Pages

ข้อเขียนความรู้ชั้นเนติบัณฑิต ภาคสอง สมัยที่ 56 ปี 46

ข้อ 1. 

นายสิงห์เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทไทยเจริญ จำกัด จำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญากู้ และนายเดชเป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนนายเดชจำเลยที่ 2 ให้การว่าหนี้ตามสัญญากู้ระงับ แล้ว จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น 

(ก) นายเดชจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การไม่เข้ามาต่อสู้คดีทั้งที่หนี้ตามสัญญา กู้ระงับแล้ว ทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย เพราะเป็นผู้มีส่วนได้เสียใน ทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ 1 ขอเข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยที่ 1 

(ข) นายชัยยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในคดีเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 มีความจำเป็น เพื่อ ยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 จึงร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีด้วย 

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของนายเดชจำเลยที่ 2 ใน (ก) และนายชัย ใน (ข) ได้หรือไม่ 

ธงคำตอบ 

(ก) การเข้ามาเป็นคู่ความโดยการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 นั้น ไม่ ว่าจะเป็นการร้องขอเข้ามาเองด้วยความสมัครใจ หรือด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี ผู้ที่จะเข้ามานั้นต้องเป็น บุคคลภายนอกคดี นายเดชจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว ไม่ใช่บุคคลภายนอกคดี จึงไม่อาจร้องสอดเข้ามาต่อสู้ คดีแทนจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 57 ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 7709/2544) 

(ข) คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญากู้ อันเป็นกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากนายชัยผู้ร้อง สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ นายชัยผู้ ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความด้วยการร้องสอดตามมาตรา 57 (1) (คำพิพากษาฎีกาที่ 631/2545) ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของนายเดชจำเลยที่ 2 ใน (ก) และนายชัย ใน (ข) ไม่ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7709/2544
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่าเฉพาะแต่บุคคลภายนอกที่มิใช่คู่ความเท่านั้นที่จะเข้ามาในคดีด้วยการร้องสอด แต่จำเลยที่ 3 เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว แม้จำเลยที่ 3 อ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ละเลยไม่ต่อสู้คดีกับโจทก์ จำเลยที่ 3ต้องการเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม จำเลยที่ 3 ก็ไม่ใช่บุคคลภายนอก ไม่อาจร้องสอดเข้ามาในคดีตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง(1) ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2545
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน อันเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ร้องที่เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 สิทธิของผู้ร้องมีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 1 เพียงใดก็คงมีอยู่อย่างนั้น ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) อีกทั้งผู้ร้องก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความในคดีอันจะใช้สิทธิต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกแต่อย่างใด 

ข้อ 2.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 339 ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนโดยไม่สุจริตอันเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบ ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารกรุงทอง จำกัด ซึ่งรับจำนองโดยไม่ สุจริต ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 339 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และเพิกถอนสัญญา จำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับธนาคารกรุงทอง จำกัด จำเลยที่ 2 ให้การว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาททำโดยสุจริตและมี ค่าตอบแทน ขอให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ไม่นำค่าธรรมเนียมในการส่งหมายมาวางภายในเวลาที่ศาล กำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 1 จากสารบบความ และพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 

ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม ่ 

ธงคำตอบ 

คำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ได้ กระทำโดยการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 กับเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ระหว่างจำเลยที่ 2 กับธนาคารกรุงทอง จำกัด โจทก์จะต้องฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิติกรรมที่ขอเพิกถอนเข้ามาเป็น คู่ความในคดี ศาลจึงจะมีอำนาจให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ไว้แล้ว แต่ต่อมาโจทก์ มิได้นำค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 มาวางภายในเวลาที่ศาลกำหนด อันเป็นการทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลย ที่ 1 จากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 (1) ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 บัญญัติให้ถือว่าโจทก์มิได้มีการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เลย ส่วนธนาคารกรุงทอง จำกัด ผู้รับจำนองนั้น โจทก์ก็มิได้ฟ้องหรือขอให้ศาลหมายเรียกเข้ามาเป็นคู่ความด้วย หากมีการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ที่ดินและเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดิน ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิของธนาคารกรุงทอง จำกัด บุคคลภายนอกซงึ่ มิใช่คู่ความในคดี อันเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องคดีนี้ ได้ ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้น กล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) (คำ พิพากษาฎีกาที่ 7247/2537, 444/2546) ดังนั้น คำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย โจทก์ได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มรณะก่อนฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แถลง โจทก์เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีเลย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการโอนโดยโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1หรือทายาทผู้รับมรดกของจำเลยที่ 1 ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546
ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดิน และจำเลยที่ 2 กรมที่ดินให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวมาก่อน แต่โจทก์กลับฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทจึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) 

ข้อ 3. 

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่งปลูก สร้างออกไปจากที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง ต่อมาโจทก์พบว่าคำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่อง จึงยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จำเลย อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าว ระหว่างนั้น โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกไปจากที่ดินของโจทก์อีก แต่ได้เรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินด้วย จำเลยยื่นคำให้การ และฟ้องแย้งว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อน ขอให้ยก ฟ้องและพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย 

ให้วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และศาลจะพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งต่อไปอย่างไร 

ธงคำตอบ 

ในคดีก่อนโจทก์ขอถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง แต่จำเลยยังอุทธรณ์ ต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและรื้อถอนสิ่ง ปลูกสร้างออกไปจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีก่อน แม้จะได้เรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินมาด้วย แต่ค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์ก็สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว จึงชอบที่โจทก์จะได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายมาพร้อม กับคำฟ้องในคดีก่อนเสียในคราวเดียวกัน คำฟ้องในคดีใหม่จึงเป็นเรื่องเดียวกับคำฟ้องในคดีก่อน ส่วนการถอนคำฟ้อง ที่จะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคาํ ฟ้องเลยดังที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดี ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ คำฟ้องของโจทก์ในคดีใหม่จึง เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่ มีคำฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์และ ฟ้องแย้งจำเลย (คำพิพากษาฎีกาที่ 972/2532, 1964/2535, 471/2541, 7265/2544) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2531 เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ 23มิถุนายน 2531 ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ 10 มิถุนายน 2531 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ 23 มิถุนายน 2531ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2535
ตามคำฟ้องคดีก่อนโจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้าง อาคารและจำเลยทั้งสองได้อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารได้ โจทก์จึง ได้จ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะเพื่อทำการก่อสร้างโดยเสียค่าจ้างเป็นเงิน 140,000 บาท ต่อมาจำเลยมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าว โดยอ้างว่าโจทก์มิได้แจ้งข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับ ที่ดินที่ ทำ การปลูกสร้างอาคารให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ จึงขอให้ ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งสอง คดีนี้คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยาย กล่าวอ้างว่า โจทก์ได้รับอนุญาตจากจำเลยทั้งสองให้ทำการปลูกสร้าง อาคารแล้ว โจทก์จึงได้ดำเนินการก่อสร้างโดยเสียค่าใช้จ่ายในการ ปรับหน้าดินกับค่าจ้างเขียนแบบและค่าจ้างบริษัท ม. ทำการสร้างเข็มเจาะ รวมเป็นเงินที่ได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 220,000 บาท ต่อมา จำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อร่วมกันกระทำโดยมิชอบออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง ทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจทำการก่อสร้างได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดในเงินที่โจทก์ได้ลงทุนไป ขอให้บังคับ จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายดังกล่าวสาระสำคัญอันที่โจทก์ นำมากล่าวอ้างเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องและเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากเรื่องเดียวกัน และมูลเหตุเดียวกันกับในคดีก่อน ชอบที่โจทก์จะได้เรียกร้องค่าเสียหายมาพร้อมกับฟ้องในคดีก่อน เสียในคราวเดียวกัน โจทก์จะนำคดีมาแบ่งแยกฟ้องทีละส่วนทีละตอน ทั้ง ๆ ที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หาได้ไม่ ฟ้อง โจทก์ คดี นี้ จึง เป็น ฟ้องซ้อน ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2541
เมื่อคดีทั้งสองเรื่องโจทก์อ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าที่ดินโจทก์มีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินพิพาทที่จำเลยโอนให้ พ. และค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ยอมให้ที่ดินพิพาทเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้ขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและใช้ค่าเสียหายคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ประการใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อน แต่อาศัยสัญญาเช่าตามบันทึกการต่ออายุสัญญาเช่าของปี 2533 มูลฟ้องของโจทก์คดีนี้ แม้จะอาศัยสัญญาเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน หาใช่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวไม่โจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องในคดีนี้เป็นมูลฟ้องในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำ เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกัน คำฟ้องที่โจทก์ยื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งโจทก์ขอถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้งจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง 

ข้อ 4. 

โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินจำนวน 500,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้า สืบก่อนและนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา ถึงวันนัดจำเลยมาศาล ส่วนฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ศาลให้เลื่อนคดี ศาลรออยู่จนถึงเวลา 10 นาฬิกา ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลเห็น ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ 

(ก) โจทก์มาศาลในวันเดียวกันเวลา 10.30 นาฬิกา และยื่นคำร้องว่าโจทก์มิได้ขาดนัดพิจารณา เพราะ โจทก์มาศาลในวันสืบพยานแล้ว แต่เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุทำให้โจทก์มาถึงศาลล่าช้าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เพียง 30 นาที ขอให้ศาลยกคดีขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป 

(ข) จำเลยอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีว่า ทนายจำเลยแถลงต่อศาลดังกล่าวโดยมีความประสงค์จะให้ศาล ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แต่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไม่ ชอบด้วยกฎหมาย 

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ใน (ก) อย่างไร และอุทธรณ์ของจำเลยใน (ข) ฟังขึ้นหรือไม  

ธงคำตอบ 

(ก) การที่คู่ความต้องมาศาลในวันสืบพยานนั้นจะต้องมาตรงตามเวลานัดด้วย เมื่อศาลนัดเวลา 9 นาฬิกา และได้รออยู่จนถึงเวลา 10 นาฬิกา ล่วงเลยเวลานัดไปถึง 1 ชั่วโมง ฝ่ายโจทก์ก็ยังไม่มาศาล โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ศาลให้เลื่อนคดี จึงต้องถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 วรรค หนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 202 จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์มาศาลและ ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกคดีขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ย่อมมีผลเท่ากับเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ (เทียบคำ พิพากษาฎีกาที่ 3388/2545) เมื่อศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความโดยมิได้สั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียว โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1248/2546) ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ 

(ข) เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา มาตรา 202 ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ เว้นแต่ จำเลยจะได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่าย เดียว การที่ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งต่อศาล ขอให้ดำเนินการ พิจารณาคดีต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 1162/2545) ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2545
การที่โจทก์ต้องมาศาลในวันนัดสืบพยาน โจทก์ต้องมาตรงตามเวลานัดด้วยมิใช่ว่าโจทก์จะมาศาลในเวลาใดก็ได้ก่อนสิ้นเวลาทำการของศาล เมื่อศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาในวันนัดสืบพยานโจทก์เวลา 10.30 นาฬิกา เกินเวลานัดไปถึง 1 ชั่วโมง 30 นาทีฝ่ายโจทก์ก็ยังไม่มา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความอันเป็นคำสั่งตามบทบัญญัติมาตรา 132(2) ประกอบมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) จึงชอบแล้ว หลังจากนั้นโจทก์มาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีขึ้นมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปย่อมมีผลเท่ากับการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546
ตามคำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่ในวันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี อันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรกดังนั้น คำร้องของโจทก์ฉบับหลังจึงมีข้ออ้างและคำขอแตกต่างกับคำร้องของโจทก์ฉบับแรก เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องตามคำร้องฉบับแรกของโจทก์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์ในวันที่ 4 ธันวาคม2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2545
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้อนุญาตให้ถอนตัวและให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ในนัดต่อมา โดยทนายโจทก์ลงชื่อทราบคำสั่งและวันนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณา ต้องถือว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเช่นนี้ จึงเป็นความผิดของโจทก์และถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ส่วนการที่ทนายจำเลยแถลงขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร ก็มิใช่คำแถลงที่มีความหมายในทางที่จำเลยประสงค์หรือตั้งใจจะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 เดิม ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีจากสารบบความได้ 

ข้อ 5. 

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อโทรทัศน์สีไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท จำเลยให้การว่า ไม่เคยซื้อโทรทัศน์สีไปจากโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์เสร็จและ สืบพยานจำเลยได้ 2 ปาก ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดต่อมา ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่า พยานจำเลยติด ธุระสำคัญที่ต่างจังหวัดไม่สามารถมาเบิกความตามนัดได้ โจทก์คัดค้านว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ศาลชั้นตน้ ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลย จำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลย กับ อุทธรณ์ว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยยกเหตุแห่งการที่เป็นฟ้องเคลือบคลุมขึ้นอ้างมาในอุทธรณ์ด้วย 

ให้วินิจฉัยว่า จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่

ธงคำตอบ 

คดีนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่าง พิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงด สืบพยานจำเลยนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้นจึงเป็นข้อเท็จจริง แม้จำเลยจะได้ยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว (คำพิพากษาฎีกาที่ 6230/2541 และ 5501/2545) จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหานี้ไม่ได  ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมแม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็น ในเรื่องดังกล่าว ทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ตามมาตรา 225 (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3498/2546) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2541
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 20,000 บาทแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 8,000 บาท โจทก์และจำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้องนั้นตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาทคดีจึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองจำเลยฎีกาว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีและสืบพยานต่อไปหรือไม่ อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้จะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ก็ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นเดียวกัน 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2545
การอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งระหว่างพิจารณาจะต้องพิจารณาจากคดีเดิมเป็นสำคัญ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้งดการพิจารณาคดีชั่วคราวและให้งดสืบพยานจำเลยไม่ชอบนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการดำเนินคดีของศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2546
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องดังกล่าวทั้งมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ในคดีแพ่ง มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงไม่อาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์จำนวน 70,200 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า การนำสืบพยานโจทก์แตกต่างในข้อสาระสำคัญไปจากคำฟ้องเป็นการสืบพยานนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับอ้างว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และค่าทองรูปพรรณต่อโจทก์ตามฟ้องเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง 
 ในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องจำเลยได้ให้การและเบิกความว่าจำเลยเป็นหนี้เงินกู้และทองรูปพรรณต่อโจทก์และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในคำให้การและคำเบิกความด้วยความสมัครใจ บันทึกคำให้การและบันทึกคำเบิกความดังกล่าวจึงใช้และรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งการกู้ยืมในคดีแพ่งได้ แม้จะมิใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยต้องหาก็ตามแต่ก็ถือได้ว่าบันทึกดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง 

ข้อ 6. 

นายชาญฟ้องนายชิดขอให้ขับไล่นายชิดออกจากบ้านและที่ดินโดยอ้างว่า บ้านและที่ดินดังกล่าวเป็น กรรมสิทธิ์ของนายชาญ นายชิดให้การว่าบ้านและที่ดินดังกล่าวเป็นของนายชิด ขอให้ยกฟ้อง ต่อมานายชิดยื่นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้นขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาโดยอ้างว่า นายชาญได้ให้ผู้อื่นเช่าบ้านและที่ดินพิพาทดังกล่าว ขอให้ศาลสั่งให้นายชาญหรือผู้เช่านำเงินค่าเช่ามาวางศาล นายชาญรับว่าได้ให้ผู้อื่นเช่าบ้านและที่ดินพิพาทจริง แต่ คัดค้านว่านายชิดเป็นจำเลยจะขอคุ้มครองประโยชน์ไม่ได้ 

ให้วินิจฉัยว่า (ก) ข้อคัดค้านของนายชาญฟังขึ้นหรือไม่ (ข) ศาลจะสั่งอนุญาตตามคำขอของนายชิดได้หรือไม  

ธงคำตอบ 

(ก) การขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้นคู่ความฝ่ายใดจะร้องขอก็ได้ ดังนั้น แม้นายชิดเป็นจำเลย ก็มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ตามมาตรา 264 ได้ ข้อคัดค้านของนายชาญฟังไม่ขึ้น 

(ข) การคุ้มครองตามมาตรา 264 จะต้องเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้นได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา หรือ เพื่อสะดวกในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา และคำขอนั้นต้องอยู่ในประเด็นแห่งคำฟ้องหรือคำให้การและฟ้อง แย้ง จะขอนอกเหนือจากคำขอในคำฟ้อง หรือคำให้การและฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อ นายชิดไม่ได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาท และเรียกค่าเช่าบ้านและที่ดินพิพาทดังกล่าวหรือเรียก ค่าเสียหายมาด้วย นายชิดจะขอให้ศาลสั่งให้นายชาญหรือผู้เช่าบ้านและที่ดินพิพาทดังกล่าวนำเงินค่าเช่ามาวางศาลหา ได้ไม่ เพราะผลของคดี ถ้านายชิดเป็นฝ่ายชนะคดี ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องของนายชาญไปตามคำขอท้ายคำให้การ ของนายชิดเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึงค่าเช่าด้วย ศาลจึงสั่งอนุญาตตามคำขอของนายชิดไม่ได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกา ที่ 1463/2515 และ 3900/2532) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2515
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น คู่ความฝ่ายใดจะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีนั้น ได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษา โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์เรือน แม้จะปรากฏว่า โจทก์ให้บุคคลอื่นเช่าเรือนนั้นและได้ค่าเช่าเป็นประโยชน์ตอบแทนจำเลยก็จะร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์หรือผู้เช่านำเงินค่าเช่ามาวางศาลหาได้ไม่ เพราะผลของคดีถ้าจำเลยเป็นฝ่ายชนะศาลก็จะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ไปตามคำขอท้ายคำให้การจำเลยเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึงผลประโยชน์อันเป็นค่าเช่าตามที่จำเลยร้องขอคุ้มครองได้ เว้นไว้แต่จำเลยจะได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์เรือนและเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหายมาด้วย 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3900/2532
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอแสดงกรรมสิทธิ์หรือเรียกค่าเสียหายมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยจะร้องขอให้ศาลสั่งให้โจทก์เอาผลประโยชน์ที่ได้รับมาวางศาลจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหาได้ไม่เพราะผลทางคดีถ้าจำเลยเป็นฝ่ายชนะศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปเท่านั้น ไม่มีผลบังคับไปถึงผลประโยชน์ของที่ดินตามที่จำเลยขอคุ้มครอง 

ข้อ 7. 

นายจนขายฝากบ้านไว้แก่นายรวยแล้วมิได้ไถ่ถอนภายในกำหนดไถ่คืน ต่อมาอีกหนึ่งปี นายรวยฟ้องขับไล่ นายจนและบริวารออกจากบ้านหลังดังกล่าว กับเรียกค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ศาลพิพากษาให้นายรวยชนะ คดีเต็มตามฟ้อง แต่นายจนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา นายรวยจึงขอบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีไดจั้ดการให้นาย รวยเข้าครอบครองบ้านพิพาทและยึดเครื่องรับโทรทัศน์สีราคา 300,000 บาท เพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระ ค่าเสียหาย นางเจียมภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจนยื่นคำร้องขอว่า บ้านเป็นสินสมรสที่นางเจียมมีกรรมสิทธิ์ อยู่กึ่งหนึ่ง และเครื่องรับโทรทัศน์สีก็เป็นสินส่วนตวั ของนางเจียม มิใช่ทรัพย์ของนายจน ขอให้กันส่วนของนางเจียม สำหรับบ้านออกจากการบังคับคดีและให้ปล่อยเครื่องรับโทรทัศน์สีที่ยึดไว้ ศาลไต่สวนแล้ว ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ นางเจียมยกขึ้นอ้างในคำร้องขอ

ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะมีคำสั่งให้นางเจียมได้รับการกันส่วนสำหรับบ้านและมีคำสั่งให้ ปล่อยเครื่องรับโทรทัศน์สีที่ยึดไว้ได้หรือไม  

ธงคำตอบ 

สำหรับบ้านตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายรวยอยู่แล้วโดยการขายฝาก การที่นายรวยขอให้บังคับคดีให้นาย รวยเข้าครอบครองบ้าน เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไมมี่สิทธิจะยึดไว้ หนี้ตามคำ พิพากษาสำหรับบ้าน จึงเป็นการบังคับคดีให้นายจนลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องกระทำการส่งมอบบ้านให้แก่นายรวย เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิใช่การบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของนายจนลูกหนี้ตามคำพิพากษา กรณีจึงไม่ต้องด้วย หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ที่นางเจียมจะขอกันส่วนได้ ศาลต้องมีคำสั่งยกคำ ขอในส่วนนี้ 
       ส่วนเครื่องรับโทรทัศน์สีเป็นสินส่วนตัวของนางเจียม นายจนลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วย นายรวยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนค่าเสียหายจำนวน 500,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงิน จึงไม่มีสิทธิบังคับคดีเอา แก่เครื่องรับโทรทัศน์สีซึ่งเป็นสินส่วนตัวของนางเจียมบุคคลนอกคดี ไม่ว่าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนนี้จะเป็นหนี้ร่วม หรือไม่ก็ตาม ศาลต้องมีคำสั่งให้ปล่อยเครื่องรับโทรทัศน์สีที่ยึดไว้ตามมาตรา 288 วรรคหนึ่ง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4832/2536 และ 523/2534) 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2536
เมื่อบ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการขายฝากบ้านพิพาทจึงมิใช่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาการที่โจทก์ขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้โจทก์เข้าครอบครองบ้านพิพาทนั้น เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดไว้ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันที่ผู้ร้องจะขอกันส่วนบ้านพิพาทในคดีนี้ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2534
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเคยเป็นสามีภริยากันหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะนำยึดสินส่วนตัวของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีไม่ได้