ข้อ 1.
นาย
เอกทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าราคา 2,000,000 บาท กับนายโทและนายตรี
โดยชำระ
ราคางวดแรก 1,000,000 บาท และมีข้อตกลงให้นำไปส่งมอบและติดตั้ง ณ
สำนักงานของนายเอกที่จังหวัด
ราชบุรี
พร้อมด้วยเงื่อนไขว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแส
ไฟฟ้าได้ตามคุณสมบัติที่ตกลง
กันนายเอกจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้
สัญญาดังกล่าวทำขึ้นที่ภูมิลำเนาของนายเอกซึ่งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
ส่วนนายโทและนายตรีต่างมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสระบุรี
ต่อมาหลังจากที่ติดตั้งแล้วปรากฏว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายเพราะไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้
นายเอกจึงบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้อง
นายโทกับนายตรีต่อศาลจังหวัดราชบุรี ขอให้คืนเงินค่าสินค้าที่ชำระไปจำนวน
1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
และให้ขนย้ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าออกไป
นายโทให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้องและยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น
เรื่องเขตอำนาจศาลว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลนี้ ส่วนนายตรี
พนักงานเดินหมายรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ไม่ได้โดยได้รับแจ้ง
ว่าถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แถลง
ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลว่านายตรีได้ถึงแก่กรรมไปก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดี
ตามมรณบัตรที่แนบมาและยื่นคำร้องขอให้ศาล
หมายเรียกทายาทของนายตรีเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่นายตรีผู้มรณะ
ให้วินิจฉัยว่า คำร้องของนายโทฟังขึ้นหรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งตามคำร้องและคำฟ้องของโจทก์ที่
เกี่ยวกับนายตรีอย่างไร
ธงคำตอบ
นาย
เอกทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับนายโทและนายตรีที่ภูมิลำเนาของนาย
เอกซึ่งอยู่ที่
กรุงเทพมหานคร โดยมีข้อตกลงให้นำไปส่งมอบและติดตั้ง ณ
สำนักงานของนายเอกที่จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามคุณสมบัติ
ที่ตกลงกัน นายเอกจึงจะชำระราคาส่วนที่เหลือให้
เมื่อนายเอกอ้างว่านายโทและนายตรีนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรง
ตาม
ข้อกำหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญาก็เท่ากับมีข้อโต้แย้ง
เกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
เงื่อนไขการส่งมอบและติดตั้ง
จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกำเนิด
ไฟฟ้าจึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย
นายเอกย่อมมีอำนาจฟ้องคดี
ต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (1)
คำร้องของนายโทฟังไม่ขึ้น
(คำพิพากษาฎีกาที่ 2916/2548)
กรณีนายตรีได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกนายเอกฟ้องคดี นายตรีไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะที่นายเอก
ยื่นฟ้องไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ฟ้องของนายเอกเฉพาะ
ที่เกี่ยวกับนายตรีจึงมิชอบมาแต่ต้น นายเอกไม่อาจยื่นฟ้องนายตรีต่อศาลได้ จึงต้องเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง
เป็นไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเฉพาะที่เกี่ยวกับนายตรี (คำพิพากษาฎีกาที่ 120/2536,
3153/2545) นายเอกจะขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกทายาทของนายตรีเข้ามาเป็นคู่ความแทนหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่
กรณีคู่ความมรณะในระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลตามมาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2548
โจทก์
ทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์กับจำเลยที่บริษัทจำเลยซึ่ง
ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครโดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปส่งมอบ
และติดตั้งให้แก่โจทก์ ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อ
เนื่องตามคุณสมบัติที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลย
เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อ
กำหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญา
ก็เท่ากับมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายดัง
กล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการส่งมอบและติดตั้ง
จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกำเนิด
ไฟฟ้า จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย
โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2536
จำเลย
ถึงแก่ความตายก่อนโจทก์ฟ้องคดี แสดงว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้
จำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้
โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลได้
แต่เมื่อศาลรับฟ้องไว้แล้วจึงต้องจำหน่ายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545
การ
ขอให้พิจารณาใหม่หากได้ความตามคำร้องก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูก
เพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่
ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำ
พิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำ
พิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา
229 ด้วย
แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์
อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย
ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบ
ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควร
หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบใน
ศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีฝ่ายเดียวและมีคำพิพากษา จำเลยที่ 2
ในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นรับคำร้อง
ผู้ร้องได้อ้างส่งสำเนาคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย
ที่ 1
เข้ามาในสำนวนด้วยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติ
ว่าจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกโจทก์ฟ้องคดี ฉะนั้น
ฟ้องของโจทก์และกระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
จึงมิชอบมาแต่ต้น เพราะจำเลยที่ 1
ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความ
สงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อสำนวนขึ้นสู่ศาลฎีกา
ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลย
ที่ 1 นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้องตลอดมา
ข้อ 2.
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่โจทก์ กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่า
จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้วางเงิน
ค่าขึ้นศาลภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำสั่ง กรณีดังกล่าวหากจำเลยใช้สิทธิดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(ก) จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำ
พยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจน
(ข) หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว 15 วัน จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้
อุทธรณ์อย่างคนอนาถา
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะสั่งคำร้องของจำเลยใน (ก) และคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นใน (ข)
อย่างไร
ธงคำตอบ
(ก)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155
ให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขออุทธรณ์
อย่างคนอนาถาได้
หากคดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และตนเองเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะ
เสียค่าธรรมเนียมศาล จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย
โดยวินิจฉัยว่า จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น
ให้พิจารณาคำขอใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่
เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตน
เป็นคนยากจน แม้หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน
ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของ
จำเลยเพราะปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ได้
ยุติไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณา
คำขอของจำเลยใหม่ ดังนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย
(คำพิพากษาฎีกาที่ 1379/2549)
(ข)
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอ
ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายใน
กำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้น
อุทธรณ์มาวางศาล
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเกินกำหนดเวลา 7 วัน
นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น
ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
(คำพิพากษาฎีกาที่ 1541/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2549
ป.วิ.พ.
มาตรา 155 ให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้
หากคดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และตนเองเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะ
เสียค่าธรรมเนียม จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยวินิจฉัยว่า
จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่
เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน
แม้หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน
ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลยเพราะปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลอัน
สมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ได้ยุติไปแล้ว
จึงไม่มีเหตุผลที่จะพิจารณาคำขอของจำเลยใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยมิใช่คนยากจน
และคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
ถือได้ว่ามีการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4)
ประกอบมาตรา 155 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549
ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์
ของจำเลย
จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของ
จำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน
นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้น
อุทธรณ์มาวางศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12
กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่
19กรกฎาคม 2547
แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม
2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ 3.
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าทรัพย์จำนวน 10,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า และฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้น
สืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น ระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนี้ที่ศาลในประเทศญี่ปุ่น และศาลแห่งประเทศ
ญี่ปุ่นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษา
ศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา ก่อนศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบหรือไม่
ธงคำตอบ
คดี
นี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวน
พิจารณาสืบพยาน
จำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม
แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพัน
คู่ความจนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข
กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
145 วรรคหนึ่ง
ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลย
ต่อไป โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอถอนฟ้องได้ตามมาตรา 175 วรรคสอง ดังนั้น
ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว (คำสั่งศาลฎีกาที่
5623/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548
ศาล
อุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบ
พยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม
แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะ
ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา
145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า
คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น
โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว
การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ
อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง
และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น
ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องไม่อาจที่จะนำ
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป
ข้อ 4.
โจทก์
ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
ได้ขับรถยนต์โดยประมาทชนโจทก์ทั้งสองได้รับบาดเจ็บ
อันเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้
โจทก์ทั้งสองคนละ 400,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีขอให้ศาลยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้
โจทก์ทั้งสองนำพยานเข้าสืบก่อน ถึงวันสืบพยาน จำเลยที่ 1 มาศาล
ส่วนโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ทราบนัด
โดยชอบแล้วไม่มาศาล ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
(ก)
โจทก์ทั้งสองมาศาล ยื่นคำร้องว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
แต่ในวันสืบพยานการจราจรติดขัดมาก
ทำให้เสมียนทนายโจทก์ทั้งสองนำคำร้องขอเลื่อนคดีมาถึงศาลล่าช้าหลังจากที่
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว
ขอให้ศาลไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่
(ข)
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1
ซึ่งมาศาลก่อนที่จะมีคำสั่งคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีจากสารบบความไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ทั้งสองใน (ก) อย่างไร และอุทธรณ์ของจำเลย
ที่ 1 ใน (ข) ฟังขึ้นหรือไม่
ธงคำตอบ
(ก)
เมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2
ไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี
จึงเป็นกรณีที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา
ซึ่งศาลจะต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201
ส่วนโจทก์ทั้งสองที่ไม่มาศาลกับจำเลยที่ 1 ที่มาศาลเป็นกรณีที่โจทก์
ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 202 เมื่อจำเลยที่ 1
ไม่ได้แจ้งต่อศาลในวันสืบพยานขอให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป
ศาลย่อมจะต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเช่นเดียวกัน
(คำพิพากษาฎีกาที่ 6674/2541) ผลของคำสั่ง
จำหน่ายคดีตามมาตรา 201 และมาตรา 202 ต้องพิจารณาตามมาตรา 203 แม้มาตรา 203
มิได้บัญญัติห้ามมิให้
โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่
แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็น
สำคัญ การที่ศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว
จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดี
ใหม่ได้ สิทธิของโจทก์ทั้งสองมีอยู่ทางเดียวคือ
ต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามมาตรา 203
เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 1645/2549)
ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของโจทก์ทั้งสอง
(ข)
กรณีที่โจทก์ทั้งสองขาดนัดพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
202
มิได้บัญญัติให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน
แต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่มาศาลจะต้องแจ้งต่อศาลเพื่อขอให้
ศาลดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป การที่จำเลยที่ 1
มิได้แจ้งต่อศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะมีคำสั่ง
จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ (คำพิพากษาฎีกาที่ 757/2543)
คำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความชอบด้วยกฎหมายแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1
จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541
คดี
แพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์
จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด
ต้องถือว่าคู่ความ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่
4แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป
จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่ง
จำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา
200 วรรคแรก โดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5ที่ 6 และที่ 7 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2549
โจทก์
ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี
ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป
ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 202
กรณีเช่นนี้แม้มาตรา 203
มิได้บัญญัติห้ามมิให้โจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่
แต่การที่โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็น
สำคัญ เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสร็จสิ้นไปแล้ว
จึงไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้พิจารณาคดี
ใหม่ได้
สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวคือต้องฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความตามาตรา 203
เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543
ใน
วันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทนายโจทก์
จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล
และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง
ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน
แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตน
ตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปเมื่อจำเลยที่ 1
มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนิน
การพิจารณาคดีต่อไป
จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่
ข้อ 5.
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกตามโฉนด
ที่ดินเลขที่ 1234 จำนวนเนื้อที่ 300 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทคนละ 100 ตารางวา โดยตีราคาที่ดิน
ทั้งแปลงคิดเป็นเงินรวม 90,000 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะเจ้ามรดกยกให้แก่จำเลย
ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยแบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 แก่โจทก์
ทั้งสองคนละ 100 ตารางวา ก่อนครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่น
อุทธรณ์อ้างว่ายังติดต่อกับตัวจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
ให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ว่าทนายจำเลยจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากติดต่อกับตัวจำเลย
ไม่ได้
ให้วินิจฉัยว่า ศาลจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยได้หรือไม่
ธงคำตอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1234 จำนวนเนื้อที่
300 ตารางวา ให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 100 ตารางวา โดยตีราคาที่ดินดังกล่าวทั้งแปลงคิดเป็นเงินรวม
90,000 บาท แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
เพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน ดังนั้น ที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่ง
จึงมีราคา 30,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์แต่ละคน
จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 224 วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 5971/2544 ประชุมใหญ่)
อุทธรณ์
ของจำเลยที่ว่า ทนายจำเลย
จำเป็นต้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เนื่องจากติดต่อกับจำเลยไม่ได้เป็น
อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
แม้จะเป็นอุทธรณ์คัดค้านในเรื่องของการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ซึ่งไม่
เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกันก็ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
(คำพิพากษาฎีกาที่ 5185/2548) ดังนั้น
ศาลจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5971/2544
โจทก์
ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่
โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทคนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วน ใน 9 ส่วนคิดเป็นเงินรวม
279,632 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก
แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา
การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่อง
โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน
เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท
จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า
พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกเป็นฎีกาโต้
เถียงข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2548
ฎีกา
ของจำเลยแม้เป็นฎีกาคัดค้านในเรื่องของการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
มิใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี
ก็ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า
คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียม
ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการ
ประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ
เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่
จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์
อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า
กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่
ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ
จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน
และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี
เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์
จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ข้อ 6.
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 1,000,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การต่อสู้คดี
ระหว่างพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 100 ของจำเลยไว้ชั่วคราวตามคำร้องของโจทก์ ต่อมา
นายสินเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งซึ่งศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 100 แก่นายสิน
โดยให้นายสินใช้ราคา 500,000 บาท แก่จำเลย นายสินได้นำเงินตามจำนวนดังกล่าวไปวางต่อศาลแพ่งและศาล
แพ่งได้มีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 100 ให้แก่นายสินแล้ว เมื่อโจทก์ทราบ
เรื่องจึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้อายัดเงินที่นายสินนำไปวางดังกล่าวนั้นไปยังศาลแพ่งไว้ชั่วคราวอีก ศาลชั้นต้น
ไต่สวนแล้วเห็นว่าโจทก์เคยยื่นคำขอชั่วคราวก่อนพิพากษามาครั้งหนึ่งแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรให้อายัดเงินตาม
คำร้องของโจทก์ไว้ชั่วคราวซ้ำซ้อนอีก ให้ยกคำร้อง
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวชอบหรือไม่
ธงคำตอบ
เมื่อนายสินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่งขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา
ของศาลแพ่งที่ให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวแก่นายสินแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อายัดที่ดินโฉนดเลขที่ 100
ของจำเลยไว้ชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 (2) ย่อมเป็นอันสิ้นผลไป
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดชั่วคราวเงิน 500,000 บาท ที่นายสินนำไปวางต่อศาลแพ่ง
เพื่อชำระให้แก่จำเลยตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลังและเป็นทรัพย์คนละรายคนละ
ประเด็นกัน ทั้งคำสั่งอายัดที่ดินของจำเลยไว้ชั่วคราวได้สิ้นผลไปแล้ว จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ร้องขอให้กำหนดวิธีการ
ชั่วคราวก่อนพิพากษาซ้ำซ้อนอีกแต่อย่างใด เมื่อเงินเป็นทรัพย์สินที่ยักย้ายถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นได้โดยง่าย
คดีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินที่นายสินนำไปวางต่อศาลแพ่งไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
ตามคำร้องของโจทก์ ตามมาตรา 254 (1) ประกอบมาตรา 255 (1) (ข) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของโจทก์
ดังกล่าวจึงไม่ชอบ (คำพิพากษาฎีกาที่ 692/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544
คำ
สั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้น ครั้งแรก
ที่ให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 กับคำสั่งครั้งที่สองที่ให้อายัดเงินที่
จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอบังคับให้ จำเลยที่
1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งศาลมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว
และคำสั่งให้อายัดเงินสุทธิที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิ
จะได้รับจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
คงมีผลบังคับเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้มีผลบังคับถึง จำเลยที่ 4
ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิที่จะ
อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าว
เมื่อ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าว
แล้ว จำเลยที่ 1
มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267
วรรคสอง หรือ
ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228
วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น
มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์
จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์
ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1
ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้
ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้
จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1
ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย
กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี
คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การ
ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกโจทก์ขอให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1
ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง
โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1
มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1
บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภาย
หลังเป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ข้อ 7.
นายเงาะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของนายกล้วยจำนวน 3,000,000 บาท นายเงาะนำเจ้าพนักงาน
บังคับคดียึดทรัพย์สินโดยอ้างว่าเป็นของนายกล้วยดังต่อไปนี้
(ก) แหวนเพชร 1 วง ราคา 1,000,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดครั้งแรก
มีผู้เสนอราคาสูงสุด 500,000 บาท นายกล้วยคัดค้านว่าราคาต่ำเกินสมควร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงเลื่อนการขาย
ทอดตลาดไปอีก 30 วัน ปรากฏว่า ก่อนถึงกำหนดการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 หนึ่งสัปดาห์ นายส้มยื่นคำร้องขอให้
ปล่อยการยึดโดยอ้างว่านายส้มเป็นเจ้าของแหวนเพชรและให้นายกล้วยยืมไปใช้ นายเงาะคัดค้านว่านายส้มมิได้ยื่น
คำร้องขัดทรัพย์ก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีนำแหวนเพชรออกขายทอดตลาดครั้งแรก นายส้มจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
ขัดทรัพย์ ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขัดทรัพย์ของนายส้มและนัดไต่สวน
(ข) รถยนต์ 1 คัน ของนายกล้วย ราคา 2,000,000 บาท ซึ่งนายกล้วยนำไปจำนำไว้แก่นายตาลเป็น
เงิน 1,000,000 บาท และครบกำหนดไถ่แล้วแต่นายกล้วยยังมิได้ไถ่ เจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาด
ได้เงิน 2,000,000 บาท นายตาลยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนำก่อนนายเงาะ นายเงาะคัดค้านว่านายตาลเป็นเพียง
ผู้รับจำนำ จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของนายตาล
ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของศาลทั้งสองกรณีชอบหรือไม่
ธงคำตอบ
(ก)
การร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ซึ่งต้องกระทำก่อน
ที่ได้เอาทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่ง มาตรา 288 วรรคหนึ่ง หมายความถึง
การขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
การขายทอดตลาดครั้งแรกที่เลื่อนไปจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาด
นายส้มมีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ได้
คำสั่งศาลชอบแล้ว
(คำพิพากษาฎีกาที่ 3030/2528)
(ข)
เมื่อรถยนต์ที่นายกล้วยจำนำไว้ต่อนายตาลครบกำหนดไถ่แล้ว
นายตาลย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289
ในการที่จะได้รับชำระหนี้จำนำก่อนนายเงาะซึ่งเป็นเจ้าหนี้
ตามคำพิพากษาของนายกล้วย คำสั่งศาลชอบแล้วเช่นกัน (คำพิพากษาฎีกาที่
1914/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2528
คำ
ว่า "ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด"
ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288
หมายความถึงการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีการตกลงด้วยการ
เคาะไม้หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด
หรือศาลมีคำสั่งให้ขายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่นำเรือนพิพาทออกดำเนินการขายทอดตลาด 2
ครั้งแล้วเลื่อนไปประกาศขายทอดตลาดอีกเป็นครั้งที่สาม
การดำเนินการขายทอดตลาดทั้งสองครั้งยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาด
ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดในครั้งที่สาม
ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2526
จำเลย
มอบรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้
ถือได้ว่าเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 747 ผู้ร้อง
จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ไดจากการขายทอดตลาดรถยนต์คันนั้นก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้นำยึดรถยนต์คันนั้นมาขายทอดตลาด