Pages

คู่ความขอคุ้มครองชั่วคราว

มาตรา ๒๖๔ นอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕๓ และมาตรา ๒๕๔ คู่ความชอบที่จะยื่นคำขอต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เช่น ให้นำทรัพย์สินหรือเงินที่พิพาทมาวางต่อศาลหรือต่อบุคคลภายนอก หรือให้ตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าที่พิพาท หรือให้จัดให้บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความปกครองของบุคคลภายนอก


คำขอตามวรรคหนึ่งให้บังคับตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๒๗ มาตรา ๒๒๘ มาตรา ๒๖๐ และมาตรา ๒๖๒


มาตรา ๒๖๕ ในกรณีที่ศาลยอมรับเอาบุคคลเป็นประกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ และบุคคลนั้นแสดงกิริยาซึ่งพอจะเห็นได้ว่าจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ หรือจะหลีกเลี่ยง ขัดขวาง หรือกระทำให้เนิ่นช้าซึ่งการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน ให้นำบทบัญญัติแห่งหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2562

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีในส่วนที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำให้การ (ที่ถูก คำร้อง) ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งอ้างว่าผู้ซื้อทรัพย์ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏว่าไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงถึงที่สุดแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นคดีสาขาของคดีดังกล่าว ถึงแม้จะพิจารณาต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4231/2558

เมื่อในคดีหลักที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กชาย ธ. เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และให้โจทก์มีอำนาจปกครองถึงที่สุดแล้ว ฎีกาของโจทก์ที่ขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโดยขอให้มีสิทธิติดต่อผู้เยาว์ได้ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15349/2557

เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นอายัดเงินค่าเช่าที่จำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เงินค่าเช่าที่จำเลยได้นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่จำต้องทำการยึดหรืออายัดอีก แต่ไม่ให้นำไปชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจบังคับคดีเอาแก่เงินจำนวนดังกล่าวได้ทันที จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่ชอบ ที่ถูกศาลชั้นต้นจะต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปตามหนังสือขออายัดซึ่งมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง อย่างช้าสุดนับแต่วันที่ 10 มกราคม 2546 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นได้รับหนังสืออายัด ทั้งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 บัญญัติว่า "คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว หรือหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้ เว้นแต่การบังคับคดีนั้น สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์" และตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "การบังคับคดีนั้น ให้ถือว่าสำเร็จบริบูรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้อื่นยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง" เมื่อถือว่ามีการอายัดเงินค่าเช่านับแต่วันที่ 10 มกราคม 2546 เจ้าหนี้อื่นมีสิทธิยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ได้ภายในวันที่ 24 มกราคม 2546 จำเลยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดวันที่ 18 สิงหาคม 2552 การบังคับคดีจึงสำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้คดีนี้ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2548 โจทก์จะมีการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อโจทก์จะได้บังคับเอากับเงินดังกล่าว และศาลล่างทั้งสองยกคำร้องของโจทก์ ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ต้องเสียไป


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14246/2557

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่พิพาทกันจึงมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ มิได้พิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการขอใช้น้ำประปา การที่จำเลยยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้การประปาส่วนภูมิภาคนำมิเตอร์น้ำประปามาติดตั้งที่บ้านพิพาทเช่นเดิมและขอให้ห้ามโจทก์มิให้ขัดขวางการขอติดตั้งมิเตอร์น้ำประปา จึงหาใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10361/2557

โจทก์ฟ้องขอหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 และขอให้พิพากษาแบ่งสินสมรสแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแบ่งสินสมรสที่ดินสวนยางพาราพิพาทเนื้อที่ 60 ไร่ และที่ดินสวนปาล์มน้ำมันพิพาทเนื้อที่ 15 ไร่ แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 8 โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราว และศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทำบัญชีดอกผลรายได้จากผลผลิตในที่ดินพิพาทเป็นรายเดือน แล้วนำเงินรายได้จากผลผลิตที่จะได้รับจำนวนกึ่งหนึ่งของทั้งหมดมาวางศาลเป็นรายเดือน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงเป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยดอกผลของทรัพย์พิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ซึ่งในที่สุดหากโจทก์ชนะคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับแบ่งดอกผลของทรัพย์ที่พิพาทดังกล่าวซึ่งเป็นสินสมรสได้ คำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวจึงหาเกินกว่าคำขอในคำฟ้อง อันเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นไม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10167/2557

โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์รับเงินที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาและศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นงดส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือหากศาลชั้นต้นได้ส่งเงินไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ให้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ศาลชั้นต้น เพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิในเงินจำนวนดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างพิจารณา โดยระงับมิให้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผลก็คือเงินจำนวนดังกล่าวยังคงอยู่ที่ศาลชั้นต้นมิได้จ่ายไปให้แก่โจทก์ ทั้งหากศาลชั้นต้นส่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องกันเงินส่วนที่มีข้อโต้แย้งนี้ไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 125 กรณีไม่ทำให้กองทรัพย์สินของจำเลยต้องเสียหายจากการที่ศาลชั้นต้นไม่ส่งเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2556

เมื่อที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแล้ว อำนาจในการสั่งคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ย่อมเป็นของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองประโยชน์นั้น จึงไม่ชอบ เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แม้การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นจะไม่ชอบก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยทั้งสองเพราะเหตุที่ยื่นล่วงพ้นกำหนดเวลาโดยมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองนั้น จึงไม่ถูกต้อง


การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีนี้ได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทและให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์มิได้รับประโยชน์ในที่ดินพิพาท ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองนำรายได้จากที่ดินพิพาทหลังหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลชั้นต้นจนกว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะมีคำพิพากษา ย่อมเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ และแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดีก็ยังไม่อาจขอให้ศาลบังคับตามคำขอคุ้มครองประโยชน์นั้นได้ กรณีจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14800/2551

เมื่อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้ร้องคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเท่านั้น จึงไม่สมควรมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง โดยให้ระงับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างการอุทธรณ์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง


คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2551

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อต่อสู้คดีกับผู้ร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านซึ่งมีผลเป็นการไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความ แม้ผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำคัดค้านดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ดังนั้นในขณะยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ผู้คัดค้านมิใช่คู่ความ จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2551

ผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินซึ่ง เป็นมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด คงพิพาทกันเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประโยชน์ของผู้คัดค้านในคดีนี้จึงอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ขอให้อายัดทรัพย์มรดกและห้ามผู้ ร้องทำนิติกรรมใดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกจึงไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของผู้คัดค้าน ที่มีอยู่ในคดี อันพึงจะต้องให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 264


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2551

การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น คู่ความฝ่ายใดในคดีจะร้องขอก็ได้ แต่จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันได้รับความคุ้มครองไว้จนกว่า ศาลจะได้มีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าสมควรตั้งผู้จัดการทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามที่ จำเลยที่ 3 ร้องขอแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 หรือไม่ ป.วิ.พ. มาตรา 307 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลมีคำสั่งในกรณีดังกล่าว ซึ่งมุ่งที่จะคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้มีโอกาสชำระหนี้ โดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินอันสามารถทำรายได้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไป การที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอตั้งผู้จัดการทรัพย์พร้อมกับ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไว้ชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อบรรเทาความเสียหาย จึงเป็นคำขอเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ 3 ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจสั่งคำร้องขอดังกล่าวได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะ พิจารณาสั่ง จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่า ด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2551

โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินสวนยางพาราของโจทก์ทั้งสอง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครอง ประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา โดยให้จำเลยนำเงินมาวางศาลทุกเดือนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (2) ตอนท้าย เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 (2) (ข) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งต้องทำเป็นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 และชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะได้วินิจฉัยโดยทำเป็นคำพิพากษา มิใช่ทำเป็นคำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งสองในระหว่างการพิจารณา ทั้งมิได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ประกอบด้วยมาตรา 246 คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างนำพยานหลักฐานเข้าสืบในชั้นไต่สวนจน เสร็จสิ้นแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2551

โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านแก่จำเลยแล้วไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด ส่วน ม. ทำสัญญาขายฝากที่ดินอีกแปลงหนึ่งแก่จำเลย แล้วไม่ไถ่ถอนภายในกำหนดเช่นเดียวกัน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บัญญัติให้ที่ดินของจำเลยส่วนที่โจทก์ทั้ง สองปลูกบ้านตกเป็นภาระจำยอมแก่ของโจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระ จำยอมแก่บ้านของโจทก์ทั้งสอง จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะคุ้มครองประโยชน์ไว้ชั่วคราวในระหว่างการ พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งสองมีคำขอ


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10434 - 10435/2550

การร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการ พิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิหรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จน กว่าศาลจะได้พิพากษา แต่คดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ชี้ขาดแต่เพียงว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกของผู้ตาย การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับบ้านที่ดินและเงิน ฝากในบัญชีธนาคารซึ่งเป็นทรัพย์มรดกโดยให้ปิดบ้าน และห้ามทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อ บังคับคำพิพากษาตามบทบัญญัติดังกล่าว


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2550

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้รับคำร้องขอ คดีก็ต้องกลับไปสู่ศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอของผู้ ร้องได้ ทั้งการสั่งห้ามจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องขออาจกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่ง มิใช่คู่ความในคดี กรณีจึงยังไม่มีเหตุจะสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างอุทธรณ์


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2550

โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินของจำเลยที่มีอยู่และที่จะได้รับจากการ ประกอบกิจการ โดยให้จำเลยส่งเงินทั้งหมดมาเก็บรักษาไว้ที่ศาลจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึง ที่สุด มีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยนำเงินมาวางศาลเพื่อเอาชำระหนี้ให้โจทก์เป็นการ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่าง การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์ มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์โจทก์จะขอให้จำเลยนำ ทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2550

การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องขอ เพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งที่พิพาทกันในคดีได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่า ศาลจะได้มีคำพิพากษา กรณีที่โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยชำระเงินซึ่งเป็นค่าขาดประโยชน์มาด้วย มิใช่พิพาทกันด้วยทรัพย์สินหรือสิทธิหรือประโยชน์ที่จะร้องขอเพื่อให้ได้รับ ความคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจะขอให้จำเลยนำทรัพย์สินหรือเงินมาวางตามมาตรานี้ไม่ได้ และจะขอให้จำเลยหาประกันหรือหลักประกันมาวางศาลก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2549

ศาลชั้นต้นได้สั่งรับคำฟ้องแล้ว เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีฉบับที่สองของจำเลย จึงเป็นคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 และคำร้องขอโอนคดีไปศาลอื่นนั้นเป็นวิธีการเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะ พิจารณาคดี มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์อย่างใดของคู่ความใน ระหว่างการพิจารณาดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 288 (2) คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอโอนคดีของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม มาตรา 226 (1)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541

คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 265และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 เป็นคำสั่งที่กำหนดใช้ วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่งเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมี เหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผล บังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็น อันยกเลิก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(1)ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาล ต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็น หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผล ถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247