Pages

ฎีกา และการขออนุญาตฎีกา

ลักษณะ ๒

ฎีกา


มาตรา ๒๔๗ การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา


การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา และให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยคำร้องให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว


มาตรา ๒๔๘ คำร้องตามมาตรา ๒๔๗ ให้พิจารณาและวินิจฉัยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ประธานศาลฎีกาแต่งตั้ง ซึ่งประกอบด้วยรองประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาอีกอย่างน้อยสามคนการวินิจฉัยให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้บังคับตามความเห็นของฝ่ายที่เห็นควรอนุญาตให้ฎีกา


มาตรา ๒๔๙ ให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาตามมาตรา ๒๔๗ ได้ เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย


ปัญหาสำคัญตามวรรคหนึ่ง ให้รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ปัญหาที่เกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน

(๒) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกัน

หรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา

(๓) คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มี

แนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน

(๔) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดของศาลอื่น

(๕) เพื่อเป็นการพัฒนาการตีความกฎหมาย

(๖) ปัญหาสำคัญอื่นตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา


ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคสอง (๖) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


ในกรณีที่ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกา ให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น


มาตรา ๒๕๐ หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นคำร้อง การพิจารณาวินิจฉัยและระยะเวลาในการพิจารณาคำร้องตามมาตรา ๒๔๗ การตรวจรับฎีกา การแก้ฎีกา การพิจารณา และการพิพากษาคดี รวมทั้งการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียม ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา


ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้


มาตรา ๒๕๑ ในคดีที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาที่มีแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ศาลฎีกาจะมีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายนั้นและยกคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี ทำคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัยของศาลฎีกาก็ได้


มาตรา ๒๕๒ ในกรณีที่ไม่มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา ๒๕๐ กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ ๑ ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม


ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง (๖) และมาตรา ๒๕๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อกําหนดไว้ ดังต่อไปนี้


ข้อ ๑ ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘”


ข้อ ๒ ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ข้อ ๓ ในข้อกําหนดนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น


“คําร้อง” หมายความว่า คําร้องขออนุญาตฎีกาตามมาตรา ๒๔๗


“ผู้ร้อง” หมายความว่า คู่ความผู้ยื่นคําร้อง


“ศาลช้นตั ้น” หมายความว่า ศาลซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่งในชั้นต้น


“องค์คณะผู้พิพากษา” หมายความว่า องค์คณะผู้พิพากษาตามมาตรา ๒๔๘ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยคําร้อง


ข้อ ๔ ในกรณีจําเป็นต้องมีวิธีการใดในทางธุรการเพื่อให้การปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้เป็นไปโดยเรียบร้อย ให้เลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้กําหนดวิธีการนั้น


ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีการักษาการและมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติรวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือคําแนะนําเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้


หมวด ๑

การยื่นคําร้อง


ข้อ ๖ การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นโดยต้องแสดงถึง


(๑) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้ง และ


(๒) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๔๙ หรือในข้อกําหนดนี้ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย


ข้อ ๗ ผู้ร้องต้องยื่นคําร้องพร้อมกับคําฟ้องฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาและต้องนําเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคําพิพากษาหรือคําสั่งมาวางศาลพร้อมกับคําฟ้องฎีกานั้นด้วย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกา


กรณีเช่นว่านี้ ให้องค์คณะผู้พิพากษามีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกาโดยสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหากมี ให้แก่ผ้รู้อง


ข้อ ๘ ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจตรวจคําร้องและคําฟ้องฎีกาและมีคําสั่งตามมาตรา ๑๘ หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาดังกล่าวพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าองค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าคําสั่งของศาลชั้นต้นถูกต้อง ให้มีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกา หรือถ้าไม่มีคําร้องก็ให้สั่งไม่รับฎีกาและสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหากมี ให้แก่ผู้ร้อง


ขอ้ ๙ ในกรณีมีการขอขยายระยะเวลาใด ๆ เช่น การยื่นคําร้องหรือคําฟ้องฎีกาหรือการชําระหรือวางเงินตามข้อ ๗ หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควรหากจะไม่อนุญาต ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องขอขยายระยะเวลาพร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป


ข้อ ๑๐ เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจคําร้องและคําฟ้องฎีกาตามข้อ ๘ แล้ว ให้รีบส่งสําเนาคําร้องและคําฟ้องฎีกานั้นให้คู่ความอีกฝ่ายแล้วส่งคําร้องพร้อมคําฟ้องฎีกาและสํานวนความไปยังศาลฎีกาโดยเร็ว ทั้งนี้ ไม่จําต้องรอคําคัดค้านของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายได้ยื่นคําร้องขออนุญาตฎีกาด้วย ให้ศาลชั้นต้นดําเนินการเกี่ยวแก่คําร้องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อน แล้วจึงส่งคําร้องและคําฟ้องฎีกาของคู่ความทุกฝ่ายไปยังศาลฎีกาในคราวเดียวกัน


ถ้ามีการยื่นคําคัดค้านภายหลังที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ส่งคําคัดค้านนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย


ในกรณีที่มีการยื่นคําร้องขอทุเลาการบังคับคดีในระหว่างฎีกา ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาและห้ามมิให้มีคําสั่งอนุญาตตามคําร้องนั้นจนกว่าศาลฎีกาจะมีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกาทั้งนี้ ไม่กระทบถึงอํานาจในการสั่งงดการบังคับคดีหรือถอนการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง


หมวด ๒

การพิจารณาวินิจฉัยคําร้อง การรับฎีกาและการแก้ฎีกา


ข้อ ๑๑ การขอแก้ไขคําร้องหรือคําฟ้องฎีกาให้กระทําได้ภายในกําหนดระยะเวลาตามมาตรา ๒๔๗ วรรคสองหรือตามที่ศาลมีคําสั่งให้ขยายออกไป


ข้อ ๑๒ การพิจารณาคําร้องตามมาตรา ๒๔๘ องค์คณะผู้พิพากษาพึงพิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับสํานวนหรือตามระเบียบของประธานศาลฎีกา


ข้อ ๑๓ ปัญหาสําคัญอื่นตามมาตรา ๒๔๙ วรรคสอง (๖) ได้แก่ กรณีดังต่อไปน


(๑) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสาระสําคัญ


(๒) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสําคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย


ข้อ ๑๔ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า ปัญหาตามคําร้องทั้งหมดหรือบางข้อเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกาและสั่งรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อไว้พิจารณาแล้วส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง


จําเลยฎีกาอาจยื่นคําแก้ฎีกาต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคําสั่งและภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จําเลยฎีกายื่นคําแก้ฎีกาหรือนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดไว้สําหรับ


การยื่นคําแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคําแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกาหรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคําแก้ฎีกาเมื่อศาลฎีกาได้รับคําแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นําคดีลงสารบบความโดยพลัน


การขอขยายระยะเวลายื่นคําแก้ฎีกา ให้ยื่นภายในกําหนดระยะเวลาตามวรรคสอง และให้นําความในข้อ ๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม


ข้อ ๑๕ ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า คําร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อ ๖ หรือปัญหาตามคําร้องทั้งหมดมิใช่ปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งยกคําร้องและไม่รับฎีกาแล้วส่งสํานวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว


คําสั่งที่ไม่อนุญาตตามวรรคหนึ่งให้แสดงเหตุผลโดยย่อและให้องค์คณะผู้พิพากษามีอํานาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่ผู้ร้องได้ตามที่เห็นสมควร


ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีคู่ความหลายฝ่ายต่างยื่นคําร้อง ให้วินิจฉัยโดยทําเป็นคําสั่งฉบับเดียวกันก็ได้


หมวด ๓

การพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลฎีกา

ข้อ ๑๗ องค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาคดีใด อาจเป็นองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาคดีนั้น


ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘

วีระพล ตั้งสุวรรณ

ประธานศาลฎีกา


ข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา  ๒๔๙  วรรคสอง  (๖)  และมาตรา  ๒๕๐  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘

ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อกําหนดนี้เรียกว่า“ข้อกําหนดของประธํานศําลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๖๔”

ข้อ ๒ ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


“ข้อ ๖ การขออนุญาตฎีกาให้ยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นโดยต้องแสดงถึง

(๑) ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายในประเด็นที่ประสงค์ขออนุญาตฎีกาและ

(๒) ปัญหําที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย


”ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความใน ข้อ ๑๓ แห่งข้อกําหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง พ.ศ.๒๕๕๘ และให้ใช้ควํามต่อไปนี้แทน


“ข้อ ๑๓ ปัญหาสําคัญอื่นตาม มาตรา ๒๔๙ วรรคสอง (๖) ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้ 

(๑) คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์มีความเห็นแย้งในสําระสําคัญและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัย

(๒)คําพิพากษาหรือคําสั่งของศําลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสําคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย

(๓)คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ขัดแย้งกันในสําระสําคัญและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัย”


ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔

เมทินี ชโลธร

ประธานศาลฎีกา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2562

การยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ มิใช่เป็นคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเองโดยตรง จึงต้องถือว่าคำพิพากษาในส่วนที่ผู้เสียหายเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาในคดีส่วนอาญา ทั้งการพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนในคดีส่วนแพ่งดังกล่าวต้องถือคดีส่วนอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา แต่หากคดีส่วนอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาหรือยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ คดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 คดีนี้คดีส่วนอาญาไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาจึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังนั้น สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาคดีส่วนแพ่งจึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 247 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" และมาตรา 247 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา" และวรรคสอง บัญญัติว่า "การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น..." เช่นนี้ คำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 จำเลยจะฎีกาได้ต่อเมื่อยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาและได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา จึงจะมีสิทธิฎีกาได้ การที่จำเลยยื่นฎีกาโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาด้วยจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2412/2562

โจทก์ร่วมเป็นโจทก์ในคดีส่วนแพ่งด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และขอให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว คดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาย่อมไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องขออนุญาตฎีกาคดีส่วนแพ่ง


แม้ตาม ป.วิ.อ. ได้มีคำอธิบายคำว่าผู้เสียหายไว้ในมาตรา 2 (4) ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6" แต่ข้อความตามมาตรา 44/1 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้นั้น ย่อมมีความหมายในตัวว่า หมายถึงผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงมีความหมายที่แตกต่างเกินกว่าความหมายของผู้เสียหายที่บัญญัติไว้ในมาตรา 2 (4) ถือได้ว่าขัดกัน การตีความคำว่าผู้เสียหายตามมาตรา 44 /1 จึงไม่ต้องถือความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 2 (4) ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 1 ที่บัญญัติว่า "ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายให้ถือตามความหมายดังได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น" ทั้งการที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายแล้ว ผู้เสียหายไม่อาจยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่พนักงานอัยการได้เรียกแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ 44/1 วรรคสาม ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้ใดมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน ต้องพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง ทำให้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ทั้ง มาตรา 44/1 วรรคสอง ก็บัญญัติความว่า.... ถือว่าคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ทั้งคดีส่วนอาญาและคดีส่วนแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนดอกเบี้ย จึงใช้สิทธิในคดีส่วนแพ่งได้ และคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อคดีส่วนแพ่งโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลชั้นต้นพิพากษายอมความแล้ว ซึ่งคู่ความมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอม โดยจำเลยอุทธรณ์เฉพาะคดีส่วนอาญาขอให้รอการลงโทษเท่านั้น คดีส่วนแพ่งจึงยุติและต้องบังคับไปตามคำพิพากษาตามยอม ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่วินิจฉัยให้เฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2562

ในชั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาและฎีกาของโจทก์ มิได้กำหนดให้โจทก์นำส่งสำเนาคำร้องและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาแม้ศาลชั้นต้นระบุในรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดฟังคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวซึ่งทนายโจทก์มาศาลว่า ...หมายแจ้งจำเลยทั้งสองแก้ฎีกา ให้โจทก์นำส่ง ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้ แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเวลาให้โจทก์ในการนำส่งหรือวางค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการส่งหมายนัดแจ้งจำเลยทั้งสองให้แก้ฎีกาว่าให้โจทก์ดำเนินการภายในเวลาเท่าใด ซึ่งหากโจทก์เพิกเฉยไม่ปฏิบัติก็จะเป็นเหตุให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจำหน่ายฎีกาของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 การที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า ทนายโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และเจ้าหน้าที่เคยโทรศัพท์แจ้งให้มาดำเนินการส่งหมายแล้ว แต่โจทก์หรือทนายโจทก์ไม่ได้มาดำเนินการนั้น ก็ไม่ปรากฏรายละเอียดในการติดต่อโทรศัพท์ว่าทนายโจทก์แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ศาลว่าอย่างไร เหตุใดจึงไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล เนื่องจากในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและคำบังคับ โจทก์ก็เพียงแต่วางค่าธรรมเนียมในการส่งเท่านั้น ทนายโจทก์อาจเข้าใจว่าได้วางค่าธรรมเนียมในการส่งไว้ตั้งแต่วันยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมฎีกาแล้ว จึงไม่ดำเนินการนำเจ้าหน้าที่ไปส่งหมายนัดให้แก่จำเลยทั้งสองและไม่วางเงินค่าธรรมเนียมในการส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้นอีก ตามพฤติการณ์จะถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174 (2) หาได้ไม่ จึงยังไม่สมควรจำหน่ายฎีกาของโจทก์ด้วยเหตุทิ้งฟ้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8692/2560

คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท อันถือได้ว่าเป็นการยื่นฟ้องจำเลยและบริวารเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 หลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2558 มีผลใช้บังคับ การยื่นฎีกาจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 244/1 ที่เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 247 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" มาตรา 247 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า "การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา" และวรรคสอง บัญญัติว่า "การขออนุญาตฎีกา ให้ยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้น..." การที่ผู้คัดค้านยื่นฎีกาโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาด้วยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2558

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีผู้บริโภคย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 49 วรรคสอง เว้นแต่คู่ความอาจยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาทหรือในปัญหาข้อกฎหมาย โดยต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาพร้อมกับฎีกาต่อศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมกับฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว และบทบัญญัติว่าด้วยการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ.2551 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดให้ศาลฎีกาเท่านั้นที่มีอำนาจในการสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาและรับหรือไม่รับฎีกา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2556

ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ป.วิ.อ. จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 4 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 พ้นกำหนดเวลายื่นฎีกาซึ่งครบกำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2554 การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงเป็นการไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2556

คำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับรองให้ฎีกามีตรายางประทับข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งทุก 7 วัน ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งโดยชอบแล้ว โดยทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายข้อความดังกล่าว ทั้งการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นคำสั่งของผู้พิพากษา ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าทนายจำเลยทราบคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แล้ว โดยศาลชั้นต้นไม่ต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบอีก และข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นเรื่องขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ขยายให้ฎีกาแต่อย่างใดไม่ การที่ทนายจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าวภายในระยะเวลาฎีกา ย่อมเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง จึงไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้จำเลย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13353/2555

การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อใช้ค่าปรับ แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้รับประโยชน์จาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ขอให้ศาลไม่บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142 - 1143/2555

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคย่อมเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 49 วรรคสอง และหากคู่ความประสงค์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคจำต้องทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกาและยื่นมาพร้อมกับฎีกาต่อศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 แต่คดีนี้จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับฎีกาด้วย เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งบทบัญญัติอันว่าด้วยการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดให้ศาลฎีกาเท่านั้นที่มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552

คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดย ธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสอง แสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2551

จำเลยอุทธรณ์คัดค้านการสั่งคำร้องขอทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยขอให้แก้ไขหรือกลับคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 และอนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์โดยไม่ต้องนำค่าเสียหายตาม ฟ้องมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้ ตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 252


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551

จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2552

ขั้นตอนในการขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 มิได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่ง พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ซึ่งตามคำร้องจำเลยระบุชื่อขอให้ พ. ช. และ ป. ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นในศาลชั้นต้นด้วย การที่นาย ส. ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุ ในคำร้องกลับเป็นผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองจึงเป็น การไม่ชอบ ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยเพิกถอนคำสั่งและส่งคำร้องคืนไปให้ศาลชั้นต้นส่งให้ผู้พิพากษาที่ระบุใน คำร้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ฎีกาแล้วสั่งฎีกาใหม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2552

จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารผิดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครหรือไม่ เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามข้อบัญญัติของกรุงเทพ มหานครดังกล่าวได้ หากโจทก์เห็นว่าหน้าต่างของอาคารที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างเมื่อเปิดแล้วจะ รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างล้ำเข้าไปในที่ดินของ โจทก์เท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารพอแปลได้ว่า โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองเปิดหน้าต่างหรือส่วนของอาคารรุกล้ำเข้าไปใน ที่ดินของโจทก์ แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ส่วนประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16 เมตร จำเลยทั้งสองให้การว่า มิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินโจทก์หากแต่ปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นคดีที่โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกันจึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ตีราคาที่ดินส่วนที่พิพาทกันเพื่อให้คู่ ความเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงระวางที่ดินเลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ตั้งของที่ดินส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นทางเข้าวัดโจทก์แล้ว เห็นว่ามีราคาไม่ถึง 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552

คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดย ธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสอง แสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2552

จำเลยขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ อ. และ ล. บิดามารดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะจำเลยแจ้งว่าหาก มีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลัง แต่ทำสัญญาซื้อขายไว้พร้อมกับส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และที่ดินให้ เข้าครอบครองอย่างเจ้าของ ข้อที่ว่าหากมีเงินจะมาขอซื้อคืนในภายหลังมีลักษณะเป็นการไถ่ทรัพย์คืนเช่น สัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่านิติกรรมขายฝากทำผิดแบบตกเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247


การที่ อ. และ ล. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองแทนจำเลย แม้ต่อมา อ. ถึงแก่ความตายและ ล. มอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ การครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทน จำเลยจนกว่าจะมีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือจนกว่าจำเลยจะแสดงเจตนาสละการครอบครองให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และ 1379 ที่โจทก์เบิกความว่า ฝ่ายโจทก์ไปหาจำเลยเพื่อให้โอนเปลี่ยนชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ 3 ครั้ง แต่จำเลยไม่ยินยอม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 ข้างต้น แต่กลับเป็นข้อสนับสนุนว่าจำเลยไม่ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1379 ดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธินำไปขอเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4622/2551

โจทก์ทั้งสามแต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละแปลงอยู่ติดต่อกัน จำเลยทั้งสามได้ทำการรังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิครอบครอง คดีจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการพิพาทด้วยสิทธิในที่ดิน จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์ทั้งสามจะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งสามยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท และให้ยกเลิกหรือระงับหรือเพิกถอนการแจกหรือออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงมา ด้วยก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้ง สามเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ทั้งสามย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนมีสิทธิครอบครองที่ดิน พิพาทคนละแปลง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 จึงต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่คนละคนแยกกัน ที่ดินพิพาทสามแปลงรวมเนื้อที่ 32 ไร่ 3 งาน 82 ตารางวา ราคา 229,250 บาท ของโจทก์ที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ของโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 10 ไร่เศษ และของโจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 12 ไร่ เศษ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนจึง ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2551

จำเลย ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2551

ที่ดินพิพาทเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ที่ให้จำเลยเช่า การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ เป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ แม้จะครอบครองทำประโยชน์นานเท่าใดก็ไม่อาจอ้างการแย่งการครอบครองในที่ดิน พิพาทได้ นอกจากจะได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยไม่ มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจำเลย จึงไม่อาจอ้างเหตุแย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ตามคำให้การของจำเลยมายันโจทก์ได้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท


โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่า โจทก์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจช่วงและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาต ให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้


การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร มิใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตม์ตาม ประมวลรัษฎากร ทั้งสำเนาเอกสารมิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วยเช่นกัน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้


คู่ความพิพาทกันในเรื่องสิทธิครอบครองเหนือที่ดินพิพาทซึ่งมีทุนทรัพย์ตาม ราคาที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง และเรื่องขับไล่เพราะผิดสัญญาเช่าซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจ คำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาซึ่งแต่ละ ส่วนแยกจากกันได้ สิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่จึงต้องแยกพิจารณาตามส่วนดัง กล่าว ฎีกาของจำเลยที่อยู่ในประเด็นเรื่องขับไล่ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2551

จำเลยเช่าอาคารจากโจทก์เป็นเวลา 10 ปี การที่จำเลยเปลี่ยนลักษณะการใช้อาคารจากร้านขายของเป็นร้านอาหารประเภทบาร์ เบียร์เป็นการกระทำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้สอยทรัพย์สินที่เช่าจากโจทก์ เท่านั้น ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดาที่จะทำให้จำเลย มีสิทธิยิ่งไปกว่าสัญญาเช่าธรรมดา


โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยพร้อมกับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มี ทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ จะฎีกาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกัน กล่าวคือ ถ้าหากฎีกาประเด็นเรื่องขับไล่ก็ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ 10,000 บาท หรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าเดือนละ 14,000 บาท ฎีกาของจำเลยในส่วนเรื่องขับไล่จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ส่วนในเรื่องค่าเสียหายซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีจำนวนเพียง 42,000 บาท ไม่เกิน 200,000 บาท ย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2551

เทศบาลตำบลโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้แทนนิติบุคคลมีอำนาจกระทำกิจการแทนโจทก์ การที่ ว. ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีมอบอำนาจให้ทนายความฟ้องจำเลยซึ่งบุกรุกที่ดินของโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามบทบัญญัติของกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเพื่อประโยชน์ของโจทก์และเป็นการ ดำเนินการของฝ่ายบริหาร โดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากสภาเทศบาล โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย


โจทก์ฟ้องขับไล่ขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและขนย้ายสัมภาระสิ่ง ของออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทเกินกว่า 10 ปี จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อทุนทรัพย์ตามฟ้องและฟ้องแย้งราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท และที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้กรรมสิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2551

โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน คิดเป็นเงิน 240,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่แต่ละคนฟ้องขอแบ่งจึงมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างจำเลยและโจทก์ ทั้งสี่แต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเนื่องจากจำเลยร่วมกับ ห. เข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทมาตั้งแต่แรกและต่อมา ห. ได้ยกที่ดินพิพาทในส่วนของ ห. ให้แก่จำเลยแล้วก็ดี จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนจนได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วก็ดี และแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นก็ตามแต่ จำเลยก็ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการยึดถือเพื่อตน แล้วก็ดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดัง กล่าว


จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตายเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่ ห. ถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2551

ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เพียงแต่อ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ขึ้นมาโต้แย้งว่าการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในส่วนดังกล่าวมิชอบ ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง หาได้เป็นข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาเพื่อเอาชนะคดีโดยชัดแจ้งไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีเพียง 95,476.24 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167/2551

ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำ ให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 ) แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวน พิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการ นั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบ พิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2551

การที่ผู้ร้องอ้างว่าซื้อรถยนต์คันพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยตกลงจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนครบถ้วน แต่ปรากฏว่าผู้ที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ซื้อในหนังสือสัญญาซื้อรถยนต์ ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้อง ผู้ร้องมิได้แจ้งให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อทราบและดำเนินการเปลี่ยนให้ผู้ร้อง เป็นผู้เช่าซื้อแทน ทั้งใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษีและหนังสือยืนยันการชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อหาใช่ผู้ร้องชำระไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อนำรถยนต์คันพิพาทมาขายแก่ผู้ร้อง และผู้ร้องชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วนดังที่กล่าวอ้าง ดังนั้น รถยนต์คันพิพาทยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งระงับการทำนิติกรรมทางทะเบียนของรถยนต์ คันพิพาท ไม่ถือว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์ที่มีการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5386/2551

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ระหว่างการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้ชำระหนี้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้นจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และคดีนี้โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่เพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2551

โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินโดยในสัญญากำหนดเรื่องการโอนไว้ว่า ผู้ขายจะโอนสิทธิให้ผู้ซื้อในภายหลังเมื่อผู้ซื้อต้องการให้โอน เป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงชำระหนี้มิได้กำหนดลงไว้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจบังคับได้ตั้งแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องบังคับตามสัญญาเกิน 10 ปีนับแต่วันทำสัญญา ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 193/30


เมื่อโจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับให้โอนตามสัญญาได้เพราะคดีขาดอายุความ จึงมีผลให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินระหว่างผู้ขายกับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินต่อไปให้จำเลยที่ 3 ได้ และแม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นกรณีเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 3 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6739/2550

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 200,000 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์เต็มตามฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์เท่ากับจำเลยเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้จำเลยชำระเงิน 285,321 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยคงมีสิทธิฎีกาเฉพาะในส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 85,321 บาท การที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2536

การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอหลักประกันคืนต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยใช้สิทธิ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 251เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำแถลงของจำเลย จำเลยจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมายังศาลฎีกาหาได้ไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2530

เงินค่าเสียหายที่จำเลยผู้แพ้คดีในศาลชั้นต้นวางศาลเพื่อใช้หนี้โจทก์ตามคำ พิพากษาของศาลชั้นต้นในระหว่างอุทธรณ์นั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำ พิพากษาศาลชั้นต้น เหตุแห่งการวางเงินย่อมหมดสิ้นไป ศาลชอบที่จะคืนเงินจำนวนที่วางคืนแก่จำเลยโดยไม่จำต้องรอให้คดีถึงที่สุด


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985/2524

เมื่อโจทก์ผู้เป็นฝ่ายแพ้คดีในศาลชั้นต้นได้อุทธรณ์และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทน จำเลยผู้เป็นฝ่ายชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงชอบที่จะขอคืนเงินที่วางศาลได้ตามป.ว.พ. ม.251