มาตรา 61 การตั้งทนายความนั้นต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวน ใบแต่ง ทนายนี้ให้ใช้ได้เฉพาะคดีเรื่องหนึ่ง ๆ ตามที่ได้ยื่นไว้เท่านั้น เมื่อ ทนายความผู้ใดได้รับมอบอำนาจทั่วไปที่จะแทนบุคคลอื่นไม่ว่าใน คดีใด ๆ ให้ทนายความผู้นั้นแสดงใบมอบอำนาจทั่วไปแล้วคัดสำเนา ยื่นต่อศาลแทนใบแต่งทนาย เพื่อดำเนินคดีเป็นเรื่อง ๆ ไปตาม ความใน มาตรานี้
มาตรา 62 ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการ สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้ พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 61 บังคับกรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิบัติหรือ แก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตน ในศาลในขณะนั้นก็ได้แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวน สิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี
มาตรา 63 บทบัญญัติแห่ง มาตรา ก่อนนี้ไม่ตัดสิทธิตัวความในอัน ที่จะตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อ ให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชำระไว้ในศาล หรือวางไว้ยังศาลเป็นเงิน ค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่นและศาลได้สั่งให้จ่ายคืนหรือส่งมอบให้แก่ ตัวความฝ่ายนั้นแต่ถ้าศาลนั้นมีความสงสัยในความสามารถหรือ ตัวบุคคล ผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับตั้งแต่งดั่งกล่าวข้างต้น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ตัวความหรือทนายความหรือทั้งสองคน ให้มาศาลโดยตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2551
เมื่อมีผู้บริโภคหลายรายรวมทั้งผู้บริโภคหกรายที่ได้ร้องเรียนต่อโจทก์ว่าถูก จำเลยละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งหก โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่ จำเลยอันเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมได้โดยไม่จำ ต้องให้ผู้บริโภคทั้งหกทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดี และเมื่อโจทก์มีคำสั่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้ บริโภคในศาลแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีเองได้โดยไม่จำต้องได้รับแต่งตั้งเป็นทนาย ความอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8765 - 8766/2550
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทั้งสี่และตามใบแต่งทนายความของจำเลยนอกจากจะมี ข้อความแต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์ทั้งสี่และของจำเลยแล้วยังมีข้อความ ระบุชัดเจนอย่างเดียวกันว่า ให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของผู้แต่งทนายความได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายโจทก์ทั้งสี่และทนายจำเลยจึงมีอำนาจแถลงรับข้อเท็จจริงซึ่งต่างฝ่ายต่าง แถลงได้ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการแถลงรับข้อเท็จจริงกันจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มา โดยชอบและรับฟังตามที่แถลงได้ กรณีมิใช่ตัวความอ้างทนายความของตนเป็นพยานซึ่งจะต้องยื่นบัญชีระบุทนายความ เป็นพยานฝ่ายตนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2550
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิด ระเบียบ หากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใดก็ชอบที่ต้องไปว่า กล่าวเอาแก่ทนายความของจำเลยตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไป ได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวน พิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดีได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2542
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. กระทำการและดำเนินการแทนในกิจการดังต่อไปนี้... เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง... เพื่อป้องกันรักษาผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินของโจทก์ การมอบอำนาจในลักษณะนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา 801 แห่ง ป.พ.พ. แต่ก็มีการมอบอำนาจรวมถึงการฟ้องคดีแทนด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด และแม้ว่าขณะมอบอำนาจมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจดังกล่าวเสียไป พ. จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอำนาจตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 801 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไป ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่น ใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณา ของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี แก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไข ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2539
ตามหนังสือรับรองมีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการว่าในการทำนิติกรรมต่างๆและการสั่งจ่ายเงินในนมของห้างหุ้นส่วนจำกัดว. โจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราสำคัญของโจทก์ที่1ฉะนั้นในการตั้งทนายความซึ่งเป็นการทำนิติกรรมในนามของโจทก์ที่1อย่างหนึ่งโจทก์ที่2จึงต้องลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับค. และประทับตามสำคัญของโจทก์ที่1ด้วยทนายความจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในนามโจทก์ที่1ได้ส่วนที่โจทก์ที่2ระบุในคำฟ้องว่าเป็นโจทก์ที่2ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าเงินที่นำไปซื้อทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ที่1โจทก์ที่2ในฐานะหุ้นส่วนจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8271/2538
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจ ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพและค่าซ่อมรถจากกรณีรถชน แม้จะมีข้อความด้วยว่า ให้มีอำนาจเป็นผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ถ้อยคำถอนคำร้องทุกข์ มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีและเข้าเป็นโจทก์ร่วมในชั้นศาล มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้ทุกประการรวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินการไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการสละสิทธิหรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาหรือในการขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี มีสิทธิรับเงิน เอกสารหรือสิ่งของอื่น ๆ ไปจากศาลหรือเจ้าพนักงานศาล มีอำนาจแต่ตั้งทนายความและหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆเหล่านี้ก็เป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการเรียกค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ และค่าซ่อมรถจากกรณีรถชนและแม้จะมีข้อความให้ดำเนินการในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวนอยู่ด้วยก็เป็นการกระทำในเรื่องเดียวกันเกี่ยวกับกรณีรถชนดังกล่าวจึงเป็นมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2538
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ว.ดำเนินคดีนี้แทนและระบุเลขคดี ชื่อศาล กับชื่อคู่ความไว้โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ เช่น ยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา การขอให้พิจารณาใหม่ รวมทั้งมีอำนาจรับเอกสารคืนจากศาล การแต่งตั้งตัวแทนช่วงเพื่อการนี้ด้วย เป็นการที่จำเลยมอบ อำนาจให้ ดำเนินคดีแทนเฉพาะคดีนี้ ถือว่ามอบอำนาจให้กระทำการ ครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) การที่จำเลยมอบอำนาจให้ ว. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมหมายถึงให้มีอำนาจในการต่อสู้คดีซึ่งรวมถึงมีอำนาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ด้วยและผู้รับมอบอำนาจย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538
โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538
การที่ทนายจำเลยซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2528มาตรา44(3)ทำการเป็นทนายความโดยเรียงคำให้การยื่นต่อศาลและดำเนินกระบวนพิจารณาว่าความอย่างทนายความในศาลชั้นต้นนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา33การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาจนกระทั่งพิพากษาคดีแต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความของตนเข้ามาในคดีให้ถูกต้องกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายและยื่นคำให้การเข้ามาใหม่แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ต่อไปตามวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2536
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.ฟ้องโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและผู้จัดการมรดกของ ข. กับ ล. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุคคลทั้งสองและให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดทั้งแต่งตั้งทนายความเข้าดำเนินคดี ดังนี้ ตามข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมมีความหมายรวมถึงให้ตั้งทนายความแก้ต่างคดีและทำคำให้การแก้คดีได้ด้วย จ.จึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งให้ทนายความทำคำให้การต่อสู้คดีในคดีที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลย อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ล. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบ หมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและ ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2531
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงจากภรรยาจำเลยในประเทศไทยว่า จำเลยจะถูกฟ้องข้อหาให้สินบนเจ้าพนักงานหรือไม่ และขอคำแนะนำทางด้านกฎหมาย ถ้าจำเป็นก็ให้ตั้งทนายความสู้คดี โดยกำหนดจำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นค่าจ้างเหมาในกิจการดังกล่าว การที่โจทก์สืบสวนข้อเท็จจริงให้คำปรึกษาและแนะนำแก่จำเลย เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าคู่กรณีต่างตกลงคิดค่าจ้างกันเป็นรายชั่วโมงหรือโจทก์แจ้งจำเลยขอคิดค่าจ้างนอกเหนือจากเงินจำนวน 20,000 บาทเป็นพิเศษ ต้องถือว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์กระทำการในวงเงิน 20,000 บาท โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนอกวงเงินที่จำเลยกำหนด แม้เพื่อใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว
มาตรา 62 ทนายความซึ่งคู่ความได้ตั้งแต่งนั้นมีอำนาจว่าความ และดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ความนั้น แต่ถ้ากระบวนพิจารณาใด เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เช่น การยอมรับตามที่คู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการ สละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกา หรือในการขอให้ พิจารณาคดีใหม่ ทนายความไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวน พิจารณาเช่นว่านี้ได้โดยมิได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง อำนาจโดยชัดแจ้งเช่นว่านี้จะระบุให้ไว้ในใบแต่งทนายสำหรับคดี เรื่องนั้น หรือทำเป็นใบมอบอำนาจต่างหากในภายหลังใบเดียว หรือหลายใบก็ได้และในกรณีหลังนี้ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 61 บังคับกรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ตัวความหรือผู้แทนจะปฏิบัติหรือ แก้ไขข้อเท็จจริงที่ทนายความของตนได้กล่าวด้วยวาจาต่อหน้าตน ในศาลในขณะนั้นก็ได้แม้ถึงว่าตัวความหรือผู้แทนนั้นจะมิได้สงวน สิทธิเช่นนั้นไว้ในใบแต่งทนายก็ดี
มาตรา 63 บทบัญญัติแห่ง มาตรา ก่อนนี้ไม่ตัดสิทธิตัวความในอัน ที่จะตั้งแต่งผู้แทนหรือทนายความ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อ ให้รับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งได้ชำระไว้ในศาล หรือวางไว้ยังศาลเป็นเงิน ค่าธรรมเนียมหรืออย่างอื่นและศาลได้สั่งให้จ่ายคืนหรือส่งมอบให้แก่ ตัวความฝ่ายนั้นแต่ถ้าศาลนั้นมีความสงสัยในความสามารถหรือ ตัวบุคคล ผู้แทน หรือทนายความซึ่งได้รับตั้งแต่งดั่งกล่าวข้างต้น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ตัวความหรือทนายความหรือทั้งสองคน ให้มาศาลโดยตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2551
เมื่อมีผู้บริโภคหลายรายรวมทั้งผู้บริโภคหกรายที่ได้ร้องเรียนต่อโจทก์ว่าถูก จำเลยละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้งหก โจทก์ในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่ จำเลยอันเป็นการดำเนินคดีเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมได้โดยไม่จำ ต้องให้ผู้บริโภคทั้งหกทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดี และเมื่อโจทก์มีคำสั่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้ บริโภคในศาลแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีเองได้โดยไม่จำต้องได้รับแต่งตั้งเป็นทนาย ความอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8765 - 8766/2550
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทั้งสี่และตามใบแต่งทนายความของจำเลยนอกจากจะมี ข้อความแต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์ทั้งสี่และของจำเลยแล้วยังมีข้อความ ระบุชัดเจนอย่างเดียวกันว่า ให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ไปในทางจำหน่ายสิทธิของผู้แต่งทนายความได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทนายโจทก์ทั้งสี่และทนายจำเลยจึงมีอำนาจแถลงรับข้อเท็จจริงซึ่งต่างฝ่ายต่าง แถลงได้ ข้อเท็จจริงที่ได้จากการแถลงรับข้อเท็จจริงกันจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มา โดยชอบและรับฟังตามที่แถลงได้ กรณีมิใช่ตัวความอ้างทนายความของตนเป็นพยานซึ่งจะต้องยื่นบัญชีระบุทนายความ เป็นพยานฝ่ายตนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5784/2550
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิด ระเบียบ หากจำเลยซึ่งเป็นตัวการได้รับความเสียหายเป็นประการใดก็ชอบที่ต้องไปว่า กล่าวเอาแก่ทนายความของจำเลยตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีทางดำเนินคดีต่อไป ได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมย่อมถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ดังนั้น จำเลยจะมาฟ้องร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยอ้างว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหาได้ไม่
คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นอำนาจของศาลที่ทำการไต่สวนได้ตามที่เห็นสมควรตามมาตรา 21 (4) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้งว่ามิได้มีการดำเนินกระบวน พิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดีได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการ ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2548
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกา คดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548
ส.ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้น ต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่น อุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่น ต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการ ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2548
คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้และคำฟ้องฎีกาของจำเลย ที่ บ. ทนายเป็นผู้ยื่นคำร้องและฎีกาแทนจำเลย แต่ตามใบแต่งทนายความที่จำเลยแต่งให้ บ. ทนายความของจำเลยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจใช้สิทธิในการฎีกา บ. ทนายความของจำเลยจึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกา คดีนี้แทนจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คำร้องขอขยายระยะเวลา คำร้องขอให้รับรองฎีกาว่ามีเหตุอันควรฎีกาได้ และคำฟ้องฎีกา จึงเป็นคำร้องและคำฟ้องไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาและมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548
ส.ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้น ต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่น อุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่น ต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2542
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ พ. กระทำการและดำเนินการแทนในกิจการดังต่อไปนี้... เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่ง... เพื่อป้องกันรักษาผลประโยชน์หรือสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินของโจทก์ การมอบอำนาจในลักษณะนี้แม้จะเป็นการมอบอำนาจทั่วไปตามมาตรา 801 แห่ง ป.พ.พ. แต่ก็มีการมอบอำนาจรวมถึงการฟ้องคดีแทนด้วย ทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด และแม้ว่าขณะมอบอำนาจมูลหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจดังกล่าวเสียไป พ. จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอำนาจตั้งทนายความฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 801 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ ให้ถูกต้องเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการ ดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไป ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่น ใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณา ของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี แก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไข ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2539
ตามหนังสือรับรองมีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการว่าในการทำนิติกรรมต่างๆและการสั่งจ่ายเงินในนมของห้างหุ้นส่วนจำกัดว. โจทก์ที่1ให้โจทก์ที่2ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราสำคัญของโจทก์ที่1ฉะนั้นในการตั้งทนายความซึ่งเป็นการทำนิติกรรมในนามของโจทก์ที่1อย่างหนึ่งโจทก์ที่2จึงต้องลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับค. และประทับตามสำคัญของโจทก์ที่1ด้วยทนายความจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องในนามโจทก์ที่1ได้ส่วนที่โจทก์ที่2ระบุในคำฟ้องว่าเป็นโจทก์ที่2ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่าเงินที่นำไปซื้อทรัพย์พิพาทเป็นของโจทก์ที่1โจทก์ที่2ในฐานะหุ้นส่วนจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทให้โจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8271/2538
ข้อความในหนังสือมอบอำนาจ ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลแพ่งเรียกค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพและค่าซ่อมรถจากกรณีรถชน แม้จะมีข้อความด้วยว่า ให้มีอำนาจเป็นผู้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ให้ถ้อยคำถอนคำร้องทุกข์ มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีและเข้าเป็นโจทก์ร่วมในชั้นศาล มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้ทุกประการรวมทั้งให้มีอำนาจดำเนินการไปในทางจำหน่ายสิทธิของโจทก์ได้ด้วย เช่น การยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้อง การประนีประนอมยอมความการสละสิทธิหรือการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาหรือในการขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี มีสิทธิรับเงิน เอกสารหรือสิ่งของอื่น ๆ ไปจากศาลหรือเจ้าพนักงานศาล มีอำนาจแต่ตั้งทนายความและหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆเหล่านี้ก็เป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องการเรียกค่าสินไหมทดแทนค่าปลงศพ และค่าซ่อมรถจากกรณีรถชนและแม้จะมีข้อความให้ดำเนินการในชั้นสอบสวนของพนักงานสอบสวนอยู่ด้วยก็เป็นการกระทำในเรื่องเดียวกันเกี่ยวกับกรณีรถชนดังกล่าวจึงเป็นมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียวต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 10 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2538
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยมอบอำนาจให้ ว.ดำเนินคดีนี้แทนและระบุเลขคดี ชื่อศาล กับชื่อคู่ความไว้โดยให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ เช่น ยอมรับตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเรียกร้อง การถอนฟ้องการประนีประนอมยอมความ การสละสิทธิการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ฎีกา การขอให้พิจารณาใหม่ รวมทั้งมีอำนาจรับเอกสารคืนจากศาล การแต่งตั้งตัวแทนช่วงเพื่อการนี้ด้วย เป็นการที่จำเลยมอบ อำนาจให้ ดำเนินคดีแทนเฉพาะคดีนี้ ถือว่ามอบอำนาจให้กระทำการ ครั้งเดียว ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 และบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) การที่จำเลยมอบอำนาจให้ ว. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมหมายถึงให้มีอำนาจในการต่อสู้คดีซึ่งรวมถึงมีอำนาจฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ด้วยและผู้รับมอบอำนาจย่อมตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538
โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538
การที่ทนายจำเลยซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2528มาตรา44(3)ทำการเป็นทนายความโดยเรียงคำให้การยื่นต่อศาลและดำเนินกระบวนพิจารณาว่าความอย่างทนายความในศาลชั้นต้นนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา33การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาจนกระทั่งพิพากษาคดีแต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความของตนเข้ามาในคดีให้ถูกต้องกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายและยื่นคำให้การเข้ามาใหม่แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ต่อไปตามวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2536
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.ฟ้องโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและผู้จัดการมรดกของ ข. กับ ล. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุคคลทั้งสองและให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดทั้งแต่งตั้งทนายความเข้าดำเนินคดี ดังนี้ ตามข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมมีความหมายรวมถึงให้ตั้งทนายความแก้ต่างคดีและทำคำให้การแก้คดีได้ด้วย จ.จึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งให้ทนายความทำคำให้การต่อสู้คดีในคดีที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลย อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ล. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2535
จำเลยได้รับแต่งตั้งจากผู้เสียหายให้เป็นทนายความของผู้เสียหายโดยมิได้รับมอบ หมายให้รับเงินแทนผู้เสียหาย ดังนั้นจำเลยในฐานะเป็นทนายความของผู้เสียหายจึงเพียงแต่มีอำนาจว่าความและ ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ แทนผู้เสียหายได้เท่านั้น จำเลยหามีอำนาจที่จะรับเงินซึ่งจะชำระแก่ผู้เสียหายไม่ ผู้เสียหายจ้างจำเลยเป็นทนายความให้ฟ้องเรียกเงินกู้จาก ค.ต่อมาผู้เสียหายกับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยค.ยอมชำระเงิน 45,000 บาท แก่ผู้เสียหาย ชำระให้ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ 10,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 35,000 บาทจะผ่อนชำระ ต่อมา ค.ได้นำเงิน 35,000 บาท ที่เหลือไปชำระให้แก่จำเลย จำเลยรับเงินดังกล่าวโดยผู้เสียหายไม่ได้มอบหมายให้จำเลยมีอำนาจรับเงินจาก ค.แทนผู้เสียหาย ฉะนั้น เงินที่จำเลยรับไว้จาก ค. จึงยังมิใช่เป็นเงินของผู้เสียหาย แม้จะฟังว่าจำเลยได้เบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวไว้เป็นของตนโดยทุจริตก็ ตามก็ยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 190/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2531
จำเลยตกลงจ้างโจทก์ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงจากภรรยาจำเลยในประเทศไทยว่า จำเลยจะถูกฟ้องข้อหาให้สินบนเจ้าพนักงานหรือไม่ และขอคำแนะนำทางด้านกฎหมาย ถ้าจำเป็นก็ให้ตั้งทนายความสู้คดี โดยกำหนดจำนวนเงิน 20,000 บาท เป็นค่าจ้างเหมาในกิจการดังกล่าว การที่โจทก์สืบสวนข้อเท็จจริงให้คำปรึกษาและแนะนำแก่จำเลย เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าคู่กรณีต่างตกลงคิดค่าจ้างกันเป็นรายชั่วโมงหรือโจทก์แจ้งจำเลยขอคิดค่าจ้างนอกเหนือจากเงินจำนวน 20,000 บาทเป็นพิเศษ ต้องถือว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์กระทำการในวงเงิน 20,000 บาท โจทก์ไม่อาจเรียกร้องเอาเงินค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนอกวงเงินที่จำเลยกำหนด แม้เพื่อใช้จ่ายในกิจการดังกล่าว