Pages

การทิ้งฟ้อง และการถอนฟ้อง

มาตรา ๑๗๔  ในกรณีต่อไปนี้ให้ถือว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้อง คือ

(๑) ภายหลังที่ได้เสนอคำฟ้องแล้ว โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จำเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุแห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้นภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง

(๒) โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว

มาตรา ๑๗๕  ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล

ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่

(๑) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน

(๒) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้อง เนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย ให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น

มาตรา ๑๗๖  การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้ว อาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2559
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งสองส่วน รวมกันเป็นเงิน 1,750 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มา 900 บาท ถือว่าเป็นการชำระค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องของโจทก์ครบถ้วนแล้ว ที่จำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องดำเนินคดีในส่วนฟ้องตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองต่อไป และผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความได้ เพราะทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของโจทก์ใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 (เดิม) ประกอบมาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552
จำเลย ทั้งสองให้การทำนองเดียวกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2941 โดยทางราชการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย และแม้จะฟังว่าทับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ครอบครองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงต้องถือว่ามีข้อเถียงขัดแย้งกันเอง เนื่องเพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น..." ซึ่งคำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังที่จำเลยทั้งสองเถียงในฎีกา

แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียว กับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่าย หนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2551
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอที่ให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครอง ปรปักษ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องทิ้งคำร้องขอและจำหน่าย คดีแล้ว การยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอดังกล่าวจึงไม่มีผลที่จะให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564 - 565/2551
คดี ที่ศาลสั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน แม้ผู้คัดค้านยื่นฎีกาทั้งสองสำนวนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อัน ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้มาในฎีกาฉบับเดียวกัน ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นรายคดีตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว แต่ผู้คัดค้านไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2551
การ ถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้ รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้

การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึง ความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหาร สินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบใน เชิงคดีแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2551
ป. ผู้จัดการคนเดิมของนิติบุคคลอาคารชุดโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และเป็นผู้ลง ลายมือชื่อแต่งทนายความไว้ แต่เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมาเป็น ภ. แล้ว ภ. ย่อมมีอำนาจถอนอุทธรณ์และถอนทนายความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2550
ศาล ล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ย่อมไม่สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยได้อีก การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกศาลชั้นต้นชอบที่จะไม่รับคำฟ้อง แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยังไม่ปรากฏ ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงรับคำฟ้องไว้โดยผิดหลง ต่อมาเมื่อโจทก์แถลงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาใน คำบอกกล่าวขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ มีผลเท่ากับเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงที่เคยสั่งรับคำฟ้องแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนพิจารณาใดๆ อีกแต่ให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน คือ ค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้องคดีนี้ และค่าธรรมเนียมในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5816/2550
จำเลย ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาและคำสั่ง จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์คำพิพากษาให้แก่โจทก์อันถือว่าเป็นการทิ้ง อุทธรณ์ แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจจำหน่ายคดีจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ เมื่อคำแก้อุทธรณ์คำสั่งของโจทก์มีเนื้อหาที่เป็นการแก้อุทธรณ์คำพิพากษาศาล ชั้นต้นมาด้วย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งของจำเลยแล้วพิพากษาคดี ไปได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2550
การ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกโจทก์ให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มตามจำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง และศาลชั้นต้นส่งหมายนัดแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ทราบโดยชอบแล้ว โดยวิธีรับหมายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 แต่โจทก์มิได้ดำเนินการชำระค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วนภายในกำหนด ระยะเวลาดังกล่าวจึงถือว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. 132 (1) นั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งอุทธรณ์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับ อุทธรณ์นั่นเอง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับอุทธรณ์แล้วโจทก์จะร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์โดยขอให้ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2550
เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2545 จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มีข้อความประทับด้วยตรายางของศาลชั้นต้นว่า "ข้าพเจ้าจะมาฟังคำสั่งภายใน 7 วันนับแต่วันนี้ หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยมีทนายจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในวันที่ 17 ธันวาคม 2545 ซึ่งเป็นวันหลังจากที่จำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ตาม แต่การที่ทนายความจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นการแสดงเจตนายอมรับ ว่าจะมาฟังคำสั่งภายในวันดังกล่าวถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 4 ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว อย่างช้าวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เมื่อจำเลยที่ 4 เพิกเฉยไม่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 แต่อย่างไรก็ตามแม้จำเลยที่ 4 จะทิ้งฟ้องอุทธรณ์แล้ว ศาลก็ยังมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ สำหรับคดีนี้พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้อุทธรณ์วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ล่าช้าจน ล่วงเลยเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ต่อมาเจ้าหน้าที่ก็ได้ดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์จนกระทั่ง โจทก์ได้รับสำเนาอุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณียังไม่สมควรที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2550
จำเลย ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ และในอุทธรณ์ดังกล่าวมีข้อความประทับว่า "ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้น ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าวจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลย ที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าส่งหมายนัดและสำเนา อุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารอจำเลยที่ 1 แถลง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเองแต่ให้เจ้าหน้าที่ศาลไปนำส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า รอจำเลยที่ 1 แถลง โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 แถลงและไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบอีก ก็ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 มิได้แถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมระยะเวลาเกือบ 2 เดือน จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)

ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549
การ ถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะ เดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็น ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2549
ศาล ชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องและคำให้การไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ทั้งมิได้นั่งพิจารณาให้ครบองค์คณะไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี หากศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีใหม่ ย่อมมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถูกยกเลิกเพิกถอนไป ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นถือว่าเป็น อุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนเงินที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิด จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่จำเลยอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท อย่างคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงไม่ถูกต้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มและจำเลยได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ไม่ยอมชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2549
ผู้ ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีและอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่ความใน คดีเดิมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงหาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบ พยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะ ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548
ทนาย โจทก์แถลงว่าหากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเอง เพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาล แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ไม่มาศาลว่าเพราะผู้มีอำนาจ ตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้ จึงไม่ขอมาศาล ซึ่งหากมาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลง เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้ว ศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
เมื่อ โจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตาม ภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548
ใน อุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตรามีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วันนับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่ง ศาลเอง หากไม่มาให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราประทับข้อความดังกล่าวหา ใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบแต่ อย่างใดไม่

แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจ พิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ ความในคดี หาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลเท่านั้นไม่ เมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2548
ใน กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 202 หากจำเลยมิได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องไว้ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลให้รอสั่งในวันนัดและจำเลยที่ 1 แถลงคัดค้านการขอถอนฟ้องของโจทก์เป็นคนละกรณีกับการที่จะให้ศาลดำเนินการ พิจารณาคดีต่อไป ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามบทกฎหมายดัง กล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นอ้างเหตุในคำสั่งจำหน่ายคดีว่าโจทก์ทิ้งฟ้องนั้นเป็นการ ไม่ถูกต้องเพราะกรณีมิใช่เป็นเรื่องทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7600/2548
การ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องทำให้จำเลยต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ บังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทต่อไป คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงมีผลกระทบโดยตรงและอาจเป็นที่เสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้ มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แต่ฝ่ายเดียว หรือเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิฎีกาโดยไม่ชอบ

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมเป็นการล่วงเวลาที่จะ อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย จึงไม่มีคำฟ้องชั้นอุทธรณ์ที่จะถอนได้ ส่วนจำเลยมีข้อตกลงกับโจทก์อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก โจทก์ไม่มีสิทธิมาขอถอนคำฟ้องเดิมในชั้นอุทธรณ์