนี้ พฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2551
ศาล ฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้ยกฟ้องจำเลยกับให้ย้อนสำนวน ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานเฉพาะของโจทก์และจำเลยแล้วมีคำพิพากษาใหม่ ในการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหา ข้อกฎหมายเรื่องฟ้องซ้อนอันเป็นประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ได้ชี้สองสถานกำหนด เป็นประเด็นพิพาทไว้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ กฎหมายเช่นว่านี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นการขัดต่อคำพิพากษาศาลฎีกา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 แต่มิได้ดำเนินการตามขั้นตอนในมาตรา 28 (2) (ข) (ค) ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อนที่โจทก์ยกข้ออ้างว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขุดดินปักเสาไฟฟ้าในที่ดินของโจทก์โดยไม่ ชอบด้วยกฎหมาย แม้ที่ดินอีก 15 แปลง ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ โจทก์ไม่ได้ฟ้องในคดีก่อน แต่ที่ดินเหล่านี้อยู่ในโครงการปรับปรุงสายส่งไฟฟ้าเดิมที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2551
ก่อน ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 128 ฉบับ ที่ศาลแพ่งธนบุรี 2 คดี ซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ ว. ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ และโจทก์ฟ้องบริษัท น. ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คดี ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาให้บริษัท น. ชำระเงินตามฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด ส่วนคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการจำเลยอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีทั้งสี่สำนวนดังกล่าวจำเลยผู้สั่งจ่ายยังไม่ได้ชำระเงินตามคำพิพากษาให้ โจทก์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามคดีนี้ให้รับผิดตาม สัญญาขายลดเช็ค ส่วนคดีเดิมทั้งสี่สำนวนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นการฟ้องเกี่ยวกับเช็คพิพาทชุดเดียวกันแต่มูล หนี้คดีนี้เป็นคนละมูลหนี้กับคดีเดิมและสภาพแห่งข้อหาต่างกันทั้งจำเลยก็ เป็นคนละคนกัน กรณีมิใช่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดย อาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาล เดียวกันหรือต่อศาลอื่นอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง และมาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4891/2551
ศาล ชั้นต้นวินิจฉัยว่าทางพิพาทในที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ และโจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 2 แต่ทางดังกล่าวในที่ดินของจำเลยที่ 2 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ไม่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นทางจำเป็น ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่วินิจฉัยว่าโจทก์ ได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทางพิพาทอาจเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือทั้ง สองอย่างขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้ความในทางพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมอยู่จนไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ปิดล้อมอยู่นั้นเปิดทาง เพื่อให้โจทก์เข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 อันเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนด จึงมิใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2551
โจทก์ แนบตารางกรมธรรม์ประกันภัยไว้ท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับ จ. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของ จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีโอกาสทราบได้เลยว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างไรและไม่อาจต่อสู้คดีของโจทก์ได้ การบรรยายฟ้องในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นสาระสำคัญ มิใช่รายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาเพราะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551
ผู้ ร้องบรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) ที่โจทก์นำยึดมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องด้วยจึงไม่มีอำนาจยึดที่ดินพิพาท ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึด นั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง และมีคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใด เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมาในคำ ร้องไม่ คำร้องของผู้ร้องจึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องรู้เห็นและยินยอมในการที่จำเลยนำที่ดินพิพาทไปเป็นหลักประกันตัวผู้ ต้องหา เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันแต่ จำเลยไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจยึดที่ดินพิพาทบังคับชำระหนี้ได้ไม่ว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรส หรือสินส่วนตัว ผู้ร้องจะอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวและจะใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อย ที่ดินพิพาทหาได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2551
ผู้ ร้องได้บรรยายคำร้องว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1906 ที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่สินสมรสของจำเลย แต่เป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องโดยผู้ร้องได้รับมาจากบุพการี คำร้องของผู้ร้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องแล้วว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดนั้นมิใช่ของจำเลยหรือเป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วน ตัวของผู้ร้อง โดยผู้ร้องแนบเอกสารการได้มาของที่ดินพิพาทมาท้ายคำร้องซึ่งถือเป็นส่วน หนึ่งของคำร้องและมีคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาจากบุพการีโดยวิธีใดและเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่ผู้ร้องสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาจำต้องบรรยายมา ในคำร้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2551
คดี ก่อนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องคดีแทนผู้บริโภคทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ทำ สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดินกับจำเลยทั้งสอง แต่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ลูกค้าหรือผู้ซื้อบ้านและที่ดินในโครงการของจำเลยทั้ง สอง จึงไม่ใช่ผู้บริโภคที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน ได้ฟ้องคดีแทน กรณีจึงไม่อาจถือว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ฟ้องคดีแทนโจทก์คดีนี้ ด้วย ย่อมไม่ไช่คู่ความรายเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และ 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2550
คำ ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดระเบียบและฝ่าฝืนวิธีการขายรถยนต์ของโจทก์โดยขายรถยนต์ให้ลูกค้าได้ เงินมาแล้วไม่ส่งมอบโจทก์จนครบถ้วน อันเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้เงินคืน ส่วนรายละเอียดว่าเป็นการผิดระเบียบข้อใดสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2550
โจทก์ บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 บุรกรุกเข้าไปแย่งทำนาในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตามแผนที่โดยประมาณท้ายฟ้อง มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งแผนที่ท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและได้ระบุบริเวณที่อ้างว่าจำเลย ที่ 1 บุกรุกไว้อย่างชัดเจนพอให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2550
ปัญหา ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ในคดีแพ่งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อย จำเลยต้องยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ทั้งจะต้องให้การโดยแจ้งชัดด้วยว่าฟ้องเคลือบคลุมอย่างไร มิฉะนั้นจะไม่เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยถึง ปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องการมอบอำนาจให้บอกกล่าวขับไล่จำเลยก็เช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นทั้งสองเรื่องดังกล่าวในศาล ชั้นต้น การที่จำเลยยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่า กล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2550
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาล อุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่ มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2550
โจทก์ บรรยายฟ้องว่า ว. เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาท ว. เนื่องจากเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูก สร้างพิพาท อ. บุตรเลี้ยงของโจทก์นำโฉนดที่ดินพิพาทไปวางเป็นประกันเงินกู้ไว้แก่จำเลยใน ขณะที่ ว. ยังมีชีวิตอยู่โดยมิได้รับความยินยอมจาก ว. เป็นการไม่ชอบ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งหมดหรือเป็นเจ้าของร่วมในสัดส่วนเท่าใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณา ไม่ต้องกล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2550
โจทก์ ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดแจ้งว่า โจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์จำนวนเท่าใด และที่ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ โจทก์ก็มิได้บรรยายมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยว่าขอให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล จำนวนเท่าใด จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้กล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่ อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในส่วนที่ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2550
ฟ้องแย้งนอกจากจะต้องเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของ จำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอย่างไร รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อเช่นว่านั้นแล้ว ยังต้องมีคำขอบังคับ คือจะให้ศาลบังคับโจทก์ให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างไรในเรื่องที่ถูกโต้ แย้งสิทธินั้นด้วยตามนัย แห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง และมาตรา 177 วรรคสาม คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโดยเพียงแต่ขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาท มิใช่คำขอให้บังคับโจทก์ทั้งเป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยได้ตามฟ้องเดิมอยู่ แล้ว จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความมิ ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2550
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วปรากฏว่าข้อกล่าวอ้างตามคำฟ้องเห็นได้ชัด แจ้งว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์ จำเลย และพิพากษายกฟ้องไปได้เลย โดยไม่จำต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบก่อน
ศาลชั้นต้นทำคำพิพากษาเป็นหนังสือและมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยกับคำวินิจฉัย ของศาลในประเด็นแห่งคดีครบถ้วนแล้ว ย่อมเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 แม้ว่าคำพิพากษาดังกล่าวจะเกษียนไว้ในคำฟ้องก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1928/2550
โจทก์ ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นความวินาศภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยไว้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยอย่างไร อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิด จึงเป็นสาระสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้คือใครและจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนั้นในฐานะอะไร หรือมีความสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกัน ภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2550
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น" ความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวก็คือคดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้อง ว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยเหตุเดียวกันกับเหตุ ที่ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมคดีก่อน และเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยในขณะที่คดี ก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลแรงงานกลาง การฟ้องคดีทั้งสองเรื่องต่อศาลแรงงานกลางเป็นการเรียกร้องสิทธิในมูลหนี้ หรือสิทธิเรียกร้องอันเกี่ยวกับการเลิกจ้างในคราวเดียวกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมในคราวเดียวกันได้หรือขอ แก้ไขคำฟ้องในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างคดีก่อนอยู่ในระหว่างการ พิจารณาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2550
ปัญหา เรื่องฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยว ด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหานี้ก่อนได้
แม้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำ สั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แต่สิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์และจำเลยโต้แย้งนี้ ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลยคดีนี้ต่อศาลชั้น ต้น คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันกับที่อ้างในคำร้องสอด ว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกในการทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่า จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ร้องกับพวกทำสัญญาเช่าหรือไม่ คำร้องสอดจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5822/2550
คำ ฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีมีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เป็นอย่างเดียวกันคือจำเลยที่ 2 กับพวกนำรถยนต์โดยสารมารับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์อันเป็นการ ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อกันมากับการกระทำเดิม มิใช่เป็นการกระทำละเมิดขึ้นใหม่ แม้คดีนี้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารไม่เป็นไปตาม ข้อกำหนดของสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานีและมีคำขอบังคับให้ศาลมีคำสั่ง มิให้จำเลยทั้งสองหยุดรับส่งคนโดยสารในเส้นทางสัมปทานของโจทก์ซึ่งโจทก์มิ ได้มีคำขอในคดีเดิม แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในคดีเดิมได้บรรยายถึงการกระทำดังกล่าวมาแล้วจึงเป็น เรื่องที่โจทก์สามารถขอมาในคดีเดิมได้อยู่แล้ว คำฟ้องโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้ในระหว่างที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงเป็นฟ้องซ้อน แต่คดีก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2550
ใน คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น มีโจทก์ 3 คน คือ โจทก์ในคดีนี้ ห. และ ส. ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. โดยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ใน โฉนดที่ดินพิพาทที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง ปรปักษ์จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ใน ที่ดินพิพาท ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการเรียกเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยเพื่อมาแบ่ง ปันแก่ทายาท แต่มีการบรรยายความเป็นมาว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไรเพื่อตัดสิทธิ จำเลยมิให้รับมรดกด้วย สถานะของโจทก์ในคดีทั้งสองจึงแตกต่างกัน และประเด็นแห่งคดีทั้งสองก็แตกต่างกันด้วยฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน กับฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2550
คำว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ แม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนของศาลชั้นต้นโดยโต้ แย้งเรื่องศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาก็ถือว่าคดีอยู่ใน ระหว่างพิจารณา จำเลยจึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้ ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2550
เมื่อ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเรียกค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1524/2547 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2547 แก่โจทก์ แม้คดีนี้กับคดีก่อนจะเป็นการฟ้องตามสัญญาจ้างแรงงานเหมือนกันก็ตามแต่ก็ เป็นคำฟ้องเรียกเงินคนละประเภทกัน มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและประเด็นที่วินิจฉัยต่างกัน จึงไม่ใช่เป็นการยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2550
คำ ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์และไม่ได้แนบหนังสือ รับรองนิติบุคคลในส่วนที่เกี่ยวด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์มาท้ายคำฟ้อง แต่เป็นรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาให้ปรากฏในคำฟ้อง เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไร อย่างไร มิใช่สภาพแห่งข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้ง ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าโจทก์ต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของ โจทก์มาท้ายคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ระบุมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนิน คดีแพ่งเรื่องผิดสัญญา เรียกสินค้า และเรียกค่าเสียหายตั้งแต่เริ่มต้นจนคดีถึงที่สุดดังต่อไปนี้ ฯลฯ เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาซื้อขายคดี นี้เท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็น การกระทำมากกว่าครั้งเดียว แม้ตามหนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา อื่นๆ ได้ด้วย แต่เป็นเพียงวิธีการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสองเท่านั้น ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ 7 (ก) กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8392/2549
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บังคับให้พนักงานอัยการฟ้องเรียกได้แค่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น สภาพไม่เปิดช่องให้เรียกดอกเบี้ยได้เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคา ที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิด การที่พนักงานอัยการไม่ได้ขอเรียกดอกเบี้ยมาด้วยในคดีอาญานั้น จึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่พนักงานอัยการสามารถฟ้องเรียกแทนผู้เสียหายได้แล้ว แต่ไม่เรียก ฟ้องของโจทก์คดีแพ่งในส่วนของดอกเบี้ยจึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7585/2549
ตาม คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ย แม้จำนวนเงินค่าดอกเบี้ยจะไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็เป็นเรื่องการเรียก ดอกเบี้ยผิดพลาดเท่านั้น ศาลย่อมจะคิดคำนวนให้ถูกต้องได้ เมื่อคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ จำเลยได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด เมื่อใด และจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว กับคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้ว