มาตรา ๒๓๒ เมื่อได้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าศาลปฏิเสธไม่ส่ง ให้ศาลแสดงเหตุที่ไม่ส่งนั้นไว้ในคำสั่งทุกเรื่องไป ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ยื่นอุทธรณ์ศาลจะวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้นในคำสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
มาตรา ๒๓๓ ถ้าศาลยอมรับอุทธรณ์และมีความเห็นว่าการอุทธรณ์นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะ จะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดไว้ในคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีกให้พอกับจำนวน ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องเสียดังกล่าวแล้ว ตามอัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์หรือภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรอนุญาต หรือตามแต่ผู้อุทธรณ์จะมีคำขอขึ้นมาไม่เกินสิบวันนับแต่สิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ นั้นถ้าผู้อุทธรณ์ไม่นำเงินจำนวนที่กล่าวข้างต้นมาวางศาลภายในกำหนดเวลาที่ อนุญาตไว้ก็ให้ศาลยกอุทธรณ์นั้นเสีย
มาตรา ๒๓๔ ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง
มาตรา ๒๓๕ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้วให้ส่งสำเนาอุทธรณ์นั้นให้แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือถ้าจำเลยอุทธรณ์ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓๗สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ถ้าหากมี พร้อมทั้งสำนวนและหลักฐานต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับฟ้องอุทธรณ์และสำนวนความไว้แล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา ๒๓๖ เมื่อคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้าพร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและฟ้องอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้อง แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน
เมื่อได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓๗ สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา ๒๓๗ จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์
มาตรา ๒๓๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔๓ (๓) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
มาตรา ๒๓๙ อุทธรณ์คำสั่งนั้นจะต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์คำพิพากษาเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ถึงว่าอุทธรณ์คำพิพากษานั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์ก่อนอุทธรณ์คำสั่งนั้นก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2552
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2551
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่น อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะ เวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2551
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาล ชั้นต้นที่ยกคำขอออกหมายเรียก โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1), (2) และผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2551
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเพียงแต่นำเงินค่าฤชา ธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น แต่มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2551
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอันเป็นกระบวนการในชั้นบังคับคดี แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมานั้น แม้การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทำขึ้นภายหลัง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันทำให้คำ พิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกกลับ แก้หรือถูกยกไปด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนจากการยื่น อุทธรณ์เพราะหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดียังคงดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยได้ตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้น ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีนี้จึงไม่จำต้องนำเงินที่ต้องชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมา วางไว้ต่อศาลและศาลอุทธรณ์อาศัยเหตุที่จำเลยไม่นำเงินส่วนที่ขาดหรือหา ประกันมาวางเพิ่มต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551
จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2551
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้นหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลชั้นต้นส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา ดังนั้น เมื่อมีการอุทธรณ์ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ไปยังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจสำนวนและถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตาม กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่ง อุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6201/2550
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอ ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาล อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมายและให้ยกคำ ร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำ คู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะมีคำสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่ง จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจาก สารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยมีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ทางแก้ของจำเลยที่ 1 คือต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 234 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้มีคำสั่งคืน อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบ ถ้วน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องการที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้น จึงเป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องที่ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้จำเลยที่ 1 สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะได้รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย โดยจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่า รอฟังคำสั่งอยู่ แต่ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่น อุทธรณ์ ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 เกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ให้เป็นที่สุดนั้น ไม่จำต้องคำนึงว่าในการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นกรณี วินิจฉัยเฉพาะเนื้อหาอุทธรณ์เท่านั้น เพราะการที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์อาจมาจากสาเหตุอื่น โดยไม่ต้องวินิจฉัยเนื้อหาอุทธรณ์ว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงเป็นอันถังที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งฎีกาคำสั่งของจำเลยมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความใน มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอ ให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาล อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือ หาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอ ขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาใน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2550
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยไม่วางเงินภายในกำหนด หลังจากนั้นจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่มิได้ดำเนินการทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยไม่อาจขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของ จำเลยที่ 1 ได้ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียก่อนเพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะ ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยมีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำ สั่งรับอุทธรณ์แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวาง ศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือ ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้อง อุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5947/2549
ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้น นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้ว ผู้อุทธรณ์ยังต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ทั้งยังเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโดย ศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้ปฏิบัติก่อน จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยนำเพียงค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มา วางศาล โดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2549
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะอุทธรณ์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จากศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ของผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2549
การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่ เลื่อนคดีโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยทั้งสี่ต่อไปแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้น อาจทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แก่โจทก์ ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้ง สี่เลื่อนคดี โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวาง ศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติให้ ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าจะให้ ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวน พิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยทั้งสี่ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาล อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คดีนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่ วางเงินค่าธรรมเนียมโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดัง กล่าวตามคำร้องของจำเลยทั้งสี่ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่ให้จำเลยทั้งสี่นำ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้น ต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมนั้นเสีย จึงมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องที่ให้จำเลยทั้ง สี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั้นเอง จำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2548
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี มีผลเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์พร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้จงใจฝ่าฝืน และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำ เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์ อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2548
จำเลย ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับ อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 232 แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่ กำหนดก่อนแล้วจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลย ที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามมาตรา 234 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จะฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำ พิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 234 หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหา ประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียม ที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบ ด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234
มาตรา ๒๓๓ ถ้าศาลยอมรับอุทธรณ์และมีความเห็นว่าการอุทธรณ์นั้นคู่ความที่ศาลพิพากษาให้ชนะ จะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ให้ศาลมีอำนาจกำหนดไว้ในคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำเงินมาวางศาลอีกให้พอกับจำนวน ค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องเสียดังกล่าวแล้ว ตามอัตราที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์หรือภายในระยะเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรอนุญาต หรือตามแต่ผู้อุทธรณ์จะมีคำขอขึ้นมาไม่เกินสิบวันนับแต่สิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ นั้นถ้าผู้อุทธรณ์ไม่นำเงินจำนวนที่กล่าวข้างต้นมาวางศาลภายในกำหนดเวลาที่ อนุญาตไว้ก็ให้ศาลยกอุทธรณ์นั้นเสีย
มาตรา ๒๓๔ ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง
มาตรา ๒๓๕ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับอุทธรณ์แล้วให้ส่งสำเนาอุทธรณ์นั้นให้แก่จำเลยอุทธรณ์ภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือถ้าจำเลยอุทธรณ์ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์ ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓๗สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ถ้าหากมี พร้อมทั้งสำนวนและหลักฐานต่าง ๆ ไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับฟ้องอุทธรณ์และสำนวนความไว้แล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา ๒๓๖ เมื่อคู่ความยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ให้ศาลส่งคำร้องเช่นว่านั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้าพร้อมด้วยคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นและฟ้องอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็นที่จะต้องตรวจสำนวน ให้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้อง แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด แล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่าน
เมื่อได้อ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้รับอุทธรณ์แล้ว ให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยอุทธรณ์ และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ หรือนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๓๗ สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง ให้ศาลส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความของศาลอุทธรณ์โดยพลัน
มาตรา ๒๓๗ จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำเนาอุทธรณ์
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่า จำเลยอุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์
มาตรา ๒๓๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔๓ (๓) ในคดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายนั้น การวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน
มาตรา ๒๓๙ อุทธรณ์คำสั่งนั้นจะต้องพิจารณาก่อนอุทธรณ์คำพิพากษาเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ถึงว่าอุทธรณ์คำพิพากษานั้นจะได้ลงไว้ในสารบบความของศาลอุทธรณ์ก่อนอุทธรณ์คำสั่งนั้นก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2552
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางภายในกำหนด จึงไม่รับอุทธรณ์จำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำสั่งศาลชั้นต้นและให้สืบพยานใหม่เท่ากับขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้ยกคำร้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2551
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย ชอบที่จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันทราบคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 ประกอบมาตรา 229 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การเกี่ยวกับฟ้องแย้งเดิมซึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งสืบเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิมของจำเลยนั่นเอง เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยพ้นกำหนดระยะเวลายื่น อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งเดิม และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว เช่นนี้ การที่จำเลยยังคงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่ายื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลา 1 เดือน ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ย่อมมีผลเท่ากับไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะ เวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2551
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาล ชั้นต้นที่ยกคำขอออกหมายเรียก โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1), (2) และผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2551
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเพียงแต่นำเงินค่าฤชา ธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลเท่านั้น แต่มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยครบถ้วน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2551
จำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอันเป็นกระบวนการในชั้นบังคับคดี แต่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมานั้น แม้การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทำขึ้นภายหลัง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว แต่การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันทำให้คำ พิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกกลับ แก้หรือถูกยกไปด้วย อีกทั้งกรณีดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนจากการยื่น อุทธรณ์เพราะหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดียังคงดำเนินการบังคับคดีกับจำเลยได้ตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้น ดังนั้น การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคดีนี้จึงไม่จำต้องนำเงินที่ต้องชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมา วางไว้ต่อศาลและศาลอุทธรณ์อาศัยเหตุที่จำเลยไม่นำเงินส่วนที่ขาดหรือหา ประกันมาวางเพิ่มต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดแล้วมีคำสั่งว่าจำเลยทิ้งคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551
จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2551
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้นหรือหาประกันให้ไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลชั้นต้นส่งศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณา ดังนั้น เมื่อมีการอุทธรณ์ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ไปยังศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะตรวจสำนวนและถ้าเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตาม กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นเสียได้โดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่ง อุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6201/2550
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ คดีเสร็จการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์แล้ว จึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่จะให้จำเลยยื่นคำร้องขอ ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความของศาล อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้ว หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ตามกฎหมายและให้ยกคำ ร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 18 ให้อำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำ คู่ความนั้นได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะมีคำสั่งคำร้องของจำเลยที่ขอให้เพิกถอนคำสั่ง จำหน่ายคดีจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ โดยไม่จำต้องได้รับมอบหมายจากศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้แล้ว คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจสั่งเองได้ ต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องที่จำเลยทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ต่อไป ซึ่งแตกต่างกับกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจาก สารบบความของศาลอุทธรณ์หลังจากที่ศาลอุทธรณ์จำหน่ายคดีไปแล้ว ไม่เป็นกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องส่งคำร้องดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยไม่เห็นพ้องด้วย จำเลยมีสิทธิยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 แต่จำเลยหาได้ยื่นฎีกาไม่ กลับโต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยการยื่นคำร้องแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 ทางแก้ของจำเลยที่ 1 คือต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามมาตรา 234 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเพื่อให้มีคำสั่งคืน อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบ ถ้วน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้องการที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้น จึงเป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องที่ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้จำเลยที่ 1 สามารถอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะได้รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4493/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย โดยจำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 20 กรกฎาคม 2548 และท้ายอุทธรณ์มีข้อความว่า รอฟังคำสั่งอยู่ แต่ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่น อุทธรณ์ ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548 เกินกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยเห็นว่าจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่ให้เป็นที่สุดนั้น ไม่จำต้องคำนึงว่าในการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นกรณี วินิจฉัยเฉพาะเนื้อหาอุทธรณ์เท่านั้น เพราะการที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์อาจมาจากสาเหตุอื่น โดยไม่ต้องวินิจฉัยเนื้อหาอุทธรณ์ว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงเป็นอันถังที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งฎีกาคำสั่งของจำเลยมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2550
เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความใน มาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ แต่อย่างใดก็ตามเมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอ ให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาล อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ทั้งมิได้นำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือ หาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้องจึงมีผลเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย ทั้งสองยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นโดยวินิจฉัยถึงเหตุเดียวกัน คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2550
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 หากจำเลยที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหา ประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จะเป็นเรื่องที่ขอให้ศาลรับค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์เกี่ยวเนื่องกับการขอ ขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลดังกล่าว แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ในกรณีเช่นนี้ให้ครบถ้วนด้วย การที่จำเลยที่ 3 ยกเหตุคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับค่าธรรมเนียมศาลทั้งสองครั้งรวมมาใน คำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ หามีผลทำให้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 234 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2550
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยไม่วางเงินภายในกำหนด หลังจากนั้นจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แต่มิได้ดำเนินการทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 234 เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยไม่อาจขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550
จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาล ชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของ จำเลยที่ 1 ได้ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียก่อนเพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระ หรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะ ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยมีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำ สั่งรับอุทธรณ์แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวาง ศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือ ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้อง อุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5947/2549
ในการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นั้น นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้ว ผู้อุทธรณ์ยังต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ทั้งยังเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโดย ศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้ปฏิบัติก่อน จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งโดยนำเพียงค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มา วางศาล โดยไม่ได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2549
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 4 โดยเห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 (1) และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2549
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะอุทธรณ์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จากศาลอุทธรณ์ ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ของผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2549
การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสี่ เลื่อนคดีโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยทั้งสี่ต่อไปแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีนั้น อาจทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แก่โจทก์ ถูกยกเลิกเพิกถอนไปได้หากอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้ง สี่เลื่อนคดี โดยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวาง ศาลภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติให้ ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ว่าจะให้ ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวน พิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จำเลยทั้งสี่ยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ได้ เพราะมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาล อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 คดีนี้แม้จำเลยทั้งสี่จะมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่ วางเงินค่าธรรมเนียมโดยตรง โดยกล่าวมาในอุทธรณ์ว่าขออุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนคำสั่งดัง กล่าวตามคำร้องของจำเลยทั้งสี่ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยกคำร้องเพราะเห็นว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม อันเป็นการยืนยันให้จำเลยทั้งสี่ปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่ให้จำเลยทั้งสี่นำ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสี่ก็ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้น ต้นที่ให้จำเลยทั้งสี่วางเงินค่าธรรมเนียมนั้นเสีย จึงมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องที่ให้จำเลยทั้ง สี่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลนั้นเอง จำเลยทั้งสี่จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2548
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี มีผลเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้ จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์พร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้จงใจฝ่าฝืน และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำ เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์ อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2548
จำเลย ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับ อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 232 แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่ กำหนดก่อนแล้วจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลย ที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามมาตรา 234 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จะฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2548
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำ พิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 234 หากคู่ความไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เนื่องจากพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยมิได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหา ประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์คำพิพากษาจะต้องใช้แทนโจทก์เป็น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงแต่ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์โดยที่ไม่นำค่าฤชาธรรมเนียม ที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลหรือหาประกันไว้ให้ต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่ชอบ ด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 234