Pages

การอ้างเอกสารเป็นพยาน

มาตรา ๙๐ ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนตามมาตรา ๘๘ วรรคหนึ่ง ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน


ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดยื่นคำแถลงหรือคำร้องขออนุญาตอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา ๘๘ วรรคสองหรือวรรคสาม ให้ยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นพร้อมกับการยื่นคำแถลงหรือคำร้องดังกล่าว เว้นแต่ศาลจะอนุญาตให้ยื่นสำเนาเอกสารภายหลังเมื่อมีเหตุอันสมควร


คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงพยานหลักฐานไม่ต้องยื่นสำเนาเอกสารต่อศาล และไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้คู่ความฝ่ายอื่นในกรณีดังต่อไปนี้


(๑) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารเป็นชุดซึ่งคู่ความฝ่ายอื่นทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น เช่น จดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดี หรือสมุดบัญชีการค้า และสมุดบัญชีของธนาคารหรือเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น


(๒) เมื่อคู่ความฝ่ายใดอ้างอิงเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่นหรือของบุคคลภายนอก


(๓) ถ้าการคัดสำเนาเอกสารจะทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้าเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความซึ่งอ้างอิงเอกสารนั้น หรือมีเหตุผลแสดงว่าไม่อาจคัดสำเนาเอกสารให้เสร็จภายในกำหนดเวลาที่ให้ยื่นสำเนาเอกสารนั้น


กรณีตาม (๑) หรือ (๓) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ขออนุญาตงดการยื่นสำเนาเอกสารนั้นและขอยื่นต้นฉบับเอกสารแทน เพื่อให้ศาลหรือคู่ความฝ่ายอื่นตรวจดูตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด


กรณีตาม (๒) ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างอิงเอกสารขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารนั้นมาจากผู้ครอบครองตามมาตรา ๑๒๓ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง แล้วแต่กรณี และให้คู่ความฝ่ายนั้นมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมาภายในเวลาที่ศาลกำหนด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3536/2560

ผู้ร้องนำสืบพยานและอ้างส่งสำเนาพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่าเอกสารดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีระบุพยาน และเป็นเอกสารที่ผู้ร้องต้องส่งสำเนาแก่ผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยให้ ก็ถือเป็นการไม่ชอบ


ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเพื่อให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดก โดยผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นว่า สมควรตั้งผู้ร้องหรือ ส. เป็นผู้จัดการมรดก ส่วนข้ออ้างของผู้คัดค้านว่าที่ดินตามพินัยกรรมเป็นของผู้คัดค้านนั้น เป็นการอ้างว่ามิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นคดีต่างหากจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยว่าที่ดินตามพินัยกรรม 4 แปลง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือเป็นของผู้คัดค้าน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว


ผู้ตายมาพบเจ้าพนักงานปกครอง และแจ้งความประสงค์ในการทำพินัยกรรม แล้วเจ้าพนักงานปกครองพิมพ์ข้อความในพินัยกรรมตามความประสงค์ของผู้ตาย เมื่อไปพบผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตแล้ว เจ้าพนักงานปกครองอ่านข้อความในพินัยกรรมให้ผู้ตาย ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และพยานสองคนฟัง ผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตสอบถามผู้ตายว่าต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความในพินัยกรรมหรือไม่ ผู้ตายตอบว่าไม่เปลี่ยนแปลงและยืนยันตามข้อความในพินัยกรรม แล้วผู้ตายและพยานสองคนลงชื่อในพินัยกรรม ดังนี้ การสอบถามของผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขต และการยืนยันของผู้ตายดังกล่าวจึงเป็นการแจ้งข้อความที่ประสงค์ให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมแก่กรมการอำเภอต่อหน้าพยานสองคนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) แล้ว เมื่อผู้ตายเห็นว่าถูกต้องและลงชื่อในพินัยกรรมโดยมีพยานสองคนลงลายมือชื่อ และผู้ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการเขตลงชื่อรับรองว่าพินัยกรรมทำถูกต้องตามกฎหมายแล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ พินัยกรรมดังกล่าวจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1658 ส่วนที่คู่ฉบับพินัยกรรมไม่มีการประทับตราตำแหน่งไว้ ก็ไม่ทำให้พินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์เสียไป ผู้ร้องเป็นบุคคลที่ผู้ตายกำหนดในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2559

ตามฟ้องของโจทก์นอกจากบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 106,000,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินให้โจทก์เป็นหลักฐานตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่แล้ว ยังได้บรรยายต่อไปว่า ในวันเดียวกันกับวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 เมื่อได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์แล้ว ก็ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 5334 และ 5335 เป็นประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวไว้ โดยแนบสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินมาท้ายฟ้องด้วย ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด จึงเป็นกรณีที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวปรากฏในคำฟ้องตั้งแต่บรรยายฟ้องแล้ว เมื่อพิจารณาหนังสือสัญญาจำนองดังกล่าว เป็นหนังสือสัญญาที่ได้ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดิน มีข้อความสำคัญว่า จำเลยที่ 1 ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินซึ่งผู้จำนองได้กู้จากผู้รับจำนอง 106,000,000 บาท โดยให้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ทั้งยังมีข้อความในข้อ 5 ว่า ให้ถือสัญญานี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วย และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อผู้จำนองไว้ด้วย เช่นนี้ ถือได้ว่าหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมชิ้นหนึ่งที่โจทก์ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้นอกเหนือจากหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ กรณีจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด


ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มิได้ระบุใบเสร็จรับเงิน เป็นพยานหลักฐานในบัญชีพยานและมิได้ส่งสำเนาให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 อันต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังใบเสร็จรับเงิน เห็นว่า เมื่อโจทก์นำสืบพยานโดยเบิกความและอ้างส่งใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์เสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานจำเลยทั้งสองหลังจากนั้นนานถึง 2 เดือนเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมมีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และนำสืบหักล้างหรือปฏิเสธได้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 และหม่อม อ. เบิกความ ก็เบิกความยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน และหม่อม อ. ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงินจริง คดีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับฟังใบเสร็จรับเงิน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2559

บัญชีระบุพยานของโจทก์ระบุเพียงต้นฉบับหรือสำเนาสัญญาซ่อมเรือพร้อมคำแปลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับ "Work Done Report" แต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานโดยชอบ ส่วนที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาให้แก่จำเลยทั้งสองก่อน ศาลตรวจดูเอกสารฉบับนี้แล้วพบว่ามีลายมือชื่อของผู้ที่มีข้อความระบุว่าเป็นตัวแทนเจ้าของเรือลงไว้ เหนือขึ้นไปยังมีลายมือชื่อของต้นกลเรือและนายเรือด้วย จึงเชื่อว่าจำเลยทั้งสองมีเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของตนอยู่แล้ว โจทก์ไม่ต้องส่งสำเนาอีก และเอกสารชิ้นนี้เป็นพยานหลักฐานสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับฟังเอกสารชิ้นนี้ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2559

การจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายกำหนดรูปแบบและหลักฐานในการทำสัญญากันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ว่า สัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จากบทกฎหมายดังกล่าว หากคู่สัญญาจะทำสัญญาจะซื้อขายให้มีผลทางกฎหมายในการฟ้องร้องบังคับกันได้ ต้องเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือวางประจำหรือมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยเลือกรูปแบบของสัญญาโดยทำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำกันไว้ ถือเป็นกรณีทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด โดยลงลายมือชื่อโจทก์และจำเลยไว้เพื่อให้คู่สัญญาฟ้องบังคับฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ จึงเป็นกรณีที่หากฟ้องร้องบังคับคดีต้องมีสัญญาจะซื้อขายมาแสดงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างเพิ่มเติมว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาว่า ก่อนทำสัญญาจำเลยแจ้งต่อโจทก์ว่ามีถนนทางผ่านเข้าออกไปยังที่ดินพิพาทเชื่อมกับถนนสาธารณะ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ปัญหาข้อนี้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งคู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีข้อตกลงเรื่องถนนเชื่อมผ่านตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินมัดจำคืน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9742/2558

ตามบัญชีระบุพยานของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2554 อันดับที่ 5 และ 6 ได้ระบุถึงพยานเอกสารที่จำเลยทั้งสองอ้างเป็นพยานต่อศาล คือรายการยอดซื้อสินค้าและยอดชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ทั้งหมด ตลอดจนสำเนาภาพถ่ายเช็คที่โจทก์ได้นำเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งหมดและได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 อันดับที่ 2 ระบุเอกสารที่อ้างเป็นยอดซื้อสินค้าและยอดชำระราคาสินค้าของบริษัทสปริงคูล จำกัด (จำเลยที่ 1) ให้กับโจทก์ 1 แฟ้ม ทั้งแนบสำเนาเช็คซึ่งเป็นหลักฐานการชำระหนี้ค่าสินค้า (ที่ตรวจพบปัจจุบัน) รวม 13 ฉบับ ท้ายคำให้การ แสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองได้ยื่นบัญชีระบุพยานและพยายามรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่จะอ้างเป็นพยานต่อศาลเท่าที่ทำได้เพื่อให้โจทก์ได้มีโอกาสตรวจสอบในเบื้องต้นเท่าที่มี จึงพอแปลได้ว่าเป็นการอ้างเหตุขัดข้องในการส่งเอกสารให้คู่ความอีกฝ่ายตรวจสอบ เมื่อพิเคราะห์จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่า เอกสารทั้งหมดดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญในประเด็นแห่งคดีที่จะนำมาพิสูจน์ชี้ขาดผลแห่งคดีได้ และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)


แม้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองนำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการนำสืบว่าไม่มีต้นฉบับ ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับสำเนาเอกสารว่าถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (4)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2558

ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัยมีเพียงว่า โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ เมื่อโจทก์นำสืบพยานบุคคลฟังได้แล้วว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นภายในสถานที่ประกอบการหรือเกิดขึ้นจากการใช้สถานที่ประกอบการไว้จากบริษัท พ. ผู้เอาประกันภัย การอ้างกรมธรรม์ประกันภัยเป็นพยานจึงเป็นเพียงนำสืบประกอบพยานอื่นในประเด็นเรื่องการรับช่วงสิทธิ ไม่ได้นำสืบบังคับตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยตรง ดังนั้น แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนอ้างส่งเป็นพยาน ก็ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2558

หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า บริษัท น. โดย ร. ผู้จัดการทั่วไป ผู้รับมอบอำนาจ ขอมอบอำนาจช่วงให้ ก. เป็นผู้รับมอบอำนาจ เพื่อดำเนินคดีใด ๆ ต่อบริษัท ช. โดยให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้อง ฟ้องแย้ง หรือเป็นจำเลยเข้าต่อสู้คดีในการดำเนินคดีแพ่ง ฯลฯ ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการ ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจดำเนินคดีเฉพาะกับบริษัท ช. เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการมอบอำนาจทั่วไป และไม่ได้ระบุให้มีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองด้วย การที่ ก. แต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยทั้งสองจึงเป็นการฟ้องบุคคลนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วง ทั้งข้อความที่ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับบริษัท ช. ตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเท่านั้น ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง โจทก์ทราบมาตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้วว่า ช. และบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นคนละบริษัทกัน ทั้งไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาแต่ต้น แม้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจช่วงซึ่งเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไปก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอ้างเอกสารดังกล่าวไว้และได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน อันเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 หนังสือมอบอำนาจช่วง ดังกล่าวจึงต้องห้ามไม่ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2558

การที่โจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ว่าข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.5 แผ่นที่ 3 ระหว่าง ค. กับจำเลยเป็นการตกลงกันเฉพาะค่าเสียหายในส่วนของผลไม้ที่ ค. บรรทุกไปในรถยนต์กระบะเท่านั้นไม่เกี่ยวกับค่าเสียหายของตัวรถยนต์ที่ ค. เอาประกันไว้แก่โจทก์แต่อย่างใด เป็นการนำสืบว่า ค. และจำเลยมีการตกลงกันอย่างไร มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารหมาย จ.5 ที่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2558

คดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่าเป็นการให้ที่มีค่าตอบแทนได้ ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นการให้มีค่าตอบแทน เป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักเพราะโจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนทรัพย์ที่เป็นสินสมรสที่พันเอก (พิเศษ) พ.ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเสน่หา โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ศาลจึงต้องวินิจฉัยในที่สุดว่าโจทก์เพิกถอนได้หรือไม่ การวินิจฉัยว่าเป็นการให้โดยมีค่าตอบแทนและตามหน้าที่ธรรมจรรยาจึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2558

การนำสืบพยานบุคคลถึงความเป็นมาอันแท้จริงของสัญญาซื้อขายที่ดินว่าเพราะเหตุใดจึงมีชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอน ไม่ใช่การนำสืบเพื่อบังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เป็นการนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 การที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายกับจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายกับจำเลยมีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) ส่วนการที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้ยืมเงินในการซื้อตอนแรกก่อนสมรส โดยนำที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไปจำนองเป็นประกันหนี้ แล้วมีการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมาจนมีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองมาเป็นชื่อผู้ตายกับจำเลยภายหลังจดทะเบียนสมรสนั้น เป็นเพียงขั้นตอนการชำระหนี้ของผู้ตายกับจำเลยเท่านั้น ไม่อาจทำให้ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยมาก่อนสมรสต้องกลายเป็นสินสมรส ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จึงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายครึ่งหนึ่ง ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดบัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด การที่จำเลยยื่นคำร้องขอโดยไม่ได้ระบุที่ดินอีก 5 แปลง ไว้ในบัญชีทรัพย์มรดก ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2558

พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2522 ที่ใช้บังคับขณะฟ้อง มาตรา 4 และมาตรา 19 แสดงว่าอธิการบดีซึ่งเป็นผู้แทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโจทก์ ซึ่งเป็นนิติบุคคลย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการทั่วไปแทนโจทก์ การฟ้องคดีเป็นสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม และความประสงค์ของนิติบุคคลแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลนั้น อธิการบดีผู้แทนของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีในนามโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากสภามหาวิทยาลัย จำเลยยอมรับว่าได้เช่าอาคารพาณิชย์พิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีอำนาจต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจให้เช่าอีก และหากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป แต่จำเลยยังคงอยู่ในอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยเคยยื่นฟ้องโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนได้ตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า กรณียังไม่มีการโต้แย้งสิทธิ จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์ พิพากษายกฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่จำเลยยกขึ้นอ้าง อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีและเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) อันมีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังไม่รับคำฟ้อง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยกลับมาฟ้องแย้งคดีนี้มีรายละเอียดและเหตุผลอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ป.พ.พ. มาตรา 538 บังคับให้สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับกันได้ เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาการเช่าแน่นอน จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ร. เป็นนิติกรของโจทก์มีหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุม ดูแลสัญญาเช่าพิพาท ถือเป็นผู้เกี่ยวข้องกับพยานเอกสารในคดีที่ตนได้ตรวจสอบแล้ว สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ คำเบิกความของ ร. จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2) จำเลยได้ทราบถึงความมีอยู่ของสำนวนคดีที่ประสงค์อ้างเป็นพยานตั้งแต่ก่อนวันสืบพยาน แต่มาระบุอ้างเพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันสืบพยาน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสอง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า เอกสารที่จำเลยขอให้ศาลเรียกจากบุคคลภายนอกไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาทในคดี เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ขอให้เรียกมานั้นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่จำเลยในคดีจะต้องนำสืบหรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) เจตนารมณ์ของการส่งสำเนาเอกสาร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 มุ่งประสงค์เพียงให้ฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารมายันได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารก่อนเพื่อจะได้ซักค้านพยานได้ถูกต้องไม่เสียเปรียบแก่กัน เมื่อโจทก์แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาท้ายคำฟ้อง ย่อมนับได้ว่าตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว สำหรับเอกสารอื่นที่มิได้เป็นประเด็นโต้เถียงกันในคดี โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารแก่จำเลย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19431/2557

ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า การอ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ต้องยื่นต่อศาลและส่งให้คู่ความฝ่ายอื่นซึ่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน และมาตรา 86 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า พยานหลักฐานใดที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้ การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นโดยฝ่าฝืนมาตรา 90 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐาน ย่อมเป็นกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบตามมาตรา 27 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวภายใน 8 วัน นับแต่วันแต่วันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งได้อีก


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16115/2557

ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความชัดแจ้งว่า ที่ดินที่จำเลยทั้งสองจะขายให้แก่โจทก์นั้นมีภาระติดพันเพียงการจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารเท่านั้น และจำเลยทั้งสองรับรองว่าที่ดินที่จะขายให้แก่โจทก์ไม่มีภาระติดพันหรือการรอนสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหมายรวมถึงที่ดินของจำเลยทั้งสองนั้นไม่มีภาระจำยอมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยทั้งสองเบิกความขัดแย้งกับสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ถือว่าขณะมีการตกลงทำสัญญาซื้อขายนั้น จำเลยทั้งสองปกปิดความจริงว่าที่ดินพิพาทที่มีการทำสัญญาจะซื้อขายรวมกับที่ดินแปลงอื่นมีภาระจำยอมติดอยู่ แต่จำเลยทั้งสองปกปิดไม่ยอมแจ้งเรื่องดังกล่าวให้โจทก์ทราบ ถือว่าจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ หากจำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินพิพาทมีภาระติดพันคือภาระจำยอมอยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ย่อมไม่เข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยทั้งสอง นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์จึงมีสิทธิในการบอกล้างนิติกรรมการทำสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง (3)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12442/2557

แม้โจทก์จะมิได้ระบุหนังสือแจ้งการแก้ไขการลงทุนเอกสารหมาย จ.15 ไว้ในบัญชีระบุพยาน แต่โจทก์ก็ได้นำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการถามติงในการสืบตัวโจทก์อันเป็นการสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มีโอกาสอย่างเต็มที่ในการที่จะนำพยานมาสืบหักล้าง ประกอบกับจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 ก็อ้างมาตลอดว่าหุ้นเป็นของจำเลยและผู้ร้องสอดที่ 3 มิใช่ของโจทก์และจำเลยไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือพนักงานของบริษัท ด. แต่อย่างใด เช่นนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนที่ว่าเอกสารหมาย จ.15 เป็นเพียงสำเนานั้น เห็นว่า เอกสารดังกล่าวได้มีการจัดทำในต่างประเทศทั้งต้นฉบับก็มิได้อยู่ในความครอบครองของโจทก์ พยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานสำคัญที่จะพิสูจน์ถึงผู้มีสิทธิในหุ้นของบริษัท ซ. กรณีจึงจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) นอกจากนี้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ก็ดำเนินการขอให้บริษัท ด. จัดทำหนังสือรับรองความมีอยู่จริงของสำเนาเอกสารหมาย จ.15 มาประกอบการพิจารณาของศาลด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับฟังเอกสารหมาย จ.15 มานั้น ชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11331/2557

ป.วิ.พ. มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ ว. แม้มิได้เกี่ยวข้องรู้เห็นในการจัดทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แต่เป็นพนักงานของโจทก์ย่อมสามารถตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมรายนี้ได้ อันทำให้สามารถทราบที่มาที่ไปของหนี้สินรายนี้จนสามารถเบิกความให้ความกระจ่างในกรณีที่มีความคลุมเครือน่าสงสัยเกี่ยวกับหนี้สินรายนี้ได้ จึงสามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบพยานหลักฐานอื่นได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10926/2557

เมื่อจะเริ่มขุดท่อระบายน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้ส่งหนังสือในงานราชการของกรุงเทพมหานครพร้อมแบบแปลน ให้หน่วยงานสาธารณูปโภคทราบ แสดงว่าเอกสารเป็นสำเนาหนังสือราชการ ซึ่งต้นฉบับถูกส่งให้แก่หน่วยงานสาธารณูปโภคแล้ว จำเลยสามารถหาสำเนามาส่งศาลเป็นพยานหลักฐานเท่านั้น ซึ่งจำเลยระบุไว้ในบัญชีพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลงวันที่ 30 เมษายน 2555 และได้นำมาถามค้าน ส. พยานโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้คัดค้านการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมและการอ้างส่งเอกสารศาลจึงรับฟังเอกสารเป็นพยานหลักฐานในสำนวนได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6662/2557

ร. เป็นพนักงานสินเชื่อของโจทก์ มีหน้าที่ติดตามดูแลลูกค้าของโจทก์ สาขาราชประสงค์ และได้ตรวจสอบเอกสารของลูกค้ารวมทั้งฝ่ายจำเลยคดีนี้ และ ว. เป็นพนักงานบัญชีของโจทก์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลฝ่ายบัญชีลูกค้าของโจทก์ รวมทั้งตรวจสอบเอกสารของลูกค้า ได้เบิกความรับรองพยานเอกสารว่ามีอยู่จริงและถูกต้อง แม้พยานโจทก์จะมิได้รู้เห็นขณะทำพยานเอกสาร แต่เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ แล้วก็สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังคำเบิกความของพยานทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 (2)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19031/2556

โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงมาในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใดขัดต่อบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาตรา 88 อันจะทำให้ศาลรับฟังการ์ดบัญชีเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 1 ไม่ส่งสำเนาการ์ดบัญชีให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่การ์ดบัญชีเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงการชำระค่าเช่าซื้อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 90 ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14621/2556

การนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถทั้งสองคันแทนโจทก์ เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างตัวการกับตัวแทน ไม่เกี่ยวกับการนำสืบเพื่อให้มีการบังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลได้ และไม่ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลที่โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2555

ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เสมือนดังเป็นตัวแทนโจทก์ น่าเชื่อว่าได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาตลอดจนตรวจสอบพยานหลักฐานในคดีมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะเบิกความ นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี และไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ตั้งผู้อื่นซึ่งมิใช่พนักงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ คำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้


โจทก์ฟ้องว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จ. ไม่มีความประสงค์ที่จะให้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค้างชำระ จึงมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือทวงถาม ตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับไปรษณีย์เอกสารท้ายฟ้อง เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องและเป็นหลักฐานเบื้องต้นที่น่าเชื่อว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามเอกสาร แม้ชั้นพิจารณาโจทก์มิได้นำเอกสารท้ายฟ้องมาสืบเป็นพยานโจทก์ก็ตาม แต่ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความยืนยันว่า หลังจากโจทก์รับซื้อทรัพย์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จ. แล้ว โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามการโอนไปยังฝ่ายจำเลย และยังได้ความจากผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์และหลักฐานของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและชำระดอกเบี้ยตลอดมา เมื่อทางการให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จ. ระงับการดำเนินกิจการ จำเลยที่ 1 กลับอ้างว่าไม่เคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินและจำเลยที่ 2 ไม่เคยค้ำประกัน เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำเบิกความ พยานหลักฐานของโจทก์และพฤติกรรมของฝ่ายจำเลย ประกอบเหตุผลว่าตามวิสัยของเจ้าหนี้ย่อมจะต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ที่มีหนี้จำนวนมากชำระหนี้แล้ว เชื่อว่าโจทก์บอกกล่าวทวงถามโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2555

แม้โจทก์จะยื่นบัญชีพยานระบุเอกสารหนังสือของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องแจ้งผลการวินิจฉัยโดยฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88, 90 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์หักล้างคำเบิกความของ ว. เจ้าพนักงานที่ดินที่ว่า ต้นฉบับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีข้อความตามหมายเหตุที่โจทก์กล่าวอ้าง ประกอบกับเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการสามารถตรวจสอบถึงความมีอยู่จริงได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเอกสารดังกล่าวตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นเพิ่มเติมต่อศาล โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านไว้และอุทธรณ์คำสั่งพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และเห็นสมควรให้รับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ ซึ่งฟังได้ว่าโจทก์ได้แจ้งคัดค้านการขายที่ดินพิพาทไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามข้อความที่มีหมายเหตุในสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทจริง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12628/2555

การยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์ทั้งสามจึงสามารถนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งได้ การนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น หมายถึงการนำสืบพยานบุคคลถึงข้อความอื่นให้แตกต่างไปจากข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนั้น แต่ที่โจทก์ทั้งสามนำสืบพยานบุคคลประกอบเอกสารหมาย จ.11 นั้น เป็นการนำสืบถึงความมีอยู่จริงของข้อความที่ปรากฏอยู่แล้วในเอกสาร มิใช่นำสืบข้อความอื่นที่แตกต่างไปจากข้อความในเอกสารจึงมิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารแต่อย่างใด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2555

ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่เสมือนดังเป็นตัวแทนโจทก์ น่าเชื่อว่าได้ศึกษาเรื่องราวความเป็นมาตลอดจนตรวจสอบพยานหลักฐานในคดีมาเป็นอย่างดีก่อนที่จะเบิกความ นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี และไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ตั้งผู้อื่นซึ่งมิใช่พนักงานหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้รับมอบอำนาจโจทก์ คำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2552

หนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์แจ้งว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยย้ายออกจากพื้นที่เช่าจึงขอคืนพื้นที่จอดรถ ใบส่งโทรสารของโจทก์ถึงจำเลยเกี่ยวกับพื้นที่จอดรถ และหนังสือที่โจทก์คืนเงินค่าหมายเลขโทรศัพท์ให้แก่จำเลย แม้จำเลยมิได้อ้างไว้ในบัญชีระบุพยาน ซึ่งฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) เอกสารที่จำเลยไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ เป็นเอกสารโต้ตอบระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งต่างฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้นแล้ว จึงไม่จำต้องส่งสำเนาให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (1) จำเลยไม่เสียค่าอ้างเอกสาร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่เสีย ประกอบกับศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่ายย่อมไม่ควรยกเป็นเหตุไม่รับฟังเอกสารดังกล่าวนั้น ศาลจึงมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5273/2551

เอกสารการรับชำระเงิน เป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากต้นฉบับที่เก็บไว้ที่สาขาของโจทก์ อันแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารยังมีอยู่ที่สาขาของโจทก์ เมื่อจำเลยแถลงว่าเอกสารดังกล่าวที่โจทก์อ้างส่งเป็นสำเนาที่ถ่ายมาจากสำเนา อีกครั้งหนึ่ง ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ดังนี้ โจทก์จะต้องนำต้นฉบับเอกสารมาอ้าง การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร โดยที่ยังสามารถนำต้นฉบับเอกสารมาอ้างได้ เช่นนี้ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามที่ปรากฏ ในเอกสารการรับชำระเงินดังกล่าว กรณียังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ที่จะรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551

ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์นานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดิน พิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่ มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลย จึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท


โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมา สืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาต ให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้


การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตาม ประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551

ผู้ร้องอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ซ. แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ ในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1)


โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อ สันนิษฐานว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายอันเป็นคุณต่อ ผู้ร้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2551

โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยโดยอ้างเหตุว่า จำเลยคบหากับ พ. ในลักษณะชู้สาวและแสดงตนโดยเปิดเผยว่าเป็นภริยาของ พ. จึงเป็นการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในบรรพ 5 เป็นการเฉพาะ จึงเป็นเรื่องกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่กับความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภริยาโดยตรง หาใช่คดีละเมิดธรรมดาไม่ ถือเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6


แม้รายการใช้โทรศัพท์จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารและโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้ จำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของบริษัท อ. บุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551

โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้


การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2550

โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสารของราชการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าสำเนาโฉนดที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 เอกสารแสดงรายการที่จำเลยทั้งสองกับพวกถูกฟ้องคดีต่อศาล จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารที่มีคำรับรองอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2550

แม้โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานโดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสาร ดังกล่าวก็ตาม แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 2 ฉบับ รวมทั้งสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วย แล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จในวันดังกล่าว แต่จำเลยซึ่งถูกโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้าน การที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบว่า สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับภายในระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะสืบ พยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 แม้ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้ หนี้ จำเลยก็กล่าวอ้างเพียงว่าศาลจะรับฟังเอกสารเป็นพยานได้แต่ต้นฉบับ เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ก่อนที่โจทก์จะสืบพยาน เอกสารนั้นเสร็จตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้คัดค้านการอ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้โดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงหาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2550

เมื่อโจทก์ส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือโต้แย้งว่าโจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าว จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) สำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงสามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อปรากฏว่าเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงไม่ใช่การรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐาน ทั้งสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร จึงไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 สำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้าม ตาม ป.รัษฎากร แต่อย่างใด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9000/2550

จำเลย ที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว เมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัด เชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)


การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้า พนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของ โจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2550

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้น ฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และ ผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว


ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่า ส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่า หน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2550

แม้โจทก์จะเป็นธนาคารพาณิชย์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตราสูงสุดตาม ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ก็ตาม ประกาศดังกล่าวหาใช่ข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้เองได้ แต่เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่คู่ความมีหน้าที่นำสืบ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าเอกสารเกี่ยวกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ เรียกจากจำเลยเป็นเอกสารที่ต้องห้ามรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 ซึ่งโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดถือได้ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินไปจากอัตราปกติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2551

ผู้ร้องอ้างส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลชั้นต้นประกอบคำเบิกความของ ซ. แต่ศาลชั้นต้นได้คืนต้นฉบับเอกสารให้ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ โจทก์ไม่ได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องอ้างส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับในขณะที่ผู้ร้องได้รับคืนต้นฉบับเอกสารนั้นว่าไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ผู้ร้องส่งสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ จึงเป็นการตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามมาตรา 93 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2550

โจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสารของราชการที่ไม่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง แต่จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าสำเนาโฉนดที่ดินเป็นของจำเลยที่ 2 เอกสารแสดงรายการที่จำเลยทั้งสองกับพวกถูกฟ้องคดีต่อศาล จำเลยที่ 2 ก็ยอมรับว่าถูกฟ้องคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารที่มีคำรับรองอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2550

แม้โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานโดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสารดังกล่าวก็ตาม แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 2 ฉบับ รวมทั้งสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วย แล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จในวันดังกล่าว แต่จำเลยซึ่งถูกโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านการที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาสืบว่า สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับภายในระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 แม้ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้ จำเลยก็กล่าวอ้างเพียงว่าศาลจะรับฟังเอกสารเป็นพยานได้แต่ต้นฉบับ เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนาเอกสารรับฟังไม่ได้เท่านั้น ไม่ได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสอง ถือว่าจำเลยไม่ได้คัดค้านการอ้างสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้โดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาบันทึกการเจรจาชดใช้หนี้เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงหาขัดต่อกฎหมายดังกล่าวไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2549

แม้โจทก์จะอ้างเอกสารซึ่งเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเฉพาะด้านหน้าของเช็คก็ตาม แต่โจทก์อ้างว่าได้มอบต้นฉบับเช็คคืนแก่จำเลยทั้งสองไปแล้ว จำเลยทั้งสองคงคัดค้านเพียงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนา มิได้คัดค้านว่า ต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ทั้งมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ต้นฉบับเช็คอยู่ที่จำเลยทั้งสองจริงหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลจึงรับฟังสำเนาเช็คดังกล่าวประกอบคำเบิกความของโจทก์ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2950/2549

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิได้บังคับว่าหลักฐานการกู้ยืมต้องเป็นหลักฐานที่ผู้ยืมทำขึ้นเพื่อมอบแก่ ผู้ให้ยืมไว้ในความยึดถือ คำเบิกความของจำเลยในสำนวนคดีก่อนที่ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยจำเลยลงลาย มือชื่อไว้ ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างหนึ่งที่ได้ลงลายมือชื่อจำเลย ผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์นำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมในการฟ้องร้องได้


สำเนาคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนที่แนบมาท้าย ฟ้องถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่ามิได้กู้ยืมเงินถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงตามที่ โจทก์อ้างมาในคำฟ้องแล้วว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ นอกจากนี้จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถึงการมีอยู่ของต้นฉบับ ทั้งให้การรับว่าเป็นคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนจริง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยว่าจำเลย เคยเบิกความไว้ในคดีก่อนมีข้อความตามที่ปรากฏในสำเนาคำเบิกความที่โจทก์แนบ มาท้ายฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนด้วยต้นฉบับอีก เมื่อศาลชั้นต้นไม่จำต้องรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลย นำสืบ ย่อมไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนต่อกฎหมายได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2549

เอกสารที่จำเลยใช้ประกอบการถามค้านโจทก์ ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานโดยโจทก์เองก็เบิกความรับรองข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้น เป็นพยานหลักฐานที่ไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2549

ต้นฉบับสัญญาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ โจทก์จึงต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 122 และมาตรา 125 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 เมื่อโจทก์ไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง และมิใช่กรณีที่จะนำสำเนามาสืบแทนต้นฉบับได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 สำเนาสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานไม่ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331/2549

แม้โจทก์จะอ้างเอกสารซึ่งเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเฉพาะด้านหน้าของเช็คก็ตาม แต่โจทก์อ้างว่าได้มอบต้นฉบับเช็คคืนแก่จำเลยทั้งสองไปแล้ว จำเลยทั้งสองคงคัดค้านเพียงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนา มิได้คัดค้านว่า ต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ทั้งมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ต้นฉบับเช็คอยู่ที่จำเลยทั้งสองจริงหรือไม่ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลจึงรับฟังสำเนาเช็คดังกล่าวประกอบคำเบิกความของโจทก์ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548

ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติให้รับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานแต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟังสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับได้ ตามอนุมาตรา (1) ถึง (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง และสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบส่งของอยู่ที่จำเลย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้ โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548

ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติให้รับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานแต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟัง สำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับได้ ตามอนุมาตรา (1) ถึง (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมัน เพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจกท์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบ ส่งของท้ายฟ้อง และสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบส่งของอยู่ที่จำเลย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้ โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและ วัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยทั้งสี่มิได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าและ รับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตาม สำเนาใบสั่งของชั่วคราวและสำเนา ใบสั่งของชั่วคราวดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบสั่งของชั่วคราว ดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสี่ จึงเป็นกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาเอกสารใบส่งของชั่วคราวแทนต้นฉบับเอกสารดัง กล่าวได้ โดยโจทก์ไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2548

แม้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมพ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์ยังมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษาได้อีก หากโจทก์ขออนุญาตต่อศาลโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นนี้ พร้อมกับสำเนาเอกสารที่อ้างในบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวมา ด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจสั่งรับ บัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นพยาน จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2548

พยานเอกสารที่ส่งมาตามคำสั่งเรียกของศาลนั้น คงรับฟังได้แต่เพียงว่าผู้จัดส่งเป็นผู้ครอบครองเอกสารนั้นไว้ แต่การที่จะรับฟังได้ว่า เอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องนั้น ผู้อ้างเอกสารจะต้องนำสืบพิสูจน์ต่อศาลอีกชั้นหนึ่ง เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าไม่ต้องพิสูจน์ รายงานแพทย์ที่โรงพยาบาลที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกมาจากโรงพยาบาลนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไม่ต้องพิสูจน์ความแท้จริงและความถูกต้อง เมื่อโจทก์ฟ้องและนำสืบว่าโจทก์มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดีในขณะทำสัญญาประกันชีวิตและไม่เคยแจ้งแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำเลยมีภาระในการพิสูจน์ว่า รายงานแพทย์ดังกล่าวที่ระบุว่า โจทก์มีประวัติเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง นั้นแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยอ้างส่งรายงานแพทย์ลอยๆ โดยมิได้นำแพทย์ที่ซักประวัติโจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมาเบิกความยืนยันให้เห็นว่าเป็นรายงานแพทย์ที่แท้จริงและถูกต้อง ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า โจทก์ได้ให้รายละเอียดกับแพทย์ผู้ตรวจรักษาตามรายงานแพทย์เอกสารหมาย ป.ล.3 ไว้จริง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2547

เจ้าหนี้ยื่นคำแถลงชี้แจงพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ส่วนหนึ่งประกอบคำแถลงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2544 และยื่นเอกสารเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 6 มีนาคม 2544 ซึ่งผู้ทำแผนมีเวลาที่จะคัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องหรือนำพยานหลักฐานเสนอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อหักล้างข้ออ้างของเจ้าหนี้ แต่ผู้ทำแผนก็มิได้กระทำการดังกล่าวแต่อย่างใด จนกระทั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 เช่นนี้ จึงถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รวบรวมพยานหลักฐานสำหรับการพิสูจน์มูลหนี้ที่ขอรับชำระโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546

สำเนาเอกสารที่ผู้ส่งเอกสารส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสาร เมื่อจำเลยถูกโจทก์อ้างมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จึงต้องห้ามมิให้จำเลยคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2546

สำเนาคำแถลงและหน้าสำนวนเป็นเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อน เป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (1) จึงไม่ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดี


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2536

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ส่งสำเนาหนังสือบอกกล่าวของลูกหนี้ให้ ด.ชำระหนี้และคำให้การของด. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่เอกสารทั้งสองฉบับอยู่ในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ยกตัวอย่างไว้โดยเฉพาะผู้ร้องทั้งสี่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ด. สามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงของเอกสาร ผู้คัดค้านจึงอ้างเอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2533

จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับแต่เห็นว่าจำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน จึงอนุญาตให้ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยเข้าเบิกความเป็นพยาน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลรับฟังคำเบิกความของ ส. มาพิจารณาด้วยได้ เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่โจทก์ได้ส่งอ้างต่อศาลไว้แล้วในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกที่จำเลยสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และแท้จริงแห่งเอกสาร โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนี้ให้แก่จำเลย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2546

สำเนาตารางกรมธรรม์ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ทั้งจำเลยก็ได้ต่อสู้ในคำให้การไว้ว่าโจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์ แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาตารางกรมธรรม์แล้ว จึงรับฟังไม่ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2546

การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์คืนสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลย โดยจำเลยนำสัญญาดังกล่าวไปฉีกทำลายแล้วนั้น แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับเช็คพิพาทอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่ประการใด จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และหนี้เดิมจะระงับก็ต่อเมื่อจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย


การกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 นั้น หมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่เคยมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งเลย แต่เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วเกิดสูญหาย ผู้ให้กู้ย่อมนำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) เมื่อปรากฏว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์แล้ว และออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้สัญญากู้ยืมเงินจะถูกฉีกทำลายภายหลังออกเช็คก็หาทำให้ไม่เป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466 - 5467/2545

การรับฟังสำเนาพยานเอกสารที่โจทก์อ้างซึ่งต้นฉบับอยู่ที่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบคงปฏิเสธว่าไม่ทราบว่ามีอยู่ที่จำเลยหรือไม่ จึงรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาเอกสารนั้น และถือเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นเมื่อจำเลยไม่ทำการตรวจสอบหรือทักท้วงว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ศาลแรงงานกลางย่อมอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบและรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้โดยชอบ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2537

สัญญานายหน้าทำขึ้น 2 ฉบับ เมื่อเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย 1 ฉบับ กรณีย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่า-เสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง