Pages

โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราว

มาตรา ๒๕๔  ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้


(๑) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย


(๒) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญาหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยหรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว  ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น


(๓) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น  ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(๔) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว


ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้


มาตรา ๒๕๕  ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอที่ยื่นไว้ตามมาตรา ๒๕๔ ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๑) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) จำเลยตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยหรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ หรือ

(ข) มีเหตุจำเป็นอื่นใดตามที่ศาลจะพิเคราะห์เห็นเป็นการยุติธรรมและสมควร

(๒) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๒) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) จำเลยตั้งใจจะกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง

(ข) โจทก์จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลย

(ค) ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยนั้นมีพฤติการณ์ว่าจะมีการกระทำให้เปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายหรือโอนไปยังผู้อื่น หรือ

(ง) มีเหตุตาม (๑) (ก) หรือ (ข)

(๓) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๓) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า

(ก) เป็นที่เกรงว่าจำเลยจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียน แก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ หรือ

(ข) มีเหตุตาม (๑) (ข)

(๔) ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๔) ต้องให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เพื่อที่จะประวิงหรือขัดขวางต่อการพิจารณาคดีหรือการบังคับตามคำบังคับใด ๆ ซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลย หรือเพื่อจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ

(ก) จำเลยซ่อนตัวเพื่อจะไม่รับหมายเรียกหรือคำสั่งของศาล

(ข) จำเลยได้ยักย้ายไปให้พ้นอำนาจศาลหรือซุกซ่อนเอกสารใด ๆ ซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณา หรือทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเป็นที่เกรงว่าจำเลยจะจำหน่ายหรือทำลายเอกสารหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น หรือ

(ค) ปรากฏตามกิริยาหรือตามวิธีที่จำเลยประกอบการงานหรือการค้าของตนว่าจำเลยจะหลีกหนีหรือพอเห็นได้ว่าจะหลีกหนีไปให้พ้นอำนาจศาล


มาตรา ๒๕๖  ในกรณีที่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๒๕๔ (๒) หรือ (๓) ถ้าศาลเห็นว่าหากให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อนจะไม่เสียหายแก่โจทก์ ก็ให้ศาลแจ้งกำหนดวันนั่งพิจารณาพร้อมทั้งส่งสำเนาคำขอให้แก่จำเลยโดยทางเจ้าพนักงานศาล จำเลยจะเสนอข้อคัดค้านของตนในการที่ศาลนั่งพิจารณาคำขอนั้นก็ได้


มาตรา ๒๕๗  ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ ได้ภายในขอบเขตหรือโดยมีเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควร


ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๒) ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบ


ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย ศาลจะกำหนดวิธีการโฆษณาตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันการฉ้อฉลก็ได้


ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จดทะเบียน หรือมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง ให้ศาลแจ้งคำสั่งนั้นให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทราบ และให้บุคคลดังกล่าวบันทึกคำสั่งของศาลไว้ในทะเบียน


ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก่อนที่ศาลจะออกหมายยึด หมายอายัด หมายห้ามชั่วคราวหมายจับ หรือคำสั่งใด ๆ ศาลจะสั่งให้ผู้ขอนำเงินหรือหาประกันตามจำนวนที่เห็นสมควรมาวางศาลเพื่อการชำระค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยอาจได้รับตามมาตรา ๒๖๓ ก็ได้


มาตรา ๒๕๘  คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๑) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันทีแล้วแจ้งคำสั่งนั้นให้จำเลยทราบโดยไม่ชักช้าแต่จะใช้บังคับบุคคลภายนอก ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนการแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบมิได้


คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๒) นั้น ให้บังคับจำเลยได้ทันที ถึงแม้ว่าจำเลยจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว


คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย นั้น ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที ถึงแม้ว่านายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะยังมิได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นก็ตาม เว้นแต่ศาลจะได้พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้คำสั่งมีผลบังคับเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว


คำสั่งศาลซึ่งอนุญาตตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) ที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องให้มีผลใช้บังคับแก่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งเช่นว่านั้นแล้ว


หมายจับจำเลยที่ศาลได้ออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๔) ให้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร การกักขังตามหมายจับเช่นว่านี้ ห้ามมิให้กระทำเกินหกเดือนนับแต่วันจับ


มาตรา ๒๕๘ ทวิ  การที่จำเลยได้ก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่พิพาท หรือทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลที่ห้ามโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่าย ซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๒) มีผลใช้บังคับแล้วนั้น หาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ ถึงแม้ว่าราคาแห่งทรัพย์สินนั้นจะเกินกว่าจำนวนหนี้และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี และจำเลยได้จำหน่ายทรัพย์สินเพียงส่วนที่เกินจำนวนนั้นก็ตาม


การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่คำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นหาอาจใช้ยันแก่โจทก์หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่ เว้นแต่ผู้รับโอนจะพิสูจน์ได้ว่าได้รับโอนโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนก่อนที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจะได้รับแจ้งคำสั่ง


การที่นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรับจดทะเบียน หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำสั่งของศาลซึ่งออกตามคำขอที่ได้ยื่นตามมาตรา ๒๕๔ (๓) แล้วนั้น ยังไม่มีผลใช้บังคับตามกฎหมายในระหว่างใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา


มาตรา ๒๕๙  ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๒ แห่งภาคนี้ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาด้วยโดยอนุโลม


มาตรา ๒๖๐  ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา


(๑) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือบางส่วนคำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่จำเลยชนะคดีนั้น ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่โจทก์จะได้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าตนประสงค์จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอของโจทก์ คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด ถ้าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกาแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

(๒) ถ้าคดีนั้นศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล


มาตรา ๒๖๑ จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัดหรือคำสั่ง ตามมาตรา ๒๕๔ (๑) (๒) หรือ (๓) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่ง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้ แต่ถ้าบุคคลภายนอกเช่นว่านั้นขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดหรือคัดค้านคำสั่งอายัดให้นำมาตรา ๒๘๘ หรือมาตรา ๓๑๒ แล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม


จำเลยซึ่งถูกศาลออกคำสั่งจับกุมตามมาตรา ๒๕๔ (๔) อาจมีคำขอต่อศาลให้เพิกถอนคำสั่งถอนหมาย หรือให้ปล่อยตัวไปโดยไม่มีเงื่อนไขหรือให้ปล่อยตัวไปชั่วคราวโดยมีหลักประกันตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรหรือไม่ก็ได้


ถ้าปรากฏว่าวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๒๕๔ นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอหรือมีคำสั่งอื่นใดตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ได้  ทั้งนี้ ศาลจะกำหนดให้ผู้ขอวางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้ตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่เห็นสมควรหรือจะกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้แต่ในกรณีที่เป็นการฟ้องเรียกเงิน ห้ามไม่ให้ศาลเรียกประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ฟ้องรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียม


มาตรา ๒๖๒ ถ้าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่ศาลอาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร หรือเมื่อจำเลยหรือบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๑ มีคำขอศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาจะมีคำสั่งแก้ไขหรือยกเลิกวิธีการเช่นว่านั้นเสียก็ได้


ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นและให้เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะมีคำสั่งคำขอเช่นว่านั้น


มาตรา ๒๖๓ ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอในวิธีการชั่วคราวตามลักษณะนี้ จำเลยซึ่งต้องถูกบังคับโดยวิธีการนั้นอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวนั้น ขอให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้ในกรณีดังต่อไปนี้


(๑) คดีนั้นศาลตัดสินใจให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้ และปรากฏว่าศาลมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ขอมีมูล โดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ

(๒) ไม่ว่าคดีนั้นศาลจะชี้ขาดตัดสินให้โจทก์ชนะหรือแพ้คดี ถ้าปรากฏว่าศาลมีคำสั่งโดยมีความเห็นหลงไปว่าวิธีการเช่นว่านี้มีเหตุผลเพียงพอ โดยความผิดหรือเลินเล่อของผู้ขอ


เมื่อได้รับคำขอตามวรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกการพิจารณาเป็นสำนวนต่างหากจากคดีเดิม และเมื่อศาลทำการไต่สวนแล้วเห็นว่าคำขอนั้นรับฟังได้ก็ให้มีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยได้ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร ถ้าศาลที่มีคำสั่งตามวิธีการชั่วคราวเป็นศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้ว ให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งคำขอนั้น ถ้าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ศาลมีอำนาจบังคับโจทก์เสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ให้งดการบังคับคดีไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์แพ้คดี


คำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2562

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีในส่วนที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำให้การ (ที่ถูก คำร้อง) ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งอ้างว่าผู้ซื้อทรัพย์ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคดีสาขาของคดีดังกล่าว ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2561

การที่จำเลยเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องในข้อกระทงความบรรดาที่กฎหมายบังคับหรือให้อำนาจให้เอาลงไว้ในทะเบียนเพื่อพิจารณาและลงมติในเรื่องกิจการของบริษัทจึงชอบแล้วในเบื้องต้น โจทก์จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยอ้างเพียงเหตุไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่เป็นมติที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ส่วนมติในการประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งนี้จะซ้ำซ้อนกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อนหรือไม่อย่างไร ก็ไม่ใช่สาระสำคัญเพราะต้องถือเอามติครั้งล่าสุดที่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทมาใช้บังคับ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว คำฟ้องโจทก์ที่อ้างเหตุข้างต้นจึงไม่มีมูล และไม่มีเหตุที่จะนำวิธีคุ้มครองตามคำร้องของโจทก์มาใช้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2560

ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องในระหว่างการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว โดยจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี เป็นการใช้สิทธิขอถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำต้องฟังจำเลยที่ 2 ก่อน แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำคัดค้านคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ แต่คำคัดค้านมิใช่คำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7649/2560

จำเลยทั้งสองตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทไปให้พ้นจากอำนาจศาลหรือขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำบังคับใดๆ หรืออาจจะออกคำบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสอง คำฟ้องโจทก์จึงมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยโต้แย้งว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น ที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสาม (เดิม) กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2559

ประเด็นหรือข้อเท็จจริงที่โจทก์จะยกขึ้นอุทธรณ์ได้นั้น จะต้องเป็นประเด็นหรือข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างแห่งข้อหาในคำฟ้อง จะเพียงแต่ยกขึ้นกล่าวอ้างในคำคัดค้านหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ถูกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หลอกลวงให้โอนที่ดินพิพาทให้ โจทก์จึงไม่อาจยกประเด็นหรือข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้


ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการสละมรดกหรือไม่ ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งหากศาลได้วินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็จะทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดการพิจารณาคดีและยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 เมื่อศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะงดการพิจารณาคดีได้ดังกล่าว ก็ย่อมที่จะทำการพิพากษาคดีไปได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษารวมทั้งคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2559

ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์เพิ่งทราบหลังจากการชี้สองสถาน จึงขอแก้ไขคำฟ้องตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ซื้อที่นาพิพาทอีกทอดหนึ่งให้โอนขายแก่โจทก์ด้วยเห็นได้ชัดว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นหลังวันชี้สองสถาน โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน


ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ขายที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน โจทก์จึงฟ้องขอบังคับซื้อที่ดินนาพิพาทจากจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้จดทะเบียนโอนขายที่นาพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้แก้ไขคำฟ้องเพื่อบังคับจำเลยที่ 1 ตามข้อเท็จจริงที่เพิ่งเกิดขึ้นด้วย เป็นการแก้ไขคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (2) มีความเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม โจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182


ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวกล่าวว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ยอมส่งโฉนดที่พิพาทตามคำสั่งศาลเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน เพราะจำเลยทั้งสามตั้งใจโอนที่นาพิพาทเพื่อไม่ให้โจทก์บังคับคดี ต่อมาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1กำลังบอกขายที่นาพิพาทเพื่อให้พ้นจากการบังคับคดีของโจทก์ จึงขอให้ศาลอายัดที่นาก่อนศาลมีคำพิพากษา คำร้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอนขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) แม้โจทก์จะใช้คำว่าขอให้อายัด ก็แปลได้ว่าเป็นการขอให้ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนนั่นเอง เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โอนที่นาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ในระหว่างการพิจารณา และจำเลยที่ 1กำลังบอกขายให้บุคคลอื่นต่อไป พอชี้ให้เห็นความตั้งใจของจำเลยทั้งสามว่าจะจำหน่ายจ่ายโอนเพื่อขัดขวางแก่การบังคับตามคำบังคับคดีซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับซื้อที่นาพิพาท หากจำเลยที่ 1 จะขายที่นาพิพาทต้องแจ้งให้โจทก์ทราบตามสิทธิที่จะซื้อก่อน ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 และหากขายที่นาพิพาทไปแล้วผู้ซื้อก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามมาตรา 28 ซึ่งโจทก์ได้รับความคุ้มครองอยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าปล่อยให้จำเลยโอนที่นาพิพาทไปยังบุคคลภายนอก แม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้ได้มาซึ่งที่นาพิพาท โจทก์ต้องไปดำเนินการเพื่อบังคับซื้อจากบุคคลภายนอกผู้รับโอนตามมาตรา 54 ใหม่ ทำให้เกิดภาระแก่โจทก์ไม่มีที่สิ้นสุด โจทก์จึงมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของโจทก์ไว้ไต่สวน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3883 - 3884/2559

ผู้ร้องทั้งหกได้เสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ผู้ร้องทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินและบ้านพิพาทที่ได้ร่วมกันเช่าจากผู้คัดค้านที่ 2 ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันเข้าไปในที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในความครอบครองของผู้ร้องทั้งหก เพื่อถือการครอบครองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องทั้งหกโดยปกติสุข และได้เปลี่ยนกุญแจบ้าน ประตูห้องนอน ประตูรั้วบ้าน ตัดน้ำ ตัดไฟ ขับไล่บริวารของผู้ร้องทั้งหกออกจากบ้าน ซึ่งไม่มีสิทธิกระทำได้โดยขอให้อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งขับไล่ผู้คัดค้านทั้งสองและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท ให้ส่งมอบที่ดินและบ้านในสภาพคงเดิมและให้ผู้คัดค้านทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายและผู้ร้องทั้งหกได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลก่อนที่อนุญาโตตุลาการจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาด โดยขอให้มีคำสั่งห้ามผู้คัดค้านทั้งสองเข้าไปในที่ดินและบ้านพิพาทอันเป็นการรบกวนการครอบครองโดยปกติสุขของผู้ร้องทั้งหก ให้ดำเนินการแก้ไข เพื่อให้ผู้ร้องทั้งหกสามารถเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทได้เป็นการชั่วคราวก่อนที่อนุญาโตตุลาการจะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ร้องทั้งหกอาจได้รับต่อไป เนื่องจากการกระทำของผู้คัดค้านทั้งสองจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) เมื่อข้อเรียกร้องของผู้ร้องทั้งหกมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอ ผู้ร้องทั้งหกจึงร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้


ปัญหาว่าการจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทชอบหรือไม่ เป็นกรณีมีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองกับผู้ร้องทั้งหก ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าที่ดิน ข้อ 15.5 ระบุว่าในกรณีมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาหรือเกิดขึ้นจากสัญญานี้ ไม่สามารถตกลงกันได้โดยคู่สัญญาด้วยกัน คู่สัญญาตกลงเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม ผู้คัดค้านทั้งสองชอบที่จะเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรมตามข้อสัญญา ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาแต่อย่างใด


ปัญหาว่ามีเหตุสมควรให้เพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทไว้ชั่วคราวก่อน มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ 2 หรือไม่ คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ในการพิจารณาตามคำร้องขอต้องเป็นที่พอใจของศาลว่า ผู้ร้องทั้งหกจะดำเนินการให้มีการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนการจดทะเบียน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) (ก) แต่ตามคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเหตุในคำร้องขอแต่เพียงว่า การจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทไม่ชอบ โดยไม่ปรากฏเหตุว่าผู้ร้องทั้งหกจะไปดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนหรือเพิกถอนการจดทะเบียนในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ไม่มีเหตุสมควรที่จะใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14002/2558

แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินจำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่ในวันที่โจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 4 อีก ได้แก่ ที่ดินโฉนดเลขที่ 71474 ดังกล่าวที่พิพาท สืบเนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้สิ้นสุดลงแล้ว หากโจทก์ไม่ร้องขอให้ยึดทรัพย์สินที่พิพาททันที แต่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์สินจำนองเสร็จก่อนถึงจะกลับมายึดทรัพย์สินที่พิพาทได้ก็จะเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา เป็นเหตุให้โจทก์อาจเสียสิทธิในการบังคับคดี ทั้ง ๆ ที่การขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองยังไม่เสร็จสิ้นนั้น มิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์แต่อย่างใด อีกประการหนึ่งจากสภาพราคาทรัพย์สินที่จำนองเป็นที่เห็นได้ชัดว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์สินที่พิพาทไว้ก่อน แต่ยังไม่นำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำทรัพย์สินพิพาทออกขายก็ไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธินำยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติมได้ ส่วนที่โจทก์ขอให้ศาลฎีกาคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้จำเลยทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจนกว่าศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในท้ายฎีกานั้น เห็นว่า คดีอยู่ในชั้นบังคับคดี กรณีคำขอดังกล่าวของโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2558

ตามความในมาตรา 23 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 บัญญัติว่า "การดำเนินคดีใดๆ อันเนื่องมาจากข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามหมวดนี้ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ในกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. หรือ ป.วิ.อ. แล้วแต่กรณี ให้ศาลเรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนด ประกาศหรือคำสั่ง หรือกระทำการนั้น มาเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง รายงานหรือแสดงเหตุผลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวดังกล่าวด้วย" จึงเห็นได้ว่า ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาคำร้องของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่สามารถดำเนินการเกี่ยวกับคดีการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้ โดยให้เรียกเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งออกข้อกำหนดมาชี้แจงข้อเท็จจริง รายงานหรือแสดงเหตุผลประกอบการสั่งได้ โดยไม่จำต้องสั่งรับคำร้องของผู้ร้องก่อนก็ได้ ทั้งยังสามารถที่จะเรียกไต่สวนพยานผู้ร้องฝ่ายเดียวเพื่อประกอบการพิจารณาได้โดยไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงฝ่ายอื่นก็ได้ เพราะเป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 แล้ว นอกจากนี้ยังให้อำนาจศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาเพื่อใช้มาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. ทั้งนี้ในมาตรา 254 (2) แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (3)


คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อบังคับให้ผู้คัดค้านทั้งสองกับกลุ่มบุคคล 3 คน และพวกที่เข้าร่วมชุมนุมทั้งหมดออกไปจากสถานที่ตามคำขอในคำร้อง ดังนั้น การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. เพื่อบังคับตามคำร้องดังกล่าวข้างต้นโดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 23 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นเรียกไต่สวนและเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่อ้างในคำร้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งว่ากรณีไม่มีความจำเป็นจะต้องมาใช้สิทธิทางศาล แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจวินิจฉัยในเนื้อหาหรือประเด็นแห่งคดีตามคำร้อง ตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) กรณีดังกล่าวมิใช่เพียงการไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2557

คำสั่งศาลชั้นต้นที่ห้ามจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมใด ๆ อันเป็นการจำหน่าย จ่าย โอนก่อให้เกิดภาระติดพันซึ่งที่ดินพิพาทและให้เจ้าพนักงานที่ดินระงับการจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น เป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) (3) ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และคำพิพากษาที่ชี้ขาดตัดสินคดีนั้นมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลคดีนี้คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากไม่สามารถจดทะเบียนโอนได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแทน สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับตามคำพิพากษาแก่จำเลยทั้งสามย่อมเป็นสิทธิของบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และสิทธิเช่นว่านี้มีลักษณะเป็นทรัพยสิทธิที่ไม่สูญสิ้นไปเพราะเหตุแห่งการไม่ใช้สิทธินั้น แม้โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีจนล่วงพ้นกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ก็ตาม คำสั่งวิธีการชั่วคราวของศาลก็หาได้หมดความจำเป็นแก่โจทก์เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใดไม่ จึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไปเพื่อการบังคับตามคำพิพากษาตามสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2556

การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองขอให้ศาลมีคำสั่งเนื่องจากจำเลยได้กระทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายและเดือดร้อนระหว่างการพิจารณาคดี คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิด อ้างว่าจำเลยทั้งสองใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เสียหายและเดือดร้อนเกินสมควร เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถใช้ที่สาธารณะเพื่อเป็นทางเชื่อมออกสู่ถนนสายอยุธยา-วังน้อยได้ตามที่โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ตราบใดที่ไม้เสาเข็มที่จำเลยทั้งสองนำมาปลูกเป็นเพิงพักบนที่ดินพิพาทยังคงมีอยู่ ย่อมถือได้ว่ายังมีการกระทำซ้ำ หรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้อง จึงรับฟังได้ว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผลเพียงพอที่โจทก์ทั้งสองจะขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17438/2555

ในเรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจึงหมดความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ต่อไป


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11455/2555

คดีนี้ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 และตามคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดชั่วคราวจึงมีผลใช้บังคับต่อไปเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) แต่โจทก์เพิ่งมายื่นขอหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 เมื่อไม่ปรากฏเหตุจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น หมายอายัดตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ในระหว่างพิจารณาย่อมยกเลิกไป การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่ผู้ร้องและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง เท่ากับขอให้ดำเนินการตามคำสั่งอายัดชั่วคราวที่ยกเลิกไปแล้ว จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่จะได้รับการวินิจฉัยอีกต่อไป


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6891/2555

ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดพันธบัตรของจำเลยไว้ชั่วคราว ก่อนพิพากษา ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาหากโจทก์ประสงค์ให้คำสั่งวิธีการชั่วคราวนั้นมีผลใช้บังคับต่อไป โจทก์จะต้องยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษานั้นและมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปหรือไม่ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอดังที่กล่าวข้างต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจึงเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2554

คดีสืบเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทที่ทำไว้แก่โจทก์เพื่อขอรับเอกสารไปรับสินค้ารถยนต์ที่สั่งซื้อไว้ โดยระหว่างพิจารณาโจทก์มีคำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ห้ามจำเลยทั้งสองโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายรถยนต์พิพาท และให้นายทะเบียนกรมการขนส่งทางบกระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนรถยนต์คันพิพาทไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลทรัพย์สินฯ มีคำพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และคดีถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ในชั้นบังคับคดี ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นผู้ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยถูกต้อง ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าว กรณีเช่นนี้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบกับ ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) บัญญัติให้คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังมีผลใช้บังคับต่อไปก็ตาม แต่ก็ให้ใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนแก่โจทก์ ทั้งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าว เมื่อศาลทรัพย์สินฯ พิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธีการชั่วคราวที่ห้ามจำเลยทั้งสองโอนขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายรถยนต์ดังกล่าว เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษานี้อีกแต่อย่างใด คำสั่งในวิธีการชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไปในตัวไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวภายหลังศาลมีคำพิพากษาได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260 - 3261/2554

เมื่อการวินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะผู้คัดค้านเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลที่อยู่ในกิจการร่วมค้ากับผู้ร้องหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งในชั้นอนุญาโตตุลาการ ข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาเป็นโมฆะหรือไม่ จึงยังไม่ยุติ ผู้ร้องชอบที่จะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามเงื่อนไขในสัญญาได้ทั้งการฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงต่อผู้ร้อง อันเกี่ยวเนื่องจากผู้คัดค้านสำคัญผิดในตัวบุคคลของคู่สัญญา ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาลงโทษผู้ใด ข้อเท็จจริงเรื่องความสำคัญผิดในตัวบุคคลเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจึงยังไม่ยุติอันจะพึงถือว่าสัญญาเป็นโมฆะผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าผู้คัดค้านเรียกร้องให้กลุ่มธนาคารทั้งห้าชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้ผู้คัดค้านแล้ว ซึ่งเป็นการกระทำต่อไปในทำนองว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งจัดให้มีวิธีคุ้มครองป้องกันการกระทบสิทธิของผู้ร้องก่อนเกิดความเสียหายโดยห้ามชั่วคราวไม่ให้ผู้คัดค้านเรียกร้องเงินตามหนังสือค้ำประกันจากธนาคารไว้จนกว่าอนุญาโตตุลาการจะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ได้โดยไม่จำต้องเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกระทำการใดๆ อันเป็นการก่อความเสียหายแก่ผู้ร้องโดยตรง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13124/2553

การขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) จะต้องเป็นการห้ามมิให้กระทำซ้ำซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หากกรณีไม่ใช่เรื่องดังกล่าว จะต้องเป็นการห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้าย หรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว


คำร้องของโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 พยายามจะให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขอจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อกระทรวงมหาดไทย หากดำเนินการจนกรรมสิทธิ์ตกเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับความเสียหายยากที่จะดำเนินการให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ แม้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนจำเลยที่ 1 คำร้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุดังกล่าวข้างต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้พยายามโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขอคุ้มครองชั่วคราวได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2552

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งปันทรัพย์มรดกของ จ. ให้แก่โจทก์ตามพินัยกรรม โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินและหุ้นบริษัทงานทวีพี่น้อง จำกัด ซึ่งหุ้นดังกล่าวเจ้ามรดกได้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย ต่อมาจำเลยที่ 2 ประสงค์ขอโอนหุ้นให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมของจำเลยที่ 1 และที่ประชุมบริษัทมีมติอนุมัติโจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาล คำร้องขอของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างมาในคำร้องแล้วว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะดำเนินการให้มีการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทให้แก่ทายาทจำเลยที่ 1 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทายาทของจำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินที่พิพาทให้แก่บุคคลภายนอกต่อไป การบังคับคดีของโจทก์จะเกิดความยุ่งยากซับซ้อน หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้างย่อมมีเหตุผลเพียงพอ ที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 255 (3) (ก) การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ไต่สวนให้ได้ความจริงว่าเป็นเช่นไรก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5090/2552

คดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินอันเป็นคดีประธานศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คดีถึงที่สุดไปแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อายัดเงินที่ผู้คัดค้านถึงกำหนดชำระแก่จำเลยไว้ชั่วคราว จึงยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) เท่านั้น เมื่อโจทก์ขอออกหมายบังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ของผู้คัดค้านออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์แล้ว โดยไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้แย้งการบังคับคดีดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาว่าผู้คัดค้านมีหนี้หรือเงินอันใดที่ต้องชำระให้แก่จำเลยตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่ ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2551

ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท ปรากฏว่าในวันเดียวกันเจ้าพนักงานที่ดินได้รับหมายคุ้มครองชั่วคราวตามคำ สั่งของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่คุ้มครองชั่วคราวนี้มีผลใช้บังคับในวัน ดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 วรรคสาม ดังนั้นการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำขึ้นภายหลังที่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่อาจใช้ ยันต่อโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547

โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญา ใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541

คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมี เหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็น อันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549

โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัด ค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา


ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้าน แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549

โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้าที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือจากผู้คัด ค้าน โดยโจทก์ได้ยื่นคำแถลงว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2540 จำเลยได้ทดลองเดินเครื่องจักรให้ผู้คัดค้านตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้วและ ขอให้ศาลแจ้งให้ผู้คัดค้านส่งเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือตามหมายอายัดมายัง ศาล ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาในวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ดำเนินการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้ คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983 - 3985/2548

การกำหนดเงื่อนไขในวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ไม่มีกฎหมายจำกัดให้ศาลกำหนดเงื่อนไขได้เฉพาะตามที่คู่ความร้องขอ เมื่อศาลเห็นว่าวิธีการชั่วคราวเดิมก่อให้เกิดปัญหาแก่คู่ความในการปฏิบัติ ตามคำสั่งของศาล รวมทั้งมีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวจนทำให้เป็นปัญหาในการ พิจารณาเนื้อหาแห่งคดี ศาลชอบที่จะแก้ไขโดยกำหนดวิธีการชั่วคราวใหม่ได้ตามเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ แก่คู่ความฝ่ายที่จะชนะคดีต่อไป โดยไม่จำต้องรอให้คู่ความยื่นคำร้องขอเข้ามาอีกหรือต้องทำการไต่สวนใหม่ ส่วนที่ศาลอายัดข้อสันนิษฐานของกฎหมายมากำหนดให้แต่ละฝ่ายต่างเข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ตนมีชื่อเป็นผู้ครอบครองในหนังสือสำคัญสำหรับ ที่ดินตามคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่แก้ไขใหม่นั้นก็เป็นเพียงการยก เหตุผลประกอบดุลพินิจเพื่อให้เห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะกำหนดเงื่อนไขให้เป็น ไปเช่นนั้น มิได้เป็นการชี้ขาดตัดสินคดี จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และที่ศาลกำหนดเงื่อนไขในวิธีการชั่วคราวที่แก้ไขใหม่ให้คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งเข้าทำประโยชน์ในสวนยางพาราพิพาทแทนฝ่ายที่ผิดเงื่อนไขการวางเงินหรือ ขัดขวางการทำประโยชน์โดยไม่ต้องนำรายได้ส่วนที่เข้าทำประโยชน์แทนการมาวาง ศาล ก็เป็นไปเพื่อให้ข้อกำหนดที่ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายนำเงินมาวางศาลสัมฤทธิ์ผล อันเป็นประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดี จึงเป็นการชอบที่จะกำหนดเงื่อนไขนี้ไว้ได้ คำสั่งของศาลที่กำหนดวิธีการชั่วคราวขึ้นใหม่นี้จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคสามและมาตรา 262 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546

โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่า ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น ขอให้ห้ามจำเลยปิดกั้นหรือทำลายทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ ที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยขอให้มีคำ สั่งห้ามจำเลยปิดกั้นและทำลายทางพิพาทและให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นการชั่ว คราวก่อนพิพากษา อันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้อง จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำ สั่งเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2)เมื่อศาลชั้นต้นพอใจว่า คำฟ้องมีมูลและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์ขอให้ยกคำร้องของโจทก์ จำเลยจะต้องโต้เถียงว่า วิธีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้หรือมีเหตุอัน สมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม การที่จำเลยอุทธรณ์ยกเหตุโต้เถียงเพียงว่า ทางพิพาทไม่เคยมีมาก่อน หรือทางพิพาทกว้างประมาณ 3 วา และยาวประมาณ 15 วา นั้น เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาศาล อุทธรณ์จึงไม่อาจเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542

ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ใช้สิทธิ ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในเรื่อง วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีข้อกำหนด ให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสอง เป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในลักษณะดังกล่าว ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์รู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ ในภารจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริต และยื่นคำขอคุ้มครอง ชั่วคราวต่อศาลจนทำให้จำเลยเสียหาย ต้องรื้อรั้วและยอมให้ บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์เป็นความผิดของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้อง รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263(1)แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยังไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้น จะตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยังไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6475/2551

ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะบังคับคดีได้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาท ปรากฏว่าในวันเดียวกันเจ้าพนักงานที่ดินได้รับหมายคุ้มครองชั่วคราวตามคำ สั่งของศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่คุ้มครองชั่วคราวนี้มีผลใช้บังคับในวัน ดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 วรรคสาม ดังนั้นการโอนขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำขึ้นภายหลังที่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่อาจใช้ ยันต่อโจทก์ได้ แม้จำเลยที่ 2 จะได้รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ตาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ทวิ วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2551

จำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนประสานงานเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยในการได้รับจ้างงานใน โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต่อมาจำเลยได้เข้าเป็นคู่สัญญากับกิจการร่วมค้าไอทีโอโดยเป็นผลจากการดำเนิน การของโจทก์ตามสัญญาตั้งตัวแทน โจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเป็นมูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวที่จะฟ้องร้องจำเลยได้ คดีของโจทก์จึงมีมูลที่จะฟ้องร้อง ส่วนปัญหาว่า โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาตั้งตัวแทน หรือจำเลยได้รับการจ้างเหมาช่วงงานดังกล่าวโดยไม่ได้เป็นผลจากการปฏิบัติตาม สัญญาของโจทก์หรือไม่ ยังเป็นที่โต้เถียงกันซึ่งต้องนำสืบพยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาต่อไป แม้จำเลยไม่ตั้งใจยักย้ายทรัพย์สินของตนไปให้พ้นจากอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) แต่การที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยแม้เคยมีก็ปิดสำนักงานสาขาไปแล้วเพราะใบอนุญาต ประกอบกิจการของคนต่างด้าวไม่ถูกต้อง และการที่จำเลยไม่มีทรัพย์สินใดในประเทศไทย ทั้งจำเลยไม่มีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทยพอที่โจทก์จะบังคับคดีได้ ย่อมเป็นเหตุจำเป็นอื่นที่เป็นการยุติธรรมและสมควรที่จะคุ้มครองประโยชน์ของ โจทก์ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 255 (1) (ข) จึงนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ในการสั่งให้อายัดเงินค่าจ้าง ที่กิจการร่วมค้าไอทีโอบุคคลภายนอกจะชำระให้แก่จำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2550

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างออกจากที่ดินพิพาท และคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพไม่มีสิ่งปลูกสร้างและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท การที่จำเลยเข้าไปดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทหลังจากที่โจทก์ยื่น คำฟ้องแล้ว ย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดที่ถูกฟ้องร้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ หากศาลพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี กรณีจึงมีหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยและบริวารดำเนินการก่อสร้างอาคารในที่ดิน พิพาทจนกว่าจะถึงที่สุดได้


ตามคำขอของโจทก์มีเหตุสมควรและเพียงพอทีจะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อน พิพากษามาใช้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจำเลยก็มีสิทธิที่จะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 263 เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมได้รับประโยชน์จากข้อ สันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำขอของโจทก์โดยไม่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาประกันมา วางตามมาตรา 257 วรรคท้าย จึงชอบแล้ว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2550

ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างใดของลูกหนี้ตามคำ พิพากษาไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นซ้ำอีก แต่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเช่นว่านี้มีอำนาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล ที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่าย ทรัพย์สินนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" จากบทบัญญัติดังกล่าวยังมีกำหนดเงื่อนเวลาไว้ด้วย ตามมาตรา 290 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติว่า "ในกรณีที่อายัดทรัพย์สิน ให้ยื่นคำขอเสียก่อนสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่ง ทรัพย์สินตามที่อายัดไว้"


คดีนี้โจทก์ชนะคดีและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของจำเลยซึ่ง เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อชำระหนี้ได้ เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัดไปยังศาลแพ่งนั้น เป็นเงินที่บุคคลภายนอกนำส่งไว้เนื่องจากมีคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนมีคำ พิพากษาอันเป็นวิธีการชั่วคราวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 266 มิใช่ทรัพย์ที่ถูกอายัดไว้จากการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น สิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ อยู่ในขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออายัด การอายัดทรัพย์ในคดีนี้จึงเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยอายัดสิทธิเรียก ร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่มีต่อมหาวิทยาลัย อ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั่นเอง ส่วนศาลแพ่งนั้นเป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรักษาทรัพย์ที่ขออายัดไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับเงินตามที่อายัดไว้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งถือได้ว่ามีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2542 จึงล่วงระยะเวลาสิบสี่วันนับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ผู้ร้องจึงไม่สามารถร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากจำนวนเงินดังกล่าวได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2550

การอายัดเป็นการที่ศาลมีคำสั่งห้ามลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้งดเว้นการจำหน่าย สิทธิเรียกร้องและห้ามบุคคลภายนอกมิให้ชำระเงินหรือส่งมอบสิ่งของให้แก่ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่ให้ชำระหรือส่งมอบแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แม้โจทก์จะใช้คำว่า อายัด ผิดพลาดก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ศาลย่อมพิจารณาจากลักษณะอันแท้จริงตามกฎหมายของกรณีนั้นๆ ว่าที่ถูกต้องแล้วเป็นการยึดหรืออายัด


โจทก์ชำระเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 43 ซึ่งเป็นการชำระเงินค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งต้องห้ามมิให้ยึดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ตามกฎหมายย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 285 (4) ซึ่งนำมาใช้บังคับแก่วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาด้วยโดยอนุโลมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 259 โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยึดเงินดังกล่าวก่อนพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 254 ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805/2549

คดีก่อนโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ขอให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง น. เป็นคดีอุทลุม ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับ ธ. โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินพิพาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีนี้ โจทก์ทั้งสามฟ้อง กรมที่ดินจำเลยที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 3 ขอให้จดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) กรณียังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวมา ใช้ในคดีนี้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาโดยนำทรัพย์สินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาต การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้ศาลมีคำสั่ง ห้ามจำเลยมิให้นำทรัพย์สินของโจทก์ออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงและให้จำเลยรื้อ ถอนสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่า ช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหาย จากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยต่อไปจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7024/2546

ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องมีมูลและมีเหตุผล เพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2), 255 แล้วมีคำสั่งห้ามจำเลยปิดกั้น ทำลาย หรือห้ามมิให้โจทก์ใช้ทางพิพาทและให้ทำทางพิพาทให้มีสภาพเดิมกว้างยาวตามคำ ขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยจะอุทธรณ์ขอให้กลับคำสั่งดังกล่าวจะต้องโต้เถียงว่าวิธีการที่ศาล ชั้นต้นกำหนดไว้ตามมาตรา 254 (2) นั้น ไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวมาใช้ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่ศาลจะมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 261 วรรคสาม ส่วนปัญหาว่าทางพิพาทกว้างยาวเพียงใดในชั้นพิจารณา ไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาแต่ อย่างใด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2545

โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 และ จ. ตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 ได้ตกลงซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างรวม 272 โฉนดเนื้อที่ 49 ไร่ ให้แก่โจทก์ในราคา 90 ล้านบาท โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางส่วนและเข้าครอบครองเป็นเจ้าของ ทรัพย์สิน ต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 สมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 21 แสดงเจตนาลวงบุคคลภายนอกทำนิติกรรมซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทั้งหมดไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 21 จึงเห็นได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาททั้งหมดให้แก่บุคคลอื่นในระหว่างพิจารณาย่อมจะทำให้โจทก์ได้ รับความเสียหาย เพราะแม้โจทก์ชนะคดีก็ไม่อาจโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้ กรณีนับว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรเพียงพอที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) ประกอบมาตรา 255(2) ห้ามมิให้จำเลยที่ 21 โอนที่ดินพิพาทแก่บุคคลอื่นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงได้ แต่เมื่อได้ความว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวตั้งอยู่ในย่านที่เจริญสิ่งปลูกสร้าง ในที่ดินเป็นบ้านจัดสรร มีตลาดพาณิชย์ มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้องมีราคาเกินกว่า 500 ล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์วางเงินประกันค่าเสียหายเพียง 1 แสนบาทจึงไม่เหมาะสม เพราะจำเลยที่ 21 ก็ต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท และฟ้องโจทก์เป็นเท็จ ซึ่งหากทางพิจารณาได้ความในภายหลังว่าโจทก์นำคดีมาสู่ศาลโดยไม่มีมูลแล้ว เงินจำนวนดังกล่าวย่อมไม่อาจชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่คู่ความอีกฝ่าย หนึ่งได้ จึงเห็นสมควรให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 20 ล้านบาท