มาตรา ๘๙ คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานของตนเพื่อพิสูจน์ต่อพยานของคู่ความฝ่ายอื่นในกรณีต่อไปนี้
(๑) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือ
(๒) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้น
ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความ เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้น
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ต่อพยานตามวรรคหนึ่งแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้นตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าวมาแล้ว หรือถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้ศาลจะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้
(๑) หักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือ
(๒) พิสูจน์ข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดอันเกี่ยวด้วยการกระทำ ถ้อยคำ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้น
ให้คู่ความฝ่ายนั้นถามค้านพยานดังกล่าวเสียในเวลาที่พยานเบิกความ เพื่อให้พยานมีโอกาสอธิบายถึงข้อความเหล่านั้น แม้ว่าพยานนั้นจะมิได้เบิกความถึงข้อความดังกล่าวก็ตาม
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายอื่นไว้ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ต่อมานำพยานหลักฐานมาสืบถึงข้อความนั้น คู่ความฝ่ายอื่นที่สืบพยานนั้นไว้ชอบที่จะคัดค้านได้ในขณะที่คู่ความฝ่ายนั้นนำพยานหลักฐานมาสืบ และในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่ามานั้น
ในกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ประสงค์จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ต่อพยานตามวรรคหนึ่งแสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่า เมื่อเวลาพยานเบิกความนั้นตนไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ถึงข้อความดังกล่าวมาแล้ว หรือถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านี้ศาลจะยอมรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ก็ได้ แต่ในกรณีเช่นนี้ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะขอให้เรียกพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรจะเรียกมาสืบเองก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9000/2550
จำเลย ที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้วเมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัด เชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้า พนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของ โจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2548
สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีนายทะเบียนอำเภอรับรองถูกต้อง ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิก ความรับรองอีก และแม้โจทก์เพิ่งส่งต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลย ที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้วเมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัด เชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้า พนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของ โจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดิน จังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2548
สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งมีนายทะเบียนอำเภอรับรองถูกต้อง ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง กรณีจึงไม่จำเป็นต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับรองสำเนานั้นมาเป็นพยานเบิก ความรับรองอีก และแม้โจทก์เพิ่งส่งต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน ศาลจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2546
การที่คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 นั้นต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็น หรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ เมื่อประเด็นแห่งคดีมีว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งจำเลยได้ถามค้านพยานโจทก์ถึงความไม่ถูกต้องของการทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องไว้แล้ว การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลและสำเนาสัญญากู้ยืมเงินก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความประพฤติของโจทก์ในการเขียนสัญญากู้ยืมเงิน อันเป็นการสืบตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงถ้อยคำของพยานโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ของตนได้ แม้จะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในข้อนี้ไว้ก็ตาม กรณีมิใช่การจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์แต่อย่างใด จำเลยไม่จำต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2543
การรวบรวมพยานหลักฐานและนำพยานเข้าสืบในระบบกล่าวหาเป็นเรื่องของโจทก์เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องหรือเป็นบริสุทธิ์ เมื่อศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้องแล้วก็พิพากษาลงโทษจำเลย โดยไม่จำต้องฟังคำเบิกความหรือดูอากัปกิริยาของสายลับก็ได้
แม้โจทก์มิได้นำสายลับมาสืบแสดงให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคำเบิกความและอากัปกิริยาของสายลับ และให้โอกาสจำเลยได้ถามค้านค้นหาความจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาของโจทก์ ก็หาได้ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์อื่น ๆ มีพิรุธสงสัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2543
คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ จำเลยได้นำหนังสือไปปรึกษากับทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงติดต่อกับทนายโจทก์เพื่อเจรจาเรื่องเช็คจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยทนายโจทก์ยอมลดค่าเสียหายให้เหลือ 30,000 บาทนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ในเรื่องนี้ไว้แต่เป็นเพราะโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานระบุอ้าง น. ทนายโจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะสืบ จำเลยจึงไม่มีโอกาสถามค้านไว้ได้ ส่วนตัวโจทก์เองไม่ได้เป็นพยานผู้รู้เห็นหรือร่วมเจรจา จำเลยจึงไม่ได้ถามค้านไว้ คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542
โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน สำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541
การสืบพยานในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงาน เท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้าง มาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้นหากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสองกำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง อ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตน อ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถาม และถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถาม พยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจ นำบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานในศาลแรงงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถามพยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89, 116 (2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2540
ภาพถ่ายบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพยานวัตถุไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยอ้างส่งพยานหลักฐานเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2539
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานอธิบายถึงข้ออ้างของจำเลยคำเบิกความของพยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ. กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆกับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ. กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2536
ข้อที่จำเลยอ้างว่าคำให้การชั้นสอบสวนมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยนั้น จำเลยคงปฏิเสธลอย ๆ เมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่โจทก์อ้าง จำเลยก็ไม่ได้ถามค้านให้เห็นว่าจำเลยไม่เคยให้การรับสารภาพ คำให้การชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างมิใช่ลายมือชื่อจำเลย การที่จำเลยนำสืบภายหลังว่าคำให้การชั้นสอบสวนนั้นไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงเป็นการนำสืบเอาข้างเดียวไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2535
โจทก์ทำสัญญาจำนองในวงเงิน 390,000 บาท เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ท. ที่มีต่อธนาคารจำเลยผู้รับจำนอง โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองได้จำนองเพื่อประกันเงินซึ่ง ท.ได้เบิกไปจากผู้รับจำนองหรือในเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลาทำสัญญาจำนองหรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้ากับค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง ผู้จำนองยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นและว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินทั้งสิ้นซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น ย่อมมีความหมายว่า นอกจากโจทก์ผู้จำนองจะต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเป็นเงิน 390,000 บาท แล้ว ยังต้องรับผิดสำหรับดอกเบี้ยเมื่อ ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยแก่จำเลยด้วย จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบภายหลังมีสิทธิอ้างส่งสัญญาค้ำประกันเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ได้ แม้จะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในข้อนี้ไว้ก่อนก็ตาม