มาตรา ๑๘๙ คดีมโนสาเร่ คือ
(๑) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
(๒)
คดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ
ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๑๙๐ จำนวนทุนทรัพย์หรือราคาอันพิพาทกันในคดีนั้น
ให้คำนวณดังนี้
(๑)
จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้นให้คำนวณตามคำเรียกร้องของโจทก์
ส่วนดอกผลอันมิถึงกำหนดเกิดขึ้นในเวลายื่นคำฟ้องหรือค่าธรรมเนียมศาลซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์รวมอยู่ในคำเรียกร้อง
ห้ามไม่ให้คำนวณรวมเข้าด้วย
(๒)
ในกรณีมีข้อสงสัยหรือมีข้อโต้แย้ง จำนวนทุนทรัพย์หรือราคานั้น
ให้ศาลกะประมาณตามที่เป็นอยู่ในเวลายื่นฟ้องคดี
(๓)
คดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่มีข้อหาหลายข้อ
อันมีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้รวมจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
แต่ถ้าข้อหาเหล่านั้นจะต้องเรียกร้องเอาแก่จำเลยหลายคน
ถึงแม้ว่าถ้ารวมความรับผิดของจำเลยหลายคนนั้นเข้าด้วยกันแล้วจะไม่เป็นคดีมโนสาเร่ก็ตาม
ให้ถือเอาจำนวนที่เรียกร้องเอาจากจำเลยคนหนึ่ง ๆ นั้น เป็นประมาณแก่การที่จะถือว่าคดีนั้นเป็นคดีมโนสาเร่หรือไม่
มาตรา ๑๙๐ ทวิ ในคดีมโนสาเร่
ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามบทบัญญัติในหมวดนี้
มาตรา ๑๙๐ ตรี
ในคดีมโนสาเร่
ให้ศาลมีอำนาจที่จะออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำหนดไว้
หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ในกฎหมายอื่น
เพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นได้
เมื่อมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา ๑๙๐ จัตวา ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามตาราง
๑ ท้ายประมวลกฎหมายนี้ แต่ค่าขึ้นศาลรวมกันแล้วไม่เกินหนึ่งพันบาท
ค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกานั้น
ให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาเสียตามจำนวนทุนทรัพย์
หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี
มาตรา ๑๙๑ วิธีฟ้องคดีมโนสาเร่นั้น โจทก์อาจยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือหรือมาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลก็ได้
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ
หากศาลเห็นว่าคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง
ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
ถ้าโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาดังกล่าวแล้ว
ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหาเหล่านั้นไว้อ่านให้โจทก์ฟัง
แล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
มาตรา ๑๙๒
เมื่อศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องไม่ใช่คดีมโนสาเร่และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้
ถ้าคดีนั้นได้ฟ้องโดยคำแถลงด้วยวาจา ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออย่างคดีสามัญ
แต่ถ้าคดีนั้นได้ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสืออยู่แล้ว
ห้ามมิให้ศาลออกหมายเรียกอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้สำหรับคดีสามัญ
ถ้าคดีนั้นไม่เป็นคดีมโนสาเร่ต่อไป
เนื่องจากได้มีคำฟ้องเพิ่มเติมยื่นเข้ามาภายหลัง และศาลนั้นมีเขตอำนาจที่จะพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญได้
ก็ให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปอย่างคดีสามัญ
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวมาแล้ว
ถ้าศาลไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีนั้นอย่างคดีสามัญ
ให้ศาลมีคำสั่งคืนคำฟ้องนั้นไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ
ในกรณีที่จำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดีมโนสาเร่และฟ้องแย้งนั้นมิใช่คดีมโนสาเร่
หรือในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีสามัญรวมกับคดีมโนสาเร่
ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีมโนสาเร่ไปอย่างคดีสามัญ
แต่เมื่อศาลพิจารณาถึงจำนวนทุนทรัพย์ ลักษณะคดี สถานะของคู่ความ
หรือเหตุสมควรประการอื่นแล้วเห็นว่า การนำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับแก่คดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญเช่นว่านั้นจะทำให้การดำเนินคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่ความทุกฝ่าย
ก็ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของฟ้องแย้งหรือคดีสามัญนั้นอย่างคดีมโนสาเร่ได้
คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งของศาลตามวรรคสี่
ไม่กระทบถึงค่าขึ้นศาลที่คู่ความแต่ละฝ่ายต้องชำระอยู่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเช่นว่านั้น
มาตรา ๑๙๓ ในคดีมโนสาเร่
ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วและออกหมายเรียกไปยังจำเลย
ในหมายนั้นให้จดแจ้งประเด็นแห่งคดีและจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง
และข้อความว่าให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน
และให้ศาลสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
ในวันนัดพิจารณา
เมื่อโจทก์และจำเลยมาพร้อมกันแล้ว
ให้ศาลไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาทนั้นก่อน
ถ้าคู่ความไม่อาจตกลงกันหรือไม่อาจประนีประนอมยอมความกันได้และจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การให้ศาลสอบถามคำให้การของจำเลย
โดยจำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือ หรือจะให้การด้วยวาจาก็ได้
ในกรณียื่นคำให้การเป็นหนังสือให้นำมาตรา ๑๙๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีให้การด้วยวาจา
ให้ศาลบันทึกคำให้การรวมทั้งเหตุการณ์นั้นไว้ อ่านให้จำเลยฟัง
แล้วให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม
ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ
โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดโดยนำมาตรา
๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้สืบพยาน
ก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓ เบญจ
มาตรา ๑๙๓ ทวิ ในคดีมโนสาเร่
เมื่อโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา ๑๙๓
แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดีให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป
ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา
๑๙๓ แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การไว้ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยนำมาตรา
๑๙๘ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
แต่ถ้าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ก่อนหรือในวันนัดดังกล่าว
ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา และให้บังคับตามมาตรา ๒๐๔ มาตรา ๒๐๕ มาตรา ๒๐๖ และมาตรา
๒๐๗ และไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ถ้าศาลมีคำสั่ง
ให้สืบพยานก็ให้ศาลดำเนินการต่อไปตามมาตรา ๑๙๓ ตรี มาตรา ๑๙๓ จัตวา และมาตรา ๑๙๓
เบญจ
มาตรา ๑๙๓ ตรี เมื่อศาลได้รับคำให้การของจำเลยตามมาตรา ๑๙๓
วรรคสาม หรือศาลมีคำสั่งให้สืบพยานตามมาตรา ๑๙๓ วรรคสี่ หรือมาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง
ให้ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปโดยเร็ว
และให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่าประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วบันทึกไว้
หรือสั่งให้คู่ความจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
โดยในกรณีที่มิใช่การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว
ศาลจะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบก่อนหรือหลังก็ได้
มาตรา ๑๙๓ จัตวา ในคดีมโนสาเร่
เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร
ในการสืบพยานไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลเรียกมาเอง
ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยานก่อน
เสร็จแล้วจึงให้ตัวความหรือทนายความซักถามเพิ่มเติมได้
ให้ศาลมีอำนาจซักถามพยานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด
ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับคดี แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างก็ตาม
ในการบันทึกคำเบิกความของพยาน
เมื่อศาลเห็นสมควร จะบันทึกข้อความแต่โดยย่อก็ได้ แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้
มาตรา ๑๙๓ เบญจ ในคดีมโนสาเร่
ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่ต้องเลื่อน เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน
มาตรา ๑๙๔ คดีมโนสาเร่นั้น
ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือคำพิพากษาด้วยวาจาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๑
มาตรา ๑๙๕ นอกจากที่บัญญัติมาแล้ว
ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๙๖
ในคดีสามัญซึ่งโจทก์ฟ้องเพียงขอให้ชำระเงินจำนวนแน่นอนตามตั๋วเงินซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธ
หรือตามสัญญาเป็นหนังสือซึ่งปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริงมีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์จะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องขอให้ศาลพิจารณาคดีนั้นโดยรวบรัดก็ได้
ถ้าศาลเห็นว่าคดีตามวรรคหนึ่งนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่
ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตรา
๑๙๐ จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้
ถ้าในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าคดีไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรานี้
ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมแล้วดำเนินการพิจารณาต่อไปตามข้อบังคับแห่งคดีสามัญได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9593/2559
แม้เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ก็ตาม
แต่ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง
ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบมิใช่ข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ
คดีนี้โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8
สิงหาคม 2554 จำเลยจ้างโจทก์ที่ 1 ให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษา... ต่อมาต้นปี 2557 จำเลยเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและตั้งแต่เดือนกันยายน
2557 เป็นต้นไปจำเลยไม่ชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์
แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า
จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน
2557 เป็นต้นไปตามคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาข้อเท็จจริงว่าคู่สัญญาฝ่ายจำเลยที่ลงลายมือชื่อสองคนในสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าเป็นกรรมการบริษัทจำเลยหรือได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ทำสัญญากับโจทก์ทั้งสอง
ไม่มีการประทับตราสำคัญของจำเลยมาวินิจฉัย
ย่อมถือว่าจำเลยทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองไม่ได้ สัญญาไม่ผูกพันจำเลย
นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องอำนาจฟ้องย่อมเป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่เกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีหน้าที่ต้องนำสืบมาวินิจฉัย
เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8329/2559
คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งกฎหมายให้ศาลดำเนินการพิจารณาโดยไม่ชักช้าแต่ต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 196
จำเลยร่วมเป็นบุคคลภายนอกที่จำเลยขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยร่วมขาดนัดยื่นคำให้การไปแล้ว
แต่ให้รอมีคำพิพากษาสำหรับจำเลยร่วมไว้ก่อน
เนื่องจากต้องดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลยต่อไปโดยกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยในวันที่
21 พฤษภาคม 2558 เวลา 9.30 ถึง 16.30 นาฬิกา แต่มิได้แจ้งวันนัดดังกล่าวให้จำเลยร่วมทราบทั้งการนัดฟังคำพิพากษาก็มิได้มีการแจ้งวันนัดให้จำเลยร่วมทราบอีกเช่นกัน
ดังนี้จะถือว่าจำเลยร่วมทราบนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยในวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 และวันนัดฟังคำพิพากษาในวันนัดถัดไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่
ประกอบกับมูลหนี้ของจำเลยกับจำเลยร่วมเกี่ยวด้วยหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้
และจำเลยให้การต่อสู้เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยร่วมในมูลหนี้ดังกล่าวตลอดมา
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยรวบรัดข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
กระทบต่อสิทธิในการดำเนินคดีของคู่ความ
จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) โดยให้ยกฎีกาจำเลยเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2559
คดีมโนสาเร่
กรณีคดีมีประเด็นว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม
กรณีย่อมต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 191 วรรคสอง
ที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นก่อน
หากโจทก์ไม่ทำการแก้ไขจึงจะถือว่ามีประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยต่อไป
แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง
ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุจพินิจพิจารณาแล้วว่า
คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุมต้องถือว่าประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่
เป็นอันยุติไปตามสภาพที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง
จำเลยไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10840/2558
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องใช้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
พ.ศ.2539
และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540
เป็นหลัก ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความฉบับอื่น ๆ
ที่ใช้กับคดีแพ่งและคดีอาญาโดยทั่วไปจะนำมาใช้ในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวบัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะ
ทั้งการนำมาใช้ก็เป็นการใช้โดยอนุโลมอีกด้วย
เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาในกรณีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ
มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในคดีที่จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ โดยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางต้องมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่
3 ขาดนัดยื่นคำให้การด้วย
ต่างกับการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีแพ่งทั่วไปที่เป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมาย
ศาลไม่ต้องมีคำสั่ง และหลังจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่
3 ขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว
ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างไรต่อไป จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 198
และมาตราต่อไปมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่สำหรับคดีนี้
เนื่องจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังไม่ได้มีคำสั่งว่า จำเลยที่
3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จึงจะนำบทบัญญัติมาตรา 198 วรรคสอง มาใช้บังคับยังมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13138/2557
ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากตาม
ป.วิ.พ. (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ซึ่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคดีมโนสาเร่มาใช้บังคับ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 206 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198
ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้
และการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาจากคำฟ้อง
เอกสารท้ายฟ้องและเอกสารที่โจทก์ส่งเป็นพยานหลักฐาน แล้วฟังว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2556
ตาม ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไม่นำวิธีพิจารณาคดีสามัญมาใช้บังคับ
จำเลยได้ยื่นคำให้การฉบับแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551
ก่อนวันกำหนดนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน
จึงยังมีเวลาที่จำเลยจะยื่นคำร้องแก้ไขคำให้การได้อีกจนกว่าจะถึงวันนัด
ครั้นถึงวันนัด
คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกันศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนคดีไปเป็นวันที่ 11
สิงหาคม 2551 ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้อีกจนถึงวันดังกล่าว
แม้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 193 วรรคสี่ บัญญัติว่า
ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม
ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ
โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ก็ตาม
แต่กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ภายในกำหนดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21
กรกฎาคม 2551 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยเลื่อนยื่นคำให้การได้ซึ่งหมายรวมถึงการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ด้วย
ทั้งปรากฏว่าในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันนัดไกล่เกลี่ย
ให้การ และสืบพยาน ที่เลื่อนมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ
ศาลชั้นต้นได้จ่ายสำเนาให้ พ. ทนายโจทก์รับสำเนาแล้ว ทนายโจทก์ไม่ค้าน
ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามคำร้องดังกล่าว
คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยชอบ
หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบ โจทก์ต้องโต้แย้ง แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวแต่อย่างใด
ซึ่งคำสั่งให้รับคำให้การอันเป็นคำคู่ความเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกจากที่ระบุไว้ใน
ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งเป็นหนังสือ
จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 ที่โจทก์ฎีกาว่า
โจทก์ไม่ทราบการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยดังกล่าวเพราะทนายโจทก์ฉ้อฉลไม่แจ้งให้โจทก์ทราบนั้น
เห็นว่า โจทก์เป็นผู้แต่งตั้ง พ.
เป็นทนายความของโจทก์มีอำนาจในการว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการจำหน่ายสิทธิของโจทก์ได้ด้วย
โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันและรับผิดชอบในสิ่งที่ พ.
ตัวแทนของโจทก์กระทำไปภายในขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายด้วย
ข้ออ้างของโจทก์ที่ปฏิเสธไม่รับรู้การปฏิบัติหน้าที่ของ พ. จึงไม่มีเหตุผลรับฟัง
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2574/2556
จำเลยที่ 1 และที่ 2
ให้การตอนแรกว่า ต. และจำเลยที่ 1 ไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
แต่สัญญาซื้อขายตามฟ้องเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ที่ ต. และจำเลยที่ 1
กู้เงินไปจากโจทก์
จึงเป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้น ว่าสัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การตอนหลังว่า สัญญาซื้อขายตามฟ้องมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ
และตัดฟ้องโจทก์ว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย
คดีโจทก์จึงขาดอายุความนั้น ก็มิใช่ว่าเป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่า ต.
และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์
คำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด
รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 1 และที่
2 มีสิทธินำพยานเข้าสืบหักล้างสัญญาซื้อขายตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2556
แม้ฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ซึ่งทำให้สามารถยื่นเข้ามาในคำให้การได้ แต่ฟ้องแย้งมีลักษณะเป็นคำฟ้อง
การเสนอคำฟ้องแย้ง จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 2 (1) เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท
จึงไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับคดีไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17
ประกอบมาตรา 25 (4) การจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 192
วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่คดีได้นั้น จะต้องเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6245 -
6246/2555
ศาลชั้นต้นตรวจและมีคำสั่งในคำฟ้องของโจทก์เพียงว่า
"รับฟ้อง หมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์วางค่าส่งในวันนี้..."
โดยวันที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอปิดหมายมาพร้อมด้วย ในคำแถลงโจทก์ยืนยันว่า
จำเลยมีภูมิลำเนาตามฟ้องตามหนังสือรับรองบริษัทจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงนั้นว่ามีหลักฐานภูมิลำเนา หากส่งไปรษณีย์ไม่ได้
ให้เจ้าพนักงานส่ง ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด ดังนี้
ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคหนึ่ง แล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว
แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด
15
วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก
แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน
นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ
แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์
ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์
จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2554
ป.วิ.พ. มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ (ง) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท
และมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า
ในคดีมโนสาเร่
ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่ากับจำนวนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บในคดีที่มาคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง
1 (2) (ก) ต่อท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) กำหนดว่า
"คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาทให้เรียกเรื่องละสองร้อยบาท"
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้น
ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันคืนสินสอดและชดใช้ค่าเสียหาย
รวมเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท
ย่อมเป็นคดีมโนสาเร่และเสียค่าขึ้นศาลเพียงสองร้อยบาท
ตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาล 200
บาท จึงถูกต้องตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534
มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้ก็ต้องนำ ป.วิ.พ.
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2554
คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกิน
300,000
บาท เป็นคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 (1) ซึ่งกรณีโจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ
หากศาลเห็นว่าคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง
ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา
191 วรรคสอง
ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาความที่กำหนดไว้สำหรับการพิจารณาคดีมโนสาเร่
บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้ดุลพินิจศาลที่จะสั่งหรือไม่สั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10389/2553
ป.วิ.พ. มาตรา 195 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่เช่นคดีนี้ด้วย
กล่าวคือ
กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ฯลฯ เมื่อคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยยื่นภายหลังล่วงพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด
จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถยื่นได้หรือไม่
ปรากฏข้อความที่จำเลยขอแก้ไขจากคำให้การเดิมว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้
เป็นลายมือชื่อปลอม การมอบอำนาจจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นว่า
ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอมและดวงตราที่ประทับก็ไม่ใช่ดวงตราประทับที่จดทะเบียนไว้
จึงเป็นการมอบอำนาจโดยมิชอบนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์
ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก
หรือมิฉะนั้นนับแต่วันยื่นคำให้การไปจนถึงวันสืบพยานโจทก์นัดแรกก็ยังมีระยะเวลานานเพียงพอที่จำเลยจะสามารถขอแก้ไขคำให้การได้ทัน
จึงไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น
อีกทั้งการขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวนั้น
ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
จึงไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากสืบพยานโจทก์แล้วเช่นนี้
จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2553
คดีมโนสาเร่มีบทบัญญัติตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 189 ถึงมาตรา 196 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไว้โดยเฉพาะและถึงแม้จะไม่ได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีใหม่ในคดีมโนสาเร่
แต่มาตรา 195 ก็ให้นำบทบัญญัติอื่นในประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีมโนสาเร่ด้วย
จึงนำมาตรา 199 ตรี
อันเป็นเรื่องของการพิจารณาใหม่และมาตราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอพิจารณาคดีใหม่มาใช้กับคดีมโนสาเร่ได้
อีกทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใด
ห้ามมิให้จำเลยซึ่งแพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การในคดีมโนสาเร่ที่จะขอให้พิจารณาคดีใหม่
ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
682/2553
ตามบทบัญญัติมาตรา 193
แห่งป.วิ.พ. กรณีจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การ
และศาลมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไป
โดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่
การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วศาลไกล่เกลี่ยต่อไป
เมื่อคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป
จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
15139/2551
โจทก์
บรรยายฟ้องโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของ โจทก์ว่า
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ. ขับและถูกจำเลยกระทำละเมิด
โดยโจทก์ได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ไปเป็นเงิน 41,526.97 บาท พร้อมดอกเบี้ย
จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ทำละเมิด
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม
กำหนดหลักเกณฑ์ให้ศาลปฏิบัติในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ดังนี้ (1)
ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน
ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน และ (2)
ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้
โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว
และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 41,526.97 บาท
พร้อมดอกเบี้ยนั้น
เป็นการอ้างเหตุว่าโจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกจำเลยกระทำ ละเมิด
อันเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องมาจากเรื่องละเมิดและเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่า
สินไหมทดแทน คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่ไม่อาจกำหนดจำนวนเงินได้โดยแน่นอน
ตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (2) ซึ่งบัญญัติให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว
และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอนตาม มาตรา
198 ทวิ วรรคสาม (1)
ที่ให้อำนาจศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการ
สืบพยานไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 25
มกราคม 2548 ว่าเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน
อนุญาตให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยาน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 198 ทวิ
วรรคสาม (2)
เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใน
ข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องพิจารณาคดีและการ
พิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งของศาลชั้น ต้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ก็ตาม ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา
243 (2),
247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8167/2551
ศาล ชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196
วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำ
ให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 )
แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้
ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477
ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวน
พิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการ
นั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.
มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบ
พิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา
ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา
243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4499/2551
จำเลย ที่ 1 และที่ 2
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2
จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท
ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248
วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5098/2550
ใน
คดีมโนสาเร่นั้นกฎหมายได้กำหนดกระบวนพิจารณาสำหรับกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลแตก
ต่างไปจากคดีแพ่งสามัญ การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัด
ข้องที่ไม่มาศาล ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป
ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193
ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีนี้ตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้ให้ถือว่าโจทก์ขาด
นัดพิจารณา ดังนั้น จึงนำมาตรา 202
ว่าด้วยการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญมาบังคับแก่คดีนี้หาได้ไม่
เพราะในคดีมโนสาเร่กฎหมายได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการดำเนินกระบวนพิจารณา
เมื่อโจทก์ไม่มาศาลไว้เป็นพิเศษแล้ว แม้จำเลยจะยื่นคำให้การและแจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการ
พิจารณาคดีต่อไป
ศาลก็ไม่อาจมีคำสั่งให้มีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 202
ดังที่จำเลยอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1524/2548
ศาล
ชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงิน 133,186.90 บาท
ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2545
ซึ่งไม่ตรงกับที่โจทก์ขอโดยไม่ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเนื่องจากศาลชั้นต้น
พิพากษาด้วยวาจาเพราะดำเนินคดีอย่างคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 วรรคท้าย
194,196 เนื้อหาของคำพิพากษาจึงมีเพียงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และรับผิดค่าฤชา
ธรรมเนียมเท่านั้น
แต่การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงตรงตามคำฟ้องโดยศาลชั้นต้นมิได้รับฟังข้อ
เท็จจริงแตกต่างจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งในคำพิพากษาก็ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่
จำเลยต้องรับผิดไม่เกิน 48,159.19 บาท สอดคล้องกับทางนำสืบของโจทก์
จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเห็นด้วยกับทางนำสืบของโจทก์ทุกประการ
เพียงแต่เขียนคำพิพากษาตามรูปแบบของคำพิพากษาด้วยวาจาระบุวันเดือนปีที่คิด
ดอกเบี้ยผิดพลาดไปจากข้อวินิจฉัย
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขวันเดือนปีที่คิดดอกเบี้ยเป็นวันที่ 29 ตุลาคม 2541
ให้ถูกต้อง จึงเป็นกรณีขอแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยตามมาตรา 143 วรรคหนึ่ง
มิใช่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6541/2547
ศาล
ชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากอย่างคดีมโนสาเร่
ซึ่งกฎหมายให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่ชักช้า
แต่ต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196
เมื่อปรากฏว่าจำเลยมาศาลในวันที่กำหนดไว้ในหมายเรียกและยื่นคำให้การเป็น
หนังสือพร้อมกับฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วย
ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจดูคำให้การและฟ้องแย้งนั้น แล้วสั่งให้รับไว้หรือคืนไปหรือสั่งไม่รับตามนัยแห่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสี่ เสียก่อน
หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งและยังคงให้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดี
มโนสาเร่ต่อไป
ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามคำให้การของโจทก์ทั้งสองก่อนว่าโจทก์ทั้งสองจะยื่นคำ
ให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาหรือไม่ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา
193 วรรคสาม
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การอย่างเดียวโดยยังไม่มีคำสั่งฟ้องแย้ง
ของจำเลยว่า รับหรือไม่รับหรือคืนแก่จำเลย
และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมีคำสั่งรับ ฟ้องแย้งของจำเลยในภายหลัง
และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่ง
รับฟ้องแย้งของจำเลยให้โจทก์ทั้งสองทราบและสอบถามโจทก์ทั้งสองว่าจะให้การ
แก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือกำหนดให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือไม่
หรือโจทก์ทั้งสองไม่ให้การแก้ฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
และการที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังว่าจำเลยชำระ
หนี้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว
โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสนำสืบแสดงพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น
จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.
ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการ
พิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้นเสียได้
แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7877/2546
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ
และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193
และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด
ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว
และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3)
โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้
ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา
198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง
จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก
ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า
ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า
จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล
และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัด ข้อง
แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย
โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8910/2543
บท
บัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีมโนสาเร่ให้สิทธิจำเลยยื่นคำให้การในวันที่มา
ศาลตามหมายเรียกของศาลหรือในวันอื่นต่อมาตามแต่ศาลจะเห็นสมควรก็ได้
โดยต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลย
เมื่อตามหมายเรียกของศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมาศาลเพื่อให้การแก้ข้อหา
และนัดสืบพยานในวันเดียวกันจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชี
ระบุพยานและสืบพยานจำเลยพร้อมทั้งอ้างส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3
ในวันดังกล่าวได้จำเลยไม่อาจส่งสำเนาเอกสารตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังเอกสารหมาย ล.1 ถึง
ล.3 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5265/2544
เนื้อหา
ของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีเพียงคำบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เท่านั้น
มิได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องอายุความอันเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งเป็นข้อต่อสู้
ของจำเลยแม้จะเป็นคดีมโนสาเร่ที่ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิพากษาคดีได้ด้วยวาจา
ซึ่งไม่จำต้องจดแจ้งรายการแห่งคดีหรือเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้
แต่ก็ต้องมีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีเรื่องอายุความนั้นด้วย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 141(5) คำพิพากษาดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4156/2543
ตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสองประกอบมาตรา 193 วรรคหนึ่ง
วรรคสอง วรรคสามและวรรคสี่เดิมกรณีที่จะถือว่าจำเลยในคดีไม่มีข้อยุ่งยากขาดนัดยื่น
คำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การโดยศาลไม่
ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ประการใดแต่คดีนี้ในวันนัดแก้ข้อ
หาและนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว
ทนายจำเลยได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี
และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วถือได้ว่าเป็นการเลื่อนทั้งคดี
ซึ่งหมายถึงการให้การแก้ข้อหาและสืบพยานโจทก์ด้วย
มิใช่กรณีที่จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมให้การ
และศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่ยอมให้เลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนิน
การพิจารณาต่อไปตามที่กฎหมายกำหนดแต่ประการใด
ศาลชั้นต้นจึงควรกำหนดวันนัดให้จำเลยแก้ข้อหาใหม่การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำ
สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
จำเลยจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การแต่อย่างใดแม้การที่จำเลย
ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งยกคำ ร้องก็ตาม
ก็หามีผลให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกลับเป็นคำ
สั่งที่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8108/2542
ใน คดีมโนสาเร่
จำเลยไปศาลตามหมายเรียกในวันนัดสืบพยานและมิได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือ
ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยว่าจะให้การด้วยวาจาหรือกำหนดให้จำเลย
ให้การด้วยวาจาหรือไม่ หรือจำเลยไม่ให้การหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไป
โดยไม่มีคำสั่งเรื่องคำให้การของจำเลยเสียก่อน
จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและการที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำให้การเป็น
พยานของจำเลย โดยถือเสมือนเป็นคำให้การต่อสู้คดีไปในตัวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยจะ
ต้องให้การเสียก่อนมีการสืบพยานเพื่อให้ทราบข้อทุ่มเถียงของจำเลยอันเป็น
ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี รวมทั้งหน้าที่นำสืบ แม้จะไม่ต้องทำการชี้สองสถานตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 182 ก็ตาม การที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังโดยโจทก์ไม่มี
โอกาสนำสืบ แสดงพยานหลักฐานให้เป็นไปอย่างอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง
ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังการให้เป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการ
พิจารณาพยานหลักฐาน ปัญหานี้ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้น เสียได้
แม้จำเลยจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247 ศาลฎีกาพิพากษา
ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ ถูกต้อง
แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2444/2542
แม้ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นคดีมโนสาเร่และยังไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่ง
ขณะจำเลยยื่นคำร้องแต่จำเลยยื่นคำให้การเป็นหนังสือไว้แล้วก่อนหน้านั้น
เมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะ
2 หมวดที่ 1ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่
จึงต้องนำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่งมาตรา
195 คือการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 179(3),180 เมื่อคำร้องขอแก้ไข เพิ่มเติมคำให้การของจำเลยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายดังกล่าว
โดยยื่นในวันเดียวกันกับวันสืบพยานโจทก์ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ไม่อาจยื่นคำ
ร้องได้ก่อน
หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิด
พลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตและยกคำร้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1459/2539
อุทธรณ์
ของจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดัง
ที่จำเลยอุทธรณ์จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่
พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ54,000บาทโดยไม่แยกทุนทรัพย์ตาม
ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาทจึงไม่ต้อง
ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง