มาตรา 64 เว้นแต่ศาลจะได้สั่งเป็นอย่างอื่น เมื่อคดีมีเหตุผลพิเศษ อันเกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทนายความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะ คู่ความหรือทนายความอาจตั้งแต่งให้บุคคลใดทำการแทน ได้โดยยื่นใบมอบฉันทะต่อศาลทุกครั้งเพื่อกระทำกิจการอย่างใด อย่างหนึ่งดั่งต่อไปนี้คือ กำหนดวันนั่งพิจารณาหรือวันสืบพยานหรือ วันฟังคำสั่งคำบังคับหรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาลมาฟังคำสั่ง คำบังคับ หรือคำชี้ขาดใด ๆ ของศาล หรือสลักหลังรับรู้ซึ่งข้อความนั้น ๆ รับสำเนาแห่งคำให้การคำร้องหรือเอกสารอื่น ๆ ตามที่บัญญัติไว้ ใน มาตรา 71 และ 72 และแสดงการรับรู้สิ่งเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2550
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนโดยเห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้รับมอบฉันทะของทนายจำเลยจดวัดนัดผิดพลาดฟังไม่ขึ้น ทั้งคำร้องของจำเลยมิได้แสดงข้อคัดค้านโดยชัดแจ้งซึ่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 207 ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยเพียงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าไต่สวนโดยไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2549
ในวันนัดสืบพยานดังกล่าวทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2548
การที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี คำว่า คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 1 มาศาลถือว่าคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา และนำเอากระบวนพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับแก่คดี ดังนั้น คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสสืบพยานของตน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5648/2548
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 กันยายน 2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 3 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยที่ 3 ป่วยเป็นไข้หวัดไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้จำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์นั้นเป็นการสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) ซึ่งมีผลห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยผิดหลงตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดจากมูลแห่งข้ออ้างนั้นใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา ดังนั้นคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าการที่ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วย ถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราเหตุโจทก์ไม่มาศาล จึงอยู่ในบังคับแห่งระยะเวลา 8 วัน ที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2548
หมายนัดมีข้อความว่า "นัดฟังประเด็นกลับและสืบพยาน" แม้มีการพิมพ์เพิ่มเติมคำว่า "และสืบพยาน" และ ไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ข้อความในหมายนัดดังกล่าวมีข้อความถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ในหนังสือส่งประเด็นคืนของศาลจังหวัดปทุมธานี ทั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ลงลายมือชื่อไว้ในหมายนัดตามระเบียบ การออกหมายนัดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัดหากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับ กำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใด ไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2547
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด การมอบฉันทะดังกล่าวก็เพื่อให้ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แทนโจทก์จนเสร็จการนั้นเอง ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะดังกล่าว การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา ให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วเช่นนี้ ก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2547
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 ซึ่งตามกฎหมายถือว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว แต่ทนายจำเลยมิได้รอฟังคำสั่ง และได้มาขอทราบคำสั่ง ซึ่งตามทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นการแจ้งคำสั่งให้คู่ความที่มาขอทราบคำสั่งทำโดยวิธีเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศาลลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ผิดเป็นว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเจ้าหน้าที่ศาลอีกคนหนึ่งแจ้งข้อมูลที่ผิดดังกล่าว โดยเขียนข้อความว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 ในใบมอบฉันทะด้วย เช่นนี้แม้ทนายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 2 วัน ก็น่าเชื่อว่าทนายจำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเนื่องจากวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 เป็นวันหยุดราชการ ทนายจำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546
ทนายจำเลยที่ 1 เคยขอเลื่อนคดีมาแล้วสองครั้ง ครั้งที่สามนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายศาล และยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบเรื่องการถอนตัวไว้ในคำร้องดังกล่าวด้วยแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าแล้วว่าในวันนัดนี้ตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทน หรืออย่างน้อยตัวจำเลยที่ 1 ก็น่าจะมาศาลเพื่อแถลงขอเลื่อนคดีไปก่อน ทั้งตามคำร้องขอถอนทนายดังกล่าวก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดีมาด้วยจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจขอเลื่อนคดีหาใช่ว่าคำร้องขอถอนทนายเท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัวไม่ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อไปในทางประวิงคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจสืบพยานโดยสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 พร้อมกับมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546
อายุความฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ดังนั้น เช็คลงวันที่ 5 สิงหาคม2540 ย่อมครบกำหนดอายุความในวันที่ 5 สิงหาคม 2541 ปรากฏว่าในวันครบกำหนดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดีแต่เงินที่เสมียนทนายเตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียม เสมียนทนายจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่า "รับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วนเพื่อพิจารณาต่อไป" คำสั่งดังกล่าวเท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ แต่การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนการที่ศาลจังหวัดขอนแก่นจะส่งคำฟ้องไปให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาสั่งในภายหลังก็เป็นขั้นตอนปฏิบัติของศาลมิได้เกี่ยวกับคู่ความ แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็หามีผลทำให้คดีของโจทก์ที่ยื่นฟ้องภายในกำหนดอายุความกลับกลายเป็นคดีที่ขาดอายุความไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2545
แม้เจ้าหนี้จะใช้ใบมอบฉันทะไม่ถูกต้องตามแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง ตามประกาศศาลล้มละลายกลาง ที่ 1/2542 แต่ข้อความในใบมอบฉันทะดังกล่าวก็ครบถ้วนดังเช่นข้อความในแบบพิมพ์ใบมอบฉันทะ (แบบ ล.6) ท้ายประกาศศาลล้มละลายกลางจะผิดไปก็เพียงขนาดใบมอบฉันทะของเจ้าหนี้ยาวกว่าใบมอบฉันทะตามแบบพิมพ์ที่ศาลล้มละลายกลางประกาศไว้ประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งอาจจะเป็นเพียงไม่เรียบร้อยเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ใบมอบฉันทะเสียไปแต่อย่างใดไม่ และในชั้นตรวจคำร้องคัดค้านหากศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ใบมอบฉันทะใช้กระดาษผิดขนาดไปก็ควรสั่งคืนให้เจ้าหนี้ไปทำมาใหม่ภายในเวลาที่ศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงสมควรรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ไว้เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาดำเนินการต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2544
จำเลยมอบอำนาจให้ ภ. บุตรชายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแทน โดยในใบมอบฉันทะระบุข้อความว่า จำเลยยอมรับผิดในกรณีที่ผู้รับมอบฉันทะของจำเลยได้ทำการไปนั้นทุกประการ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลยโดย ภ. ได้ลงลายมือชื่อทราบกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่แล้ว ถือได้ว่า ภ. เป็นผู้มีสิทธิทำการแทนจำเลยในการขอเลื่อนคดีและกำหนดวันนัด เมื่อ ภ. ได้ทราบวันนัดพิจารณาแล้วจึงถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่จำเลยอ้างว่าเข้าใจผิดและไม่มีเจตนาที่จะไม่ไปศาลในวันนัดดังกล่าว เป็นเรื่องความเข้าใจผิดโดยมีมูลเหตุมาจากความเข้าใจของจำเลยเอง ถือว่าเป็นการจงใจของจำเลยที่จะไม่ไปศาลตามกำหนดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544
ในวันนัดพิจารณาครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มิถุนายน 2542ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาศาล เมื่อเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 กรกฎาคม2542 ซึ่งเสมียนทนายได้ทราบวันนัดแล้ว การที่เสมียนทนายทราบวันนัดต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดนั้นด้วย เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล เพียงแต่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร สงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 สิงหาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 182 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2544
เมื่อ ส. ผู้รับมอบฉันทะทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ต้องถือว่าทนายโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวเช่นกันทั้งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์มิได้แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปตามกำหนดอันเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2550
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนโดยเห็นว่าข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้รับมอบฉันทะของทนายจำเลยจดวัดนัดผิดพลาดฟังไม่ขึ้น ทั้งคำร้องของจำเลยมิได้แสดงข้อคัดค้านโดยชัดแจ้งซึ่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 207 ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยเพียงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยมีโอกาสนำพยานเข้าไต่สวนโดยไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดีโดยขาดนัดพิจารณา จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2549
ในวันนัดสืบพยานดังกล่าวทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2548
การที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี คำว่า คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 1 มาศาลถือว่าคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา และนำเอากระบวนพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับแก่คดี ดังนั้น คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสสืบพยานของตน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5648/2548
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 กันยายน 2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 3 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยที่ 3 ป่วยเป็นไข้หวัดไม่อาจมาศาลได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ให้จำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์นั้นเป็นการสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) ซึ่งมีผลห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ และมิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งโดยผิดหลงตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดจากมูลแห่งข้ออ้างนั้นใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา ดังนั้นคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าการที่ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วย ถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราเหตุโจทก์ไม่มาศาล จึงอยู่ในบังคับแห่งระยะเวลา 8 วัน ที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2548
หมายนัดมีข้อความว่า "นัดฟังประเด็นกลับและสืบพยาน" แม้มีการพิมพ์เพิ่มเติมคำว่า "และสืบพยาน" และ ไม่มีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ข้อความในหมายนัดดังกล่าวมีข้อความถูกต้องตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ในหนังสือส่งประเด็นคืนของศาลจังหวัดปทุมธานี ทั้งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้ลงลายมือชื่อไว้ในหมายนัดตามระเบียบ การออกหมายนัดดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้หมายนัดจะมีข้อความว่านัดสืบพยานโดยมิได้ระบุให้ชัดเจนว่านัดสืบพยานโจทก์ แต่คดียังอยู่ในขั้นตอนการสืบพยานโจทก์ และโจทก์มีพยานบุคคลอีกหลายปากที่เป็นพยานนำ ซึ่งโจทก์จะต้องนำมาสืบต่อศาลชั้นต้น ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานไว้จึงหมายถึงนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์จะต้องนำพยานมาสืบตามนัดหากมีเหตุขัดข้องไม่อาจนำพยานมาสืบได้ โจทก์ก็ควรยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่ทนายโจทก์เพียงแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายโจทก์มาฟังประเด็นกลับ กำหนดวันนัดสืบพยาน และรับทราบคำสั่งศาลเท่านั้น โดยมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วย แสดงว่าโจทก์มิได้เอาใจใส่คดีของตนว่าศาลชั้นต้นนัดมาเพื่อพิจารณาในเรื่องใด ไม่นำพยานมาสืบตามหน้าที่นำสืบและตามที่ ศาลชั้นต้นนัด ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9015/2547
ใบมอบฉันทะของโจทก์ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ว. ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 และลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งศาลในคดีนี้โดยมิได้ระบุว่าให้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในวันเวลาใด การมอบฉันทะดังกล่าวก็เพื่อให้ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 แทนโจทก์จนเสร็จการนั้นเอง ตราบใดที่ยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว. ก็ยังมีอำนาจฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อยู่จนกว่าโจทก์จะถอนหรือยกเลิกใบมอบฉันทะดังกล่าว การที่ ว. มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 16.15 นาฬิกา หลังจากที่ศาลมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 10 นาฬิกา ให้เลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปเป็นวันที่ 11 มีนาคม 2546 เวลา 9 นาฬิกา และออกหมายจับจำเลยรวมทั้งปรับนายประกันแล้วเช่นนี้ ก็ต้องถือว่า ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบฉันทะจากโจทก์ มิใช่กระทำโดยพลการตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ ว. ฟังก็ต้องถือว่าได้อ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้โจทก์ฟังโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2547
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 ซึ่งตามกฎหมายถือว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว แต่ทนายจำเลยมิได้รอฟังคำสั่ง และได้มาขอทราบคำสั่ง ซึ่งตามทางปฏิบัติของศาลชั้นต้นการแจ้งคำสั่งให้คู่ความที่มาขอทราบคำสั่งทำโดยวิธีเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ และปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศาลลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ผิดเป็นว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเจ้าหน้าที่ศาลอีกคนหนึ่งแจ้งข้อมูลที่ผิดดังกล่าว โดยเขียนข้อความว่าอนุญาตถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 ในใบมอบฉันทะด้วย เช่นนี้แม้ทนายจำเลยจะยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด 2 วัน ก็น่าเชื่อว่าทนายจำเลยเชื่อโดยสุจริตใจว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 และเนื่องจากวันที่ 9 พฤษภาคม 2545 เป็นวันหยุดราชการ ทนายจำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2546
ทนายจำเลยที่ 1 เคยขอเลื่อนคดีมาแล้วสองครั้ง ครั้งที่สามนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายศาล และยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับทราบเรื่องการถอนตัวไว้ในคำร้องดังกล่าวด้วยแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบล่วงหน้าแล้วว่าในวันนัดนี้ตนจะไม่มีทนายความต่อสู้คดีให้ชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทน หรืออย่างน้อยตัวจำเลยที่ 1 ก็น่าจะมาศาลเพื่อแถลงขอเลื่อนคดีไปก่อน ทั้งตามคำร้องขอถอนทนายดังกล่าวก็มิได้ร้องขอเลื่อนคดีมาด้วยจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจขอเลื่อนคดีหาใช่ว่าคำร้องขอถอนทนายเท่ากับเป็นการขอเลื่อนคดีอยู่ในตัวไม่ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ส่อไปในทางประวิงคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำพยานเข้าสืบและถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจสืบพยานโดยสั่งงดสืบพยานจำเลยที่ 1 พร้อมกับมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2546
อายุความฟ้องร้องผู้สั่งจ่ายเช็คมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ดังนั้น เช็คลงวันที่ 5 สิงหาคม2540 ย่อมครบกำหนดอายุความในวันที่ 5 สิงหาคม 2541 ปรากฏว่าในวันครบกำหนดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นซึ่งโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ว่า โจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลจังหวัดอุดรธานีที่มีเขตศาลเหนือคดีแต่เงินที่เสมียนทนายเตรียมไปไม่พอกับค่าธรรมเนียม เสมียนทนายจึงนำคำฟ้องกลับมาที่จังหวัดขอนแก่นและแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อเวลา 16 นาฬิกา อันเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์ไม่สามารถกลับไปยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานีได้ทัน จึงขออนุญาตยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งในคำร้องว่า "รับไว้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีโดยด่วนเพื่อพิจารณาต่อไป" คำสั่งดังกล่าวเท่ากับยอมรับว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 แม้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นจะมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ แต่การที่ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่นสั่งรับคำร้องและให้ส่งศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาโดยด่วนนั้น ย่อมถือได้ว่าศาลจังหวัดขอนแก่นได้ยอมรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนการที่ศาลจังหวัดขอนแก่นจะส่งคำฟ้องไปให้ศาลจังหวัดอุดรธานีพิจารณาสั่งในภายหลังก็เป็นขั้นตอนปฏิบัติของศาลมิได้เกี่ยวกับคู่ความ แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ภายหลังก็หามีผลทำให้คดีของโจทก์ที่ยื่นฟ้องภายในกำหนดอายุความกลับกลายเป็นคดีที่ขาดอายุความไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2545
แม้เจ้าหนี้จะใช้ใบมอบฉันทะไม่ถูกต้องตามแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง ตามประกาศศาลล้มละลายกลาง ที่ 1/2542 แต่ข้อความในใบมอบฉันทะดังกล่าวก็ครบถ้วนดังเช่นข้อความในแบบพิมพ์ใบมอบฉันทะ (แบบ ล.6) ท้ายประกาศศาลล้มละลายกลางจะผิดไปก็เพียงขนาดใบมอบฉันทะของเจ้าหนี้ยาวกว่าใบมอบฉันทะตามแบบพิมพ์ที่ศาลล้มละลายกลางประกาศไว้ประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งอาจจะเป็นเพียงไม่เรียบร้อยเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ใบมอบฉันทะเสียไปแต่อย่างใดไม่ และในชั้นตรวจคำร้องคัดค้านหากศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ใบมอบฉันทะใช้กระดาษผิดขนาดไปก็ควรสั่งคืนให้เจ้าหนี้ไปทำมาใหม่ภายในเวลาที่ศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงสมควรรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ไว้เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาดำเนินการต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2544
จำเลยมอบอำนาจให้ ภ. บุตรชายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแทน โดยในใบมอบฉันทะระบุข้อความว่า จำเลยยอมรับผิดในกรณีที่ผู้รับมอบฉันทะของจำเลยได้ทำการไปนั้นทุกประการ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานจำเลยโดย ภ. ได้ลงลายมือชื่อทราบกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่แล้ว ถือได้ว่า ภ. เป็นผู้มีสิทธิทำการแทนจำเลยในการขอเลื่อนคดีและกำหนดวันนัด เมื่อ ภ. ได้ทราบวันนัดพิจารณาแล้วจึงถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้ว การที่จำเลยอ้างว่าเข้าใจผิดและไม่มีเจตนาที่จะไม่ไปศาลในวันนัดดังกล่าว เป็นเรื่องความเข้าใจผิดโดยมีมูลเหตุมาจากความเข้าใจของจำเลยเอง ถือว่าเป็นการจงใจของจำเลยที่จะไม่ไปศาลตามกำหนดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2544
ในวันนัดพิจารณาครั้งสุดท้ายวันที่ 15 มิถุนายน 2542ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมาศาล เมื่อเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 กรกฎาคม2542 ซึ่งเสมียนทนายได้ทราบวันนัดแล้ว การที่เสมียนทนายทราบวันนัดต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดนั้นด้วย เมื่อถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล เพียงแต่ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนโดยอ้างว่าจำเลยไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุสมควร สงสัยได้ว่าจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและให้นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 สิงหาคม 2542 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้นหนึ่งเดือนแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาได้อ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบและถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 182 วรรคสาม ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2544
เมื่อ ส. ผู้รับมอบฉันทะทนายโจทก์ลงชื่อรับทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของโจทก์และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ต้องถือว่าทนายโจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าวเช่นกันทั้งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์มิได้แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปตามกำหนดอันเป็นการกระทำโดยฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4324/2543
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ทนายจำเลยคนเดิมไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าศาลแรงงานกลางนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษาและทนายจำเลยไม่อยู่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ เป็นการอ้างเหตุที่จำเลยขาดนัดพิจารณาว่าเกิดจากจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดของศาล
ทนายจำเลยมอบฉันทะให้เสมียนทนายมากำหนดวันนัดรับทราบคำสั่งศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาลศาลแรงงานกลางให้เลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์โดยให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลแทนการส่งหมายถึงวันนัดจำเลยไม่มาศาล ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณา แล้วสืบพยานโจทก์จนเสร็จ และพิพากษาคดีไปในวันเดียวกัน การที่ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยลงลายมือชื่อทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ มีผลเท่ากับทนายจำเลยทราบกำหนดนัดด้วยตามข้อความในใบมอบฉันทะที่ระบุว่าให้ผู้รับมอบฉันทะทำการแทนโดยทนายจำเลยยอมรับผิดชอบทุกประการในการกำหนดวันนัด รับทราบคำสั่ง และทนายจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงต้องถือว่าจำเลยทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ทราบกำหนดนัดสืบพยานโจทก์เพราะทนายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบเพื่อเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้